วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2562

เณรน้อย วัดชัยมงคลโป่งจ้อง---2

ชัยมงคง โป่งจ๊าง มาเล่าหาเณรว่า...เป็นสมิง


      มีเรื่องเล่าที่ผู้เฒ่าแถวบ้านอยู่แถววัดชัยมงคล เล่าให้อีกว่า่ ที่วัดเคยมีเณรที่เรียนวิชาอาคมจนมีความแกร่งกล้าี ได้ลองวิชาอาคมแรงกล้าลองวิชาด้วยการแปลงร่างเป็นเสือในตอนกลางคืนและกลับคืนร่างไม่ได้จึงแก้อาถรรพ์ด้วยการกินคนรุ่งเช้าจึงสามารถกลายร่างกลับมาเป็นคนได้ แต่ทุกคืนเดือนมืดก็จะต้องแปลงเป็นเสือ แล้วออกมากินชาวบ้านแถววัดเป็นประจำทุกคืน ทำให้ชาวบ้านหวาดกลัวไม่กล้าออกบ้านในตอนกลางคืน ร้อนจนต้องหานายพรานมาจับเสือให้ได้ โดยนายพรานให้ชาวบ้่านขุดหลุมเพื่อนดักเสือ โดยเอาลูกวัวเข้าไว้ในหลุมและให้คนซุ้มดูไว้ เวลาผ่านไปแล้วคืนแล้วคืนเล่าเสือก็ไม่มาติดกลับก็ยิ่งทำให้ชาวบ้านวัดชัยมงคลร้อนใจมากยิ่งขึ้นเพราะคืนเเดือนมืดใกล้วนมาอีกรอบแล้ว. จึงประชุมและตกลงกันนำเอาแพะซึ่งเป็นสัตว์ที่มีเสียงคล้ายเด็กทารกมาไว้ในหลุม..................   

       ต่อๆๆๆๆ คืนเดือนมืดได้หวนมาอีกหน ชาวบ้านแถวละแวกวัดพากันเมื่อพบค่ำก็รีบพากันขึ้นบ้านทุกหลัง โดยชักบันไดขึ้นบนบ้านทุกหลังและเเข้านอนอย่างเร็ว ยามดึกเสียงสัตว์นานาชนิดที่ลงมากินดินโป่งดังทั่วบริเวณสักพักเสียงสัตว์เล็กสัตว์น้อยเงียบหาไป มีเพียงเสียงคำรามของเสือเท่านั้นที่ดังเท่าบริเวณ ผู้คนต่างนอนสั่นตัวความกลัว ชั่วพริบตาเดียวเสียงแพะในหลุมร้องระงมปนเสียงขยัมเหยื่อ สร้างมโนภาพแก่ผู้ที่ได้ยินเสียงต่างๆนาน ชายชะกันทั้งหลายผู้มีหน้าที่ซุ้มดักเสือพากันเห่โรไปที่หลุมดักที่ขุดไว้เพราะกลัวเสือที่ดักได้จะโดนหนีจากหลุมได้ เมื่อไปถึงหลุมก็พากันโห่ร้องเมื่อเห็นเสือโคร่งลายพาดตัวเขื่องพยายามตะกุดขึ้นจากหลุม จึงช่วยกันนำท่อนซุงมาปิดปากหลุมไว้ เพื่อไม่ให้เสือหลุดแล้ว รุ่งเช้าค่อยมาตกลงว่าจะทำอย่างไรกับเสือกินคนตัวนี้ดี.... รุ่งเช้าชาวบ้านพากันมาที่ปากหลุมที่ดักเสือได้ ต่างคนต่างพูดกันไปต่างๆนานาว่าจะทำอย่างไรกับเสือกินคนตัวนี้ดี บ้างก็ว่าให้ฆ่าทิ้งด้วยควงามโกธรแค้นด้วยจากที่ญาติพี่น้องของตน บ้างก็ว่าให้ทางการมาจัดการ บ้างก็ว่าให้ขายเสือตัวนี้เพื่อนำเงินมาสร้างวัดหรือแบ่งกัน พ่อหลวงจึงตัดปัญหาว่าให้เปิดดูเสือก่อนแล้วค่อยตกลงกัน แต่ต้องตกใจเมื่อภายในหลุมพบเพียงเณรน้อยองค์หนึ่งเท่านั้น จีวรเปื้อนไปด้วยรอยเลือดนอนขอดอยู่ก้นหลุม จึงรีบช่วยกันมาจากก้นหลุมและสอบถามว่าทำไมจึงมานอนอยู่ในหลุมได้ เณรน้อยจึงเล่าให้ชาวบ้านฝังว่า

            "เมื่อวานฉันท์ไปเยอะตกดึกจึงมีอาการปวดท้อง อยากเข้าห้องน้ำเลยเดินมาตามทางได้ยินเสียงเสือ จึงวิ่งหนีสุดชีวิตสุดท้ายนึกได้ว่าชาวบ้านได้ขุดหลุมไว้ดักเสือ และเสือตัวนี้ฉลาดไม่เข้ามาที่หลุมแน่นอนจึงตัดสินใจมาหลบอยู่ในหลุม ชาวบ้านจึงพากันปลอบเณรรู้ปนั้น แต่มีผู้ตาเฒ่าผู้คนหนึ่งได้กล่าวหาว่าเณรเป็นเสือสมิงแน่นอน จึงถามว่า้แพะที่อยู่ในหลุมหายไปไหน เณรจึงบอกว่ามันโดดหนีไปแล้ว ผู้เฒ่าจึงถามต่อว่าแล้วรอยเลือดที่ติดบนจีวรคืออะไร เณรจึงตอบว่า ได้หกล้มหลายครั้งตอนวิ่งหนี ทำให้มีบาดแผลจึงเช็ดกับจีวร เมื่อได้คำตอบเช่นนั้นก็ไม่มีข้อก้าง และกำลังจะให้เณรไปอาบน้ำ ก็มีได้มีพระรูปหนึ่งของวัดเรียกให้เณรกลั
















วัดชัยมงคลโป่งจ๊าง
ตั้งอยุ่ที่ ต. ในเวียง อ. เมือง จ. แพร่ ห่างจากสี่แยกบ้านทุ่ง อยู่ระหว่าง ถนนช่อแฮ และถนนเหมืองแดง ที่เชื่อมต่อกัน มีพื้นที่ประมาณ ๔ ไร่ ๑ งาน ๖๒ ตารางวา สำมโนครัว บ้านเลขที่ ๗๑ ถนนช่อแฮ ต. ในเวียง อ. เมือง จ. แพร่
แต่เดิม พื้นที่บริเวณที่ตั้งของวัด เป็นที่รกร้าง เป็นที่เลี้ยงโค กระบือ และช้างของชาวบ้าน เมื่อสร้างวัดขึ้นครั้งแรก ได้เรียกชื่อวัดว่า " วัดชัยมงคลโป่งจ๊าง. " ...เพราะ เป็นแหล่งที่มีดินโป่ง ซึ่งสัตว์ต่างๆชื่นชอบ รวมทั้งพวกช้างมากินดินโป่ง
ท่านพระครูพุทธวงค์ศาจารย์ ( ทองคำ พุทธวังโส ) เป็นผุ้นำในการจับจองพื้นที่และบุกเบิกแผ้วถาง บริเวณวัด ( ท่านพระครูพุทธวงค์ศาจารย์ เป็นคนชาวบ้าน สีลอ บุตรของ พญาแขก เจ้าแม่แว่นแก้ว ) ขณะที่ท่านดำรงค์ตำแหน่ง เจ้าอาวาส วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร รูปแรก ท่านได้ชักชวน พระธรรมธรการินต๋า วัดน้ำคือ ( วัดเมธังฯ) และ เหล่า ศิษญานุศิษย์ ทั้งฝ่ายบรรชิต และคฤหัสถ์มาทำการแผ้วถาง ปรับบริเวณ ในปี พ.ศ. ๒๔๓๔
แรกการก่อสร้าง วัดชัยมงคล คงสร้างวิหารแบบง่ายๆ ประหยัด ด้วยเครื่องไม้ บนส่วนฐานวิหารวัด คือ บริเวณที่เป็น หอไตร ในปัจจุบัน ( ต่อมาได้สร้างวิหารหลังใหม่ ในปี พ.ศ. ๒๔๕๑ หลังที่สอง ในบริเวณที่เป็นวิหารหลวงปัจจุบัน ซึ่งเป็นหลังที่สาม ) กำแพงล้อมรอบวัด สร้างโดยไม้ล้อมรั้ว อย่างพื้นเมือง เรียกกันว่า " ฮั้วต่างบ่อง " กุฎิ สร้างด้วยไม้ หลังคามุงแฝก ฝาไม้ขัดแตะ ส่วนตัววิหาร สร้างแบบสถาปัตยกรรมที่เรียบง่าย นับว่าเป็นวัดที่สร้างในชั้นหลังของบรรดาวัดในเวียง
เมื่อก่อสร้างสิ่งต่างๆในวัดเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง มีพระภิกษุสามเณรมาจำพรรษา เป็นที่มั่นคง จนสามารถประกอบศาสนกิจได้แล้ว ในปีพ.ศ. ๒๔๔๒ ท่านพระครู พุทธวงค์ศาจารย์ ได้แต่งตั้ง พระธรรมธรรินต๋า นั่นเอง เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ชาวบ้านเรียกท่านว่า " ตุ๊ลุงหลวง " ในช่วงเวลานั้นยังไม่มีชาวบ้านมาอยุ่อาศัยมากนัก ยังคงอาศัย เหล่ามูลศรัทธา มาจาก วัดน้ำคือ จากบ้านทุ่งต้อม บ้านหัวข่วง มาทำบุญที่วัด ชัยมงคลโป่งจ๊าง แห่งนี้ ต่อมามีประชนชาชน ทยอยมาจับจองที่ดินอาศัยเพิ่มมากขึ้น จนกระทั่งมีถึง ๔๐๐ กว่าครัวเรือน ที่เป็นศรัทธาวัด เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๑ ศาสนสถาน ภายในวัดเริ่มชำรุด ทรุดโทรม ประกอบกับ มีชาวบ้านมูลศรัทธา ที่มีกำลังทรัพย์มาเป็นโยมอุปถัมภ์มากขึ้น จึงได้ชักชวนให้ทำการก่อสร้างถาวรวัตถุให้มีสภาพที่มั่นคงแข็งแรงกว่าแต่ ก่อน เพราะ ของเดิมเป็นเครื่องไม้ที่ชำรุดลง ประกอบกับ ท่านพระธรรมธรรินต๋า มีสายเลือดช่างในตัว จึงทำการควบคุมการก่อสร้างเองทั้งหมด รวมถึงการออกแบบพระวิหารหลวง และเคลื่อนย้ายวิหารหลังใหม่ มาสร้าง ณ.จุดที่ตั้งวิหารปัจจุบัน โดยเริ่มก่อสร้าง พระวิหารหลวงก่อน ในปี พ.ศ. ๒๔๕๑ เป็นวิหารก่ออิฐ ถือปูน เสาและเครื่องบนเป็นไม้ หลังคาแป้นเกล็ด ( ไม้สัก ) ส่วนอิฐที่ใช้ทำฐาน และ ก่อผนัง อีกทั้งกำแพงแก้ว ทั้งปวง ก้ใช้แรงงานชาวบ้าน ที่เข้ามาช่วยก่อสร้าง อิฐนี้เผาเอง ปั้นเอง ทั้งสิ้น โดยไม่มีค่าจ้างค่าอัฐใดๆ มาช่วยทำงานด้วยแรงศรัทธาอย่างแท้จริง
ระหว่างที่ดำเนินการก่อสร้างพระวิหารนั้น ท่านพระครู พระพุทธวงค์ศาจารย์ และ พระธรรมธรการินต๋า เจ้าอาวาส ได้ดำเนินการสร้างพระประธานขนาดใหญ่ ในการครั้งนั้นด้วย ๑ องค์( องค์ที่ประดิษฐานในพระวิหาร มาจนถึงทุกวันนี้ ) องค์พระประธานเป็น พระพุทธรูปศิลปแบบช่างพื้นเมืองแพร่ การก่อสร้างของวัดชัยมงคล ยังคงดำเนินก่อสร้างสิ่งต่างๆอย่างต่อเนื่อง เนื่องด้วย เจ้าอาวาสท่านเป็นช่างนักออกแบบและ ช่างก่อสร้างที่มีฝีมือเป็นเอก งานก่อสร้างในวัด ล้วนเกิดจากสติปัญญาที่ท่านได้ออกแบบ และลงแรงสร้างมาด้วยมือท่านเอง
ในปี พ.ศ. ๒๔๑๗ คณะกรรมการวัด ได้มีความเห็นว่า วิหารเดิม นี้ ทรุดโทรมมาก ไม่เป็นการปลอดภัยในการประกอบศาสนกิจ จึงขออนุมัติรื้ออาคาร สร้างใหม่ โดยให้ ครูโหล แบ่งทิศ เป็นผู้แสดง ฉันทานุมัติ ด้วยเห็นว่า ครู โหล แบ่งทิส เป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง กับวัด ชัยมงคล มากที่สุด นับตั้งแต่เคยบวชเรียน และ เป้นครูใหญ่ ที่โรงเรียน เทศบาล วัดชัยมงคล มาก่อน ครูโหล แบ่งทิศ ถูกขยั้นขยอ ขอให้เป็น แม่งานใหญ่ จึงออกปากรับช่วย แต่ต้องอาศัยแรงศรัทธาจาก ทุกคนมาช่วยกัน การดำเนินการจึงเกิดขึ้น โดยรื้อถอน วิหารหลังที่สอง ในวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๑๗ มี นาย ตั๋น คนศิลป์ ชาวบ้าน เชตวัน เป็นผู้ออกแบบสร้างวิหารหลังใหม่ ขนาดวิหาร กว้าง ๘ วา สูง ๑๐ วา ยาว ๑๖ วา ทำการวางศิลาฤกษ์ วันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๘ ดำเนินการก่อสร้าง ๗ ปี จึงแล้วเสร็จ และทำการฉลองวิหารหลังที่สาม นี้ ในวันที่ ๘ - ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๖...และดำรงเป็นวัดที่สวยงาม ท่ามกลางศาสนิกชน เข้ามาประกอบศาสนกิจ อย่างสม่ำเสมอจนทุกวันนี้...
หมายเหตุ ...ข้าพเจ้า ใช้คำว่า พระวิหาร ตามคำล้านนาที่เรียกอาคารขนาดใหญ่อันเป็นศูนย์กลางของวัด แต่เป็นที่เข้าใจว่า ในที่นี้ ก็คือ พระอุโบสถ แบบอย่างทางภาคกลาง.
โดย นาย นภสินธุ์ ภูติเศรณี
ที่มา:ประวัติ วัดชัยมงคล ตำบล ในเวียง อำเภอเมือง จังหวัด แพร่....
จาก หนังสือ อนุสรณ์ งานฉลองอุโบสถ วัดชัยมงคล ในวันที่ ๘ - ๑๑ เมษายน ๒๕๒๖
เรียบเรียง ค้นคว้าโดย...พระครูศรีมงคลชยภรณ์ เจ้าอาวาส ปัจจุบัน
ผู้อุปถัมภ์ จัดพิมพ์แจก คือ พ่อเลี้ยง พัฒน์ แม่เลี้ยง ฟองนวล ผาทอง และ คณะกรรมการ พร้อมด้วยเหล่ามูลศรัทธา วัดชัยมงคล.....

วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2562

“ผีป้กกะโหล้ง” ผีผู้ปกปักรักษาขุนเขาป่าดอย




     ชาวเหนือหรือชาวล้านนาส่วนใหญ่ใช้ชีวิตอาศัยอยู่ท่ามกลางป่าเขาดงดอย ทำมาหากินอยู่กับธรรมชาติ เครื่องมือเครื่องใช้ก็เป็นสิ่งที่อยู่ในธรรมชาติ เช่น กะโหล้ง(กะลา)นำมาเป็นภาชนะใส่อาหาร


     การกินไปตามเรื่องตามราว แม้สิ้นชีวิตไปแล้วอารมณ์ที่แฝงด้วยความรักในธรรมชาติ หวงแหนผืนป่า

ด้วยจิตวิญญาณที่ผูกพันระหว่างป่ากับมนุษย์ ที่ตั้งแต่กำเนิดขึ้นมาจวบจนร่างกายสิ้นลมหายใจซากศพก็ถูกฝังในผืนแผ่นดินแห่งป่า ทำให้จิตวิญญาณยังว่ายเวียนเป็นผีเฝ้ารักษาป่าตามกรรมเวรที่กระทำไว้ในยามมีชีวิตอยู่เป็นคน

      เมื่อมีใครเข้ามาในป่า ได้ทำร้ายสัตว์ป่า ไล่ล่าเอาชีวิตในป่าหรือกระทำอันเป็นลุกล้ำทำลายต้นไม้ ทำลายของมีค่าในป่า ผีตัวนี้จะใช้กะโหล้งเป็นอาวุธไล่ล่าเอาชีวิตผู้คนที่ทำลายป่าเพื่อเป็นการลงโทษ ดังนั้นผู้คนสมัยก่อนจะเข้าป่าต้องระวังอย่างมาก โดยเฉพาะหากได้ยินเสียงร้องดังแว่วไกลๆว่า........."ป้ก..กะโหล้ง......ป้กกะโหล้ง.......ผู้ที่ได้ยินต้องรีบเอาดุ้นหลัวสุด(ฟืนซากไฟ)มาเสกด้วยพระคาถาปู่เส็ดค่ำลัวะแล้วเตรียมตัวขว้างดุ้นหลัวสุดเข้าใส่ไล่มัน โดยรูปร่างของผีป้กกะโหล้งจะเหมือนคน มรุงรังเข้ามาหานั่นแหละให้รีบขว้างใส่ทันที ผีโป๊กกะโหล้งเป็นผีล้านนาโบราณ เป็นผีป่ามีหน้าตาประหลาดมาก บางตัวมีตาเดียว ขาเดียว สอง แขน วิ่งได้ไวมาก อาศัยในป่าเขาหรือทุ่งนา ส่งเสียงร้อง โป๊กกะโหล้งๆๆ เคยมีคนเห็นผีโป๊กกะโหล้ง ในขณะที่นอนเฝ้าห้างโต้ง(กระต๊อบกลางทุ่งนา) ผีโป๊กกะโหล้งสามารถแปลงกายได้และบางตัวจะมีพิณเปี๊ยะ(เครื่องดนตรีทางภาคเหนือ)

     ผีป้กกะโหล้งเกิดจากชาวเขาชาวดอยที่รักและห่วงธรรมชาติมาก เมื่อตายไปจะเกิดเป็นผีป๊กกระโหล่ง คอยดูแลผืนป่าหากมนุษย์ไปทำลายป่า ตัดไม้ทำลายป่า ฆ่าสัตว์ป่า ผีตนนี้จะปรากฏตัวขึ้นมาและทำร้ายคนทันที เหมือนเป็นการสร้างจิตสำนึกให้กับผู้คนให้รักป่ารักษาและดูแลทรัพยากรณ์ธรรมชาติให้มากขึ้น

ที่มา https://sites.google.com/site/tumnanpeethai

ผีกะ ล้านนา



     ผีกะเป็นผีพื้นบ้านทางภาคเหนือ ชื่อผีตัวนี้มาจากมารยาทบนโต๊ะอาหาร เพราะผีกะใช้ช้อนส้อมไม่เป็น แต่จะใช้มือขย้ำอาหารยัดใส่ปากอย่างตะกละตะกราม เลยเรียกสั้นๆว่า "ผีกะ" มีลักษณะคล้ายผีปอบคือชอบเข้าสิงคนและชอบกินของสดของคาว ชาวล้านนาเชื่อกันว่าผีกะไม่จำเป็นต้องเป็นวิญญาณเสมอไป บางทีคนเป็นๆ ก็เป็นผีกะได้ ถ้าเผลอไปหลับนอนกับผู้หญิงที่เป็นผีกะ หรือกินข้าวร่วมกับคนที่เป็นผีกะครบเจ็ดไห คนที่เลี้ยงผีจะต้องเซ่นสังเวยด้วยเนื้อสัตว์ดิบๆ ทุกวันที่กำหนดถึงจะสามารถใช้ประโยชน์จากผีกะได้ แต่ถ้าเลี้ยงไม่ดีปล่อยให้ผีกะอดๆ อยากๆ มันจะเข้าสิงคนเลี้ยงทำให้กลายเป็นครึ่งคนครึ่งผี ต้องออกไปจับคนมาแหวะท้องกินตับไตไส้พุงในตอนกลางคืน


     ผีกะมีหลายชนิด ชนิดที่เรียกว่าผีกะพระ-นาง เป็นผีที่นักแสดงทางเหนือนิยมเลี้ยงกันมากที่สุด เพราะเชื่อกันว่าต่อให้เจ้าของหน้าตาดี แต่ถ้าเลี้ยงผีกะไว้ในตอนกลางคืนมันจะออกมาเลียหน้าทำให้คนเลี้ยงสวยหล่อ และยิ่งดึกเท่าไรก็ยิ่งสวยมากขึ้นเท่านั้น แต่ความสวยหล่อจะมาเฉพาะตอนกลางคืน จากคำบอกเล่า เรื่องผีกะ เป็นคนประเภทหนึ่ง ที่เป็นโรคจิตระดับต่ำถึงปานกลาง ถ้ารุนแรงจะเรียกว่า ปอบ

ผีกะเป็นผีล้านนาแท้ๆ ผีกะจะสิงอยู่ในคน คนที่ถูกผีกะสิงจะทำตัวไม่เหมือนคนอื่นทั่วไป ผีกะมีหลายประเภท และระดับความแข็งแกร่งของผีกะถ้ามากๆ ก็จะมีการเรียกชื่อเฉพาะ สำหรับผู้ที่ถูกผีกะสิงนั้น จะเต็มใจให้สิง หรือไม่เต็มใจให้สิง ก็ตามแต่ผู้ที่ถูกผีกะสิงจะมีนิสัยผีกะเหมือนกัน สันนิษฐานว่าผีกะ มาจากคำสองคำคือ ผี + ตะกะ ตะกะที่หมายความว่ากินมากอย่างไม่รู้จักพอ กินทุกอย่างที่ขวางหน้า ยิ่งของที่ชอบจะกินเยอะเป็นพิเศษและทำทุกวิถีทางให้ได้กิน ดังนั้นผีกะจึงเป็นผีที่สิงอยู่ในคนที่กินเยอะมาก เยอะกว่าที่คนธรรมดาเขากิน สำหรับผีกะที่ชั่วร้ายหรือผีกะที่ค่อนข้างไม่ดีมักจะชอบกินอาหารที่พิสดารยิ่งกว่าอาหารพิสดารทั่วไป เช่นของดิบ ของคาวสดๆ ยิ่งเป็นๆยังไม่ตายได้ยิ่งดี ส่วนผีกะอีกพวกเป็นการยินย่อมของคนที่ให้ผีกะสิงเป็นที่อยู่อาศัย
     แต่สำหรับคนที่เลี้ยงผีกะ จะมีสองแบบคือ ยินยอมให้ผีกะสิง กับไม่ยินย่อมให้ผีกะสิง สำหรับคนที่เลี้ยงผีกะทั้งสองแบบนี้จะต้องมีคาถาอาคมกำกับ ผีกะจะกูกนำไปใส่ไว้ในหม้อดิน มีผ้าขาวปิดเป็นฝา เก็บไว้บนเสาบ้าน บนเพดานบ้าน บนคานบ้าน และจะต้องเลี้ยงเซ่นด้วยไข่ดิบ(นิยมไข่ไก่)วันละหนึ่งฟองโดยจะใส่ไว้ในหม้อดินเป็นประจำ และเปลี่ยนเอาไข่กลวง ซึ่งถูกผีกะเจาะกินไปทิ้ง ผีกะที่อยู่ในหม้อดินจะสิงอยู่ในสิ่งมีชีวิตที่ยังโตไม่เต็มที่เช่น หนอน ลูกนกน้อยที่ขนไม่ขึ้น ลูกหนูที่ตายังไม่ปลิเปิด ถ้าวันใดลืมเลี้ยง หรือมีใครเอาลงมาฆ่า นั่นหมายถึงชีวิตของคนในบ้าน และผู้เลี้ยงผีกะ สำหรับผีกะที่มีคุณก็มี ที่เรียกกันว่า ผีกะพระ-นาง เป็นการนำมาใช้ในการแสดง ไม่ว่าจะเป็นลิเก นักร้องนักดนตรี ผีกะชนิดนี้จะมีลักษณะเหมือนลิง คล้ายวอกคล้ายค่างตัวเล็กๆสองตัวนั่งบนบ่าของคนเลี้ยง คุณประโยชน์ของผีกะชนิดนี้คือ ไม่ว่าคนเลี้ยงจะหน้าตาขี้เหร่ อัปลักษณ์ขนาดไหน ถ้าตกกลางคืนผีกะจะเลียหน้าคนเลี้ยง ทำให้หน้าตาสวยขึ้น หล่อขึ้น ยิ่งดึกมากก็ยิ่งหน้าตาดีมาก การเลี้ยงผีกะจึงถือได้ว่าเป็นแฟชั่นของนักแสดงภาคเหนือ ผีกะมีคุณอนันต์แต่ก็มีโทษมหันต์ หากใครเลี้ยงไม่ดี ปล่อยให้ผีกะอดๆอยากๆ มันก็จะทำให้เจ้าของกลายสภาพเป็นกึ่งคนกึ่งภูติ ชอบสิงสู่ชาวบ้านกินตับไตไส้พุง จนกลายเป็นเรื่องเดือนร้อนของชาวบ้านที่ต้องหาหมอผีหรือพระมาปราบผีกะ

ที่มา วิกีพีเดีย, http://www.openbase.in.th, lanna blog

กบกินเดือน



      เมื่อเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาหรือ “กบกินเดือน” ชาวล้านนาก็จะนำไม้มาเคาะกับกะลา สังกะสี กระป๋องต่างๆหรือปี๊ป ให้เกิดเสียงดังรัวๆๆๆ เพื่อจะให้กบที่กำลังกินเดือนอยู่นั้นตกใจและปล่อยเดือนให้ส่องแสงนวลตามเดิม คนเฒ่าคนแก่ก็จะคดข้าวเหนียวมาปั้นแล้วคลุกกับเขม่าไฟให้ดำ มีกล้วยสุกและอ้อย นั่งอธิษฐานแล้วเอาวางไว้ข้างๆก้อนเส้าในครัว เพื่อบูชาปู่ดำ ย่าดำ ให้ทุกคนในบ้านอยู่เย็นเป็นสุข ขณะที่ลูกเด็กเล็กแดงก็จะสนุกไปกับการตีเกราะและบีบตุ๊กตายางให้มีเสียงดังแป๊บๆๆๆๆๆๆ และบ้านไหนที่มีต้นขนุนก็จะเอามีดมาสับต้นขนุนดังสวบสาบ และพูดว่าออกหน่วยเยอะๆ ตามความเชื่อหรือนิทานที่ชาวล้านนาเล่าขานสืบต่อกันมาว่า


        สมัยอดีตกาลอันไกลโพ้น มีครอบครัวหนึ่ง ตั้งบ้านเรือนอยู่นอกเมือง ครอบครัวนี้มีอยู่ด้วยกัน 4 คน คือ พ่อ แม่ ลูกสาวสองคน ในสมัยนั้นถ้าครอบครัวไหนมีลูกสาวก็จะได้รับการอบรมเรื่อง ภายในบ้านเกี่ยวกับการเป็นแม่บ้านที่ดี เช่น การจัดการบ้านการเรือน ความประพฤติ กิริยามารยาท ตลอดจนการทำอาหาร จนที่สุดทั้งสองคนก็สามารถที่จะทำเรื่องต่างๆเหล่านั้นได้อย่างชำนาญ

        วันหนึ่ง พ่อแม่บอกให้ลูกสาวทั้งสองคนไปทำอาหารเพื่อจะได้ทดสอบดูฝีมือ ทั้งสองคนก็เข้าไปในครัวแล้วช่วยกันทำอาหารจนเสร็จ แล้วทดลองชิมดูรสอาหารของกันและกัน แต่ว่ารสอาหารที่ทำนั้นไม่ถูกปากซึ่งกันและกัน ทั้งสองจึงโต้เถียงกันจนอดกลั้นไม่ไหว พี่สาวจึงเอาป้าก (ทัพพี) ฟาดหน้าน้องสาว ส่วนน้องสาวก็เอาสาก (ไม้ตีพริก) ฟาดหน้าพี่สาวของตัวเอง ต่อสู้กันจนตายคาที่

     เมื่อทั้งสองตายไป ยมบาลได้นำเอาวิญญาณไปพิพากษาและตัดสินว่า “ทั้งสองนี้ได้ทำการอันน่าบัดสีมาก สมควรจะได้ตกนรกทั้ง 7 ชั้น” เมื่อตกนรกไปแล้วก็ให้คนพี่ไปเกิดเป็นเดือน/ตะวัน ส่วนคนน้องไปเกิดเป็นกบ เมื่อทั้งสองไปเกิดแล้ว ก็ยังอาฆาตกันอยู่อีก เมื่อใดที่ได้มีโอกาสพบกันเข้าอีก ความอาฆาตแค้นก็เกิดขึ้น คนน้องจึงได้อ้าปากคาบเดือน/ตะวัน คนพี่ไว้ในปาก ฝ่ายชาวบ้านชาวเมืองเมื่อเห็นเหตุการณ์นี้เมื่อใดก็เกิดความสงสารเดือน/ตะวัน ก็จะช่วยกัน ตีเกราะ เคาะไม้ ไล่ให้กบตกใจจะได้ปล่อยเดือน/ตะวัน ออกมา

ที่มาข้อมูลจาก www.astroeducation.com, www.openbase.in.th


ท้าวทั้งสี่


     การทำพิธีขึ้นท้าวทั้งสี่ หรือ ท้าวมหาราชทั้งสี่ หรือ ท้าวจตุโลกบาล ของชาวล้านนา คือ การเซ่นไหว้ด้วยเครื่องพลีกรรม จะกระทำเมื่อมีงานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานมงคลต่าง ๆ งานทำบุญปอยหลวง และโดยเฉพาะวันปากปี๋ ช่วงประเพณีปี๋ใหม่เมืองเป็นการไหว้วอนขอให้ท้าวทั้งสี่ รวมทั้ง พญาอินตา และพระแม่ธรณี ช่วยมารักษาสถานที่แห่งนั้น ให้ผู้อยู่อาศัย สัตว์เลี้ยง และพืชผลทางการเกษตร ตลอดจนข้าวของเงินทองได้อยู่เย็นเป็นสุข และมีความเจริญรุ่งเรือง แต่ยังเป็นห่วงว่านับวันจะหายากขึ้นทุกที และเริ่มเลือนหายไป.
     ท้าวจตุโลกบาล เป็นผู้รักษาทิศทั้งสี่ ตามตำนาน ท้าวจตุโลกบาล เป็นเทพในกามาวจรภูมิ เป็นสวรรค์ชั้นแรก เรียกว่าชั้น จตุมหาราชิกา ตั้งอยู่บนเขายุคนธร สูงจากพื้นผิวโลก 46,000 โยชน์ ในสวรรค์ชั้นนี้แบ่งออกเป็น 4 ส่วน มีมหาราชทั้ง 4 องค์ ปกครองอยู่แบ่งกันเป็นส่วน ๆ ไป
-ท้าวจตุมหาราชิกา หรือ องค์อมรินทราธิราช หรือ พญาอินตา เป็นองค์ประธาน
-ท้าวธตรฐ เป็นราชาแห่งคนธรรพ์ รักษาทิศตะวันออก…
-ท้าววิรุฬหก เป็นมหาราชที่ยิ่งใหญ่ในหมู่กุมภัณฑ์ รักษาในทิศ ใต้...
-ท้าววิรูปักข์ เป็นเทวราช มีพญานาค และอสรพิษทั้งหลาย เป็นบริวาร รักษาทิศตะวันตก...
-.ท้าวเวสสุวัณ หรือ ท้าวกุเวร เป็นพระราชาธิบดี ของพญายักษ์ และภูตผีปีศาจทั้งหลาย รักษาทิศเหนือ...
      ท้าวจตุโลกบาล หรือท้าวมหาราชทั้งสี่ เกี่ยวข้องกับโลกมนุษย์ และโลกทิพย์ไปพร้อมกัน จะสำรวจผู้ดำเนินในศีลจารวัตร เช่น คนเคารพบิดามารดา สมณพราหมณ์ ผู้รักษาศีลจารวัตร หรือ ลงไปปกปักรักษา คุ้มครองดูแล บุคคลทั้งหลายที่กระทำพิธีบูชาเซ่นสรวง บุคคลผู้อัญเชิญเมื่อมีเคหสถานบ้านใหม่ หรือ บุคคลทั้งหลายที่บูชาเซ่นสรวง โดยเฉพาะในวันปากปี๋ (16 เม.ย. ) ของทุกปี เชื่อกันว่าท้าวมหาราชทั้งสี่ จะเสด็จลงมาตรวจตราดูแลรักษาในสี่ทิศของโลกนี้ ...
     สรุปได้ว่า วันสำคัญหรือวันปากปี จะขาดไม่ได้เลย จะต้องทำพิธีบูชาเซ่นสรวง พิธีที่เรียกว่า “ขึ้นท้าวตังสี่” เชื่อกันว่าเป็นวันที่ท้าวมหาราชทั้งสี่ จะเสด็จลงมาตรวจตราดูแลรักษาในสี่ทิศของโลกนี้ และอำนวยอวยพรให้มนุษย์ทั้งหลายได้อยู่เย็นเป็นสุข...ส่วนวันต่าง ๆ ที่เป็นมงคลทั้งหลาย ก่อนจะทำพิธีอะไรก็ตาม จะต้องขึ้นท้าวตังสี่ก่อน เช่น งานปอยน้อย งานปอยหลวง งานขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น เชื่อกันว่าเมื่อท้าวมหาราชตังสี่เสด็จมาแล้ว บรรดาบริวารทั้งหลายที่ไม่ดี ที่ประพฤติตนออกนอกลู่นอกทาง คิดจะกระทำอันสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าจะเป็นคนธรรพ์ นาคา กุมภัณฑ์ ยักษา ผีสางนางไม้ทั้งหลาย จะหลีกลี้หนีหายหมด ดังนั้นก่อนทำพิธีกรรมอะไรก็ตามที่สำคัญ จะต้อง “ขึ้นท้าวตังสี่” ก่อน

น้ำปู เครื่องปรุงคนเมือง



           ย่างเข้าหน้าฝน ฝนตกโปรยปรายชาวนาลงแรงปลูกดำข้าวแข่งกับเม็ดฝนที่ตกลงมาทำให้ท้องนาเขียวขจีด้วยต้นข้าวที่ชูช่อรับน้ำฝน เมื่อข้าวอายุได้ประมาณ1-2 เดือน ปูนาตัวเล็กตัวใหญ่ก็จะออกมากัดกินต้นข้าวของชาวนา จึงต้องมีการออกล่าหาปูนา วิธีการเลือกปูนา ก็พยายามจับปูขนาดตัวพอเหมาะพอดี ไม่ใหญ่เกินไป ยิ่งถ้าปูตัวใหญ่มากจะมีกากมาก และความมันของปูจะลดลง แต่ถ้าเลือกขนาดปูตัวเล็กเกิน ปูก็จะไม่มีความมัน นั่นเอง การจับปูนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ต้องออกไปทุ่งนาตอนแดดจัด แดดร้อนเท่าไหร่ ปูก็จะพากันออกมาเดินเล่นกันเยอะ ต้องใช้ความอดทนกับแดด อีกทั้งต้องใช้ความระมัดระวังเวลาเดินในนาข้าวเพื่อไม่ให้เหยียบต้นข้าวต้นน้อยๆ ที่พร้อมจะเติมโตมาเป็นต้นข้าว และออกรวงข้าวให้เราได้กินกัน              เมื่อจับปูมาแล้ว ยิ่งจับได้มากเท่าไหร่ก็หมายถึงปริมาณน้ำปูก็จะได้มากเท่านั้น เมื่อจับปูแล้วก็จะนำปูมาล้างทำความสะอาด การล้างต้องล้างเอาโคลนออกให้หมด ใช้มือลูบๆ กระดองและตัวปู ต้องใช้ความสามารถพิเศษในการล้างปูเพื่อไม่ให้โดนปูหนีบมือ เพราะแต่ละตัวเตรียมพร้อมที่จะหนีบ เมื่อล้างเสร็จต้องเตรียมใบตะไคร้  ข่า ใบฝรั่ง หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ในปริมาณที่เหมาะสมกับปู นำมาตำๆ  หรือปั่นให้เข้ากัน และให้ปูละเอียด จนเป็นน้ำ แล้วนำผ้าขาวบางมากรองเอาน้ำที่ได้จากการปั่นละเอียดของปู  กรองเอาน้ำหลายๆ รอบ จนแน่ใจว่ามันปูที่ได้จากการกรองหมดแล้ว ก็จะได้น้ำมันปู พร้อมสำหรับการนำไปต้ม
             การต้มน้ำปู ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก น้ำปูจะอร่อย หรือไม่อร่อย ก็อยู่ที่การปรุงรสชาติ และการดูแลไฟขณะเคี่ยวน้ำปู นำน้ำที่ได้จากการกรองมันปูนำมาเคี่ยวไฟ  ด้วยไฟปานกลาง ปกติก็จะใช้ฟืนในการเคี่ยว เพราะจะใช้เวลานานประมาณ 1 วันในการเคี่ยวให้แห้ง  การใช้ไฟ ก็จะไม่เร่งไฟให้แรงเกินไปเพราะจะทำให้น้ำปูไหม้และมีกลิ่นเหม็น จะใช้ไฟอ่อนๆ ค่อยๆ เคี่ยวไปเรื่อยๆ เติมไฟไปเรื่อยๆ แล้วก็เติมเครื่องปรุงรส เพื่อให้น้ำปูมีรสชาดที่อร่อย เครื่องปรุงก็จะมี พริก กระเทียม ใส่มากหรือน้อยก็ขึ้นอยุ่กับความชอบของผู้กิน เคี่ยวไปเรื่อยๆ จนน้ำมันปูกลายเป็นสีดำ เหนียวๆ  พอเริ่มเหนียวได้ที่แล้ว มีกลิ่นหอมหวนชวนรับประทาน ก็แสดงว่าการเคี่ยวน้ำปูเป็นอันสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี  ในการเคี่ยวน้ำปูนั้นต้องหาสถานที่เคี่ยวตามทุ่งนาห่างไกลจากบ้านคน ไม่ได้เป็นเคล็ดลับของความอร่อย แต่เป็นมารยาทในการเคี่ยวน้ำปู เพราะก่อนจะมีกลิ่นหอมของน้ำปู กลิ่นตอนเคี่ยวครั้งแรกจะเหม็น บางคนได้กลิ่นไม่ได้ อาจมีอาการเวียนหัว หรือ เจ็บหน้าอก ดังนั้นต้องไปหาสถานที่ในการเคี่ยวไกลจากผู้คน              เมื่อได้น้ำปูมาแล้วก็ใช้เป็นเครื่องปรุงอาหาร เช่น ยำหน่อไม้ แกงหน่อไม้ ตำส้มโอ ตำกระท้อน จะนำมะขามน้อยมาจิ้มก็แซ่บหลาย หรือจะไปหักหน่อไม้ที่แทงหน่อออกใหม่ๆรับหน้าฝนแล้วน้ำมาต้มจิ้มกับน้ำพริกน้ำปู....อร่อยอย่าบอกใคร.......น้ำปูเครื่องปรุงคนเหนือที่มาข้อมูล www.museumthailand.com, ศูนย์สนเทศภาคเหนือ สำนักห้องสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


วันพุธที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ผีตากผ้าอ้อม





     ย่างเข้าฤดูฝน เม็ดฝนโปรยปรายสายน้ำทั้งหลายต่างพากันไหลหลากเข้าท่วมฝืนนา กระแสน้ำไหลหลากพัดพาเอาดินโคลนปะปนมาด้วย เมื่อน้ำแห้งลงทำให้มีดินโคลนพอกสิ่งที่มันท่วมจนหนาเตอะมีผลดีต่อชาวไร่นาเพราะดินพวกนี้มีคุณค่าอุดมด้วยอาหารของพืช ปลูกพืชผลจะดกดีงาม

     เมื่อกาลเวลาผันผ่าน กระแสน้ำลดระดับ กระแสน้ำและสายมลมหนาว เริ่มพัดกิ่งไม้ใบหญ้าให้สั่นไหว บรรดาแมลงจี้กุ่ง จิ้งโกร่ง จิ้งหรีดต่างพากันร้องเซ้งแซ่ ระงมไพรยามค่ำคืน เป็นการบ่งบอกว่าหน้าน้ำนองจะลาจากไปแล้ว แม้เสียงจิ้งหรีดกรีดร้องส่งสัญญาณบอกว่าน้ำจะลดแล้วแต่บรรดาผู้คนยังไม่ไว้วางใจว่าน้ำจะลดลาไปจริง เพราะมีบางปีน้ำลดกระแสไปแล้วแต่จู่ๆเมื่อฝนตกหนักน้ำกลับมาไหลนองท่วมไร่นา บ้านเรือนกันอีกเป็นครั้งที่สองที่สามก็มี ต้องรอให้บรรดาผีทั้งหลายพากันมาตากผ้าอ้อมนั่นแหละจะไว้วางใจแน่นอนว่าน้ำจะลดจริงแน่นอนในปีนั้น

    หมอกเหมยลอยละอองเย็นชุ่มใบหญ้าและผิวท้องน้ำในยามเช้า หากเราเดินไปตามไร่นาเรือกสวนตามฝั่งน้ำ หรือเกาะกลางแม่น้ำจะเห็นละอองน้ำสีขาวเกาะผืนใยเล็กๆปิดปากรูของแมลงตามพื้นดินบ้าง บางผืนกางอยู่บนยอดหญ้าบ้าง บางผืนใหญ่ราวคืบกว่าๆ บางผืนเล็กเพียงนิ้วเดียว ผืนใยที่มีละอองน้ำเกาะเป็นแผ่นสีขาวนี้เองชาวล้านนาเรียกกันว่า "ผีตากผ้าอ้อม" ต่อมาเมื่อถึงยามสาย ไออุ่นจากแสงอาทิตย์สาดส่องให้ละอองน้ำแห้งเหือดหายไปเหลือเพียงใยแมงมุมที่ทำรังอยู่ตามพื้นดิน รอให้มีละอองหมอกเหมยยามกลางคืนกลับมาเกาะตามเส้นใยอีกครั้งก็จะมีผืนผ้าอ้อมของบรรดาผีเอามาออกตากให้เห็นอีกครั้ง

     กาลเวลาล่วงผ่านเข้าหน้าร้อนบรรดาผีก็จะเก็บผ้าอ้อมไว้ไม่ยอมนำผ้าอ้อมออกมาตากจนกว่าจะถึงยามหนาวปีหน้า เมื่อกระแสน้ำลดระดับอย่างแท้จริงผีทั้งหลายก็จะพากันนำผ้าอ้อมกลับมาตากอีกครั้ง

     ผู้คนล้านนาจะใช้ปรากฏการณ์ผีตากผ้าอ้อมเป็นสัญญาณบอกว่า หากมีผีเอาผ้าอ้อมมาตากเมื่อใด เมื่อนั้นแหละกระแสน้ำละระดับอย่างแท้จริง พวกเขาจึงพากันเริ่มลงมือทำสวนปลูกพืชตามริมฝั่งน้ำ ตามเกาะกลางน้ำโดยไม่มีสายน้ำกลับหลากล้นมาท่วมทำให้ทรัพย์สิน พืชผลของพวกเขาเสียหาย…….

ที่มาข้อมูล ศูนย์สารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่




วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2562

“กาแลและหัมยนต์” เครื่องประดับแผงความเชื่อพม่า



“กาแลและหัมยนต์” เครื่องประดับแผงความเชื่อพม่า เรียบเรียงโดย นายคมสัน  หน่อคำ            กาแล หลายคนคงรู้จักและเคยเห็นมาแล้ว ว่ากาแลคือส่วนประดับบนหลังคาเรือนล้านนา มีลักษณะเป็นไม้แบบเหลี่ยมแกะสลักให้มีลวดลายเป็นส่วนที่ต่อจากปลายบนของ ปั้นลมเหนือจั่วและอกไก่โดยติดในลักษณะไขว้กัน เนื่องจากที่กาแลมีการแกะสลักลวดลายอย่างสวยงาม เป็นการตกแต่งให้เรือนกาแลงดงามยิ่งขี้น ดังนั้นจึ่งมีการยึดเอากาแลเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ และเป็นสัญลักษณ์ประจำถิ่นล้านนา             กาแล แผลงมาจากคำว่า "กะแหล้ง" ซึ่งแปลว่าไขว้กัน เหตุที่มีการนำไม้มาไขว้กันที่หน้าจั่วหลังคาก็เพราะเป็นความเชื่อสมัยก่อนเมื่อคราวที่พม่าเข้าปกครองล้านนา แต่เกรงว่าจะมีผู้ที่มีบุญญาธิการมาเกิดในแผ่นดินที่ตนปกครองและอาจกลับมาโค่นล้มอำนาจและชิงเมืองคืนได้  จึงให้คนเมือง (ชาวล้านนา) ติดกาแลนี้ไว้ เพื่อทำลายบุญบารมีของเด็กที่เกิดใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งอัปมงคล เนื่องจากกาแลนี้ประยุกต์มาจาก "ไม้กะแแหล้ง" หรือไม้กากบาท ที่ปักเอาไว้เหนือหลุมศพของเด็กเพื่อสะกดวิญญาณไม่ให้ออกมา อีกทั้งการติดกาแลบนหลังคาบ้าน เพื่อบอกว่าบ้านหลังนี้เป็นคนล้านนา สามารถเก็บส่วยหรือภาษีได้ เพราะคนสมัยก่อนยึดถือเรื่องศักดิ์ศรีของชาติพันธุ์ตนเองมาก แต่ถ้าบ้านไหนไม่มีกาแลติด ก็ถือเป็นคนพม่าหรือมีสามีเป็นทหารพม่า จึงจะได้รับยกเว้นการเก็บภาษี คนล้านาบางคนยอมเสียศักดิ์ศรีไม่ติดกาแล เพื่อหวังว่าเมื่อตนเองมีสามีเป็นคนพม่าก็จะได้ร่ำรวยเงินทองและมีอำนาจวาสนา            นอกจากกาแลแล้วในเรือนล้านนายังมี “หัมยนต์”  ซึ่งเป็นแผ่นไม้แกะสลักที่อยู่ในกรอบเหนือประตูห้องนอนในเรือนกาแลของชาวล้านนา มีรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าและมีลวดลายที่สวยงาม เช่น ลายดอกไม้ ลายเครือเถา ก้านขด ลายเมฆ ลายน้ำ ลายประแจจีน หรือลายเรขาคณิตอย่างง่าย ชาวล้านนาเชื่อว่ายนต์มีพลังลึกลับที่สามารถดลบันดาลความเป็นไปแก่เจ้าของบ้าน มีการทำยนต์ขึ้นในเวลาสร้างเรือนใหม่ โดยนำแผ่นไม้มาผูกไว้กับเสามงคล (เสาเอก) เพื่อทำพิธีสูตรถอน และอัญเชิญอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาสถิตที่ยนต์ จากนั้นแกะสลักแล้วทำการติดตั้งโดยมีพิธียกขันตั้งหลวง เพื่ออัญเชิญเทวดา อารักษ์ ผีบ้านผีเรือนมาปกป้องรักษาบ้านหลังนั้นให้อยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขอุดมสมบูรณ์            หัมยนต์เป็นสิ่งที่สามารถคุ้มครองป้องกันสิ่งไม่ดีที่จะเข้ามากล้ำกลายเจ้าของเรือนและครอบครัวได้ ในด้านการใช้งาน หัมยนต์อยู่เหนือข่มประตูห้องนอน แบ่งพื้นที่ห้องนอนกับพื้นที่เติ๋น (ชานร่มรับแขกบนเรือน) เป็นการแบ่งพื้นที่ที่เป็นส่วนตัวของครอบครัว ซึ่งนับถือผีตระกูลเดียวกันออกจากผู้มาเยือน และเป็นสัญลักษณ์แสดงความเป็นตัวตนของเจ้าของเรือนที่ผู้อื่นไม่ควรกล้ำกลายเข้าไปโดยพละการ การถลำก้าวล้ำเข้าไปถือเป็นการผิดผี จะต้องทำพิธีขอสูมา (ขอขมา)      
            ในอดีตเมื่อครั้งที่สมัยพม่าเข้าปกครองล้านนา ได้บังคับให้คนเมืองอยู่อาศัยในบ้านที่มีรูปร่างคล้ายโลงศพของพม่า และติด“หัมยนต์” เป็นการข่มผู้ที่จะเดินลอดผ่านข้างใต้  โดยคำว่า "หัม" ภาษาล้านนาหมายถึง "อัณฑะ" อันเป็นสิ่งที่รวมพลังของเพศชาย ส่วนคำว่า "ยนตร์" มาจากคำว่า "ยันต์"  ดังนั้นหัมยนต์เปรียบเสมือนเป็นยันต์อัณฑะของพม่า เมื่อเจ้าของบ้านชาวล้านนาและคนในครอบครัวเดินเข้าออกห้องและลอดใต้อัณฑะนั้นก็จะถูกข่มและทำลายจิตใจไม่ให้คิดกระด้างกระเดื่อง......







ที่มาข้อมูลหัมยนต์: http://lannaarch.blogspot.com/2010/07/blog-post_15.html ข้อมูลกาแล: https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=noonrinz&date=04-06-2010&group=2&gblog=27


วันจันทร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2562

แพร่ 365: อาหารมงคล ของลำล้านนา

แพร่ 365: อาหารมงคล ของลำล้านนา:       ในช่วงเทศกาลสงกรานต์หรือปี๋ใหม่เมืองที่ผ่านมา หลายคนคงได้สนุกและคลายร้อนด้วยการเล่นสาดน้ำกันจนหิว แล้วคงได้ทานอาหารพื้นเมืองห...

อาหารมงคล ของลำล้านนา




      ในช่วงเทศกาลสงกรานต์หรือปี๋ใหม่เมืองที่ผ่านมา หลายคนคงได้สนุกและคลายร้อนด้วยการเล่นสาดน้ำกันจนหิว แล้วคงได้ทานอาหารพื้นเมืองหลายๆอย่าง ที่ชาวล้านนาทุกบ้านนิยมทำไว้รับประทานกันในช่วงเทศกาลปี๋ใหม่เมือง โดยเฉพาะใน “วันปากปี๋”  ซึ่งก็คือวันที่สี่ของประเพณีปีใหม่ จัดว่าเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งในเทศกาลปีใหม่ ถือเป็นวันแรกของปี วันนี้คนล้านนาจะกินแกงขนุนกันทุกครอบครัว เพราะเชื่อว่าจะหนุนชีวิตให้เจริญก้าวหน้า ช่วงสายๆชาวบ้านจะมารวมตัวกันที่ใจบ้าน เพื่อทำบุญเสาใจบ้าน หรือส่งเคราะห์บ้าน บางแห่งอาจจะต่อด้วยพิธีสืบชะตาหมู่บ้าน และพากันไปขอขมาคารวะ ดำหัว พระเถระผู้ใหญ่ตามวัดต่างๆ ในตอนค่ำของวันนี้จะมีการบูชาเทียน สืบชะตา ลดเคราะห์ รับโชค เพื่อให้เกิดความเป็นมงคลแก่ครอบครัว

            สำหรับอาหารมงคลของชาวล้านนานั้นจะซุกซ่อนอยู่ในทุกขั้นตอนของการเฉลิมฉลอง ‘ปี๋ใหม่เมือง เช่น ขนมจ๊อก แปลว่าขนมที่มีลักษณะเป็นจุก ภาคกลางเรียกขนมเทียน ดั้งเดิมชาวล้านนานิยมทำแต่ไส้หวาน โดยนำแป้งข้าวเหนียวไปผสมกับน้ำปั้นเป็นก้อน ส่วนตัวไส้ทำด้วยมะพร้าวอ่อนขูดเส้น ผัดกับน้ำตาลมะพร้าว สอดไส้ขนมเสร็จก็ปั้นขนมเป็นชิ้นกลมๆ แล้วจึงเตรียมใบตอง โดยตัดเป็นวงรีทาด้วยน้ำมันหมู พับให้เป็นกรวย จากนั้นใส่ชิ้นขนมลงไป พับปิดให้เป็นทรงสามเหลี่ยมแล้วจึงนึ่งให้สุก ใช้ทำบุญถวายพระได้ทุกโอกาส,แกงฮังเล เป็นแกงที่ทำด้วยเนื้อหมูล้วนๆ ใช้เวลาเคี่ยวนานจนหมูนุ่ม เป็นแกงที่มักปรุงไว้หม้อใหญ่ๆ เก็บไว้ได้นาน ทุกบ้านนิยมปรุงเพื่อนำไปทำบุญและแจกจ่าย เช่น ทำบุญตานขันข้าว ใช้เป็นอาหารไปกราบไหว้ รดน้ำดำหัวญาติผู้ใหญ่และส่วนหนึ่งเก็บไว้กินในครอบครัว ,ขนมจีนน้ำเงี้ยวหรือขนมจีนน้ำหมู เป็นเมนูอาหารจานเดียวที่เป็นที่นิยม กินได้ทุกเพศทุกวัย เด็กๆ เล่นน้ำมาเหนื่อยๆ ก็จะชอบกินเพราะอิ่มอร่อยและสะดวก ถือเป็นอาหารมงคล เชื่อกันว่ากินแล้วจะมีอายุยืนยาว ทำอะไรลื่นไหลประสบความสำเร็จ,ลาบ แค่ชื่อก็เป็นมงคลเหมือนได้โชคลาภ โดยลาบเหนือนั้นมีความโดดเด่นที่น้ำพริกลาบและมะแขว่นที่มีรสชาติเป็นเอกลักษณ์ที่ใครได้ลิ่มลองแล้วจะต้องกลับมากินอีกให้ได้,ข้าวแต๋น ข้าวควบ ข้าวแคบ เป็นขนมจำพวกแป้งข้าวที่มีความกรอบ ข้าวแต๋นทำจากข้าวเหนียวนึ่งสุกไปกวนกับน้ำแตงโม ก่อนจะตากให้แห้งและนำไปทอดให้พอง ส่วนข้าวควบข้าวแคบ มีลักษณะเป็นข้าวเกรียบแห้งๆ นำไปย่างจนขยายเป็นข้าวเกรียบว่าว จะต่างกันตรงที่ข้าวควบมีรสหวาน ส่วนข้าวแคบมีรสเค็มและโรยงา
            อาหารมงคลเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมของชาวล้านนาที่มีความหมายแผงมาในรสชาติที่อร่อยและประเพณีความเชื่อ ปัจจุบันมีการทำอาหารพื้นเมืองออกมาจำหน่ายกันทั่วไป แม้จะรสอร่อยแต่ก็คงสู้กับข้าวพื้นเมืองจากฝีมือแม่ที่บ้านไปได้.......อาหารมงคล ของลำล้านนา

ที่มา http://library.cmu.ac.th/ntic/lannatradition/index.php











สะโป้ก เสียงเปรี้ยงแห่งความเชื่อล้านนา



     เสียงเปรี้ยงดังกระหื่มไปทั่วในเช้าวันแรกของเทศกาลสงกรานต์ หรือ วันสังขานต์ล่อง เป็นเสียงจาก “สะโปก” เป็นการละเล่นของชาวล้านนาที่ทำให้เกิดเสียงดัง จากกระบอกไม้ไผ่ แล้วใช้ก้อนแก็สให้เปลี่ยนสถานะเป็นก๊าซหรือไอเป็นตัวนำปะทุ ทำให้เกิดเสียงดัง วิธีทำสะโป้กนั้นให้หาไม้ไผ่ขนาดยาวประมาณ 5- 6 ปล้อง เส้นผ่าศูนย์กลางกว้างประมาณ 5-6 นิ้ว หนามากกว่า 1 เซนติมตรขึ้นไป(ไม้ไผ่บางจะทำให้สะโป้กแตกได้ง่าย) ตัดแต่งให้ปล้องสุดท้ายตัดห่างจากข้อประมาณ 6 นิ้ว หรือมากกว่า เพื่อเป็นฐานสะโป้ก ใช้เหล็กทะลุปล้องไม้ไผ่ให้เหลือปล้องสุดท้ายไว้ แล้วเจาะรูที่ปล้องสุดท้ายเหนือข้อขึ้นไปประมาณ 2 นิ้ว รูกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร


     สำหรับวิธีการเล่นนั้นวางสะโป้กตั้งเอียง นำเชื้อเพลิงใส่ในรูที่เจาะไว้พอประมาณ แล้วเอาไฟจุดที่รู เชื้อเพลิงจะติดไฟอย่างรวดเร็วในพื้นที่จำกัด ทำให้เกิดแรงอัดระเบิดเสียงดังขึ้น สามารถจุดได้หลายครั้งจนไอเชื้อเพลิงมีน้อยไม่เพียงพอให้เกิดเสียงดังได้ ให้เติมเชื้อเพลิงอีก กรณีใช้แก๊สก้อน นำแก๊สก้อนประมาณหัวแม่มือใส่ในสะโป้ก เทน้ำใส่ในรูเล็กน้อย แก๊สก้อนทำปฏิกิริยากับน้ำทำให้เกิดไอ จุดไฟที่รูเช่นเดียวกับวิธีใช้เชื้อเพลิง (ไฟที่ใช้จุดต้องมีเปลว เช่น เทียนควรต่อก้านไฟชนวนให้ยาว และนำลวดพันรอบไม้ไผ่ให้แน่นหนา เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดจากสะโป้กแตกได้)
    

     สะโป้กชาวล้านนาจะเล่นในวันแรกของเทศกาลสงกรานต์(วันสังขานต์ล่อง) เพื่อเป็นการเพื่อขับไล่เสนียด จัญไร ไหลล่องไปกับปู่สังขานต์ ย่าสังขานต์ ซึ่งจะแบบรับเอาสิ่งที่ไม่ดีไม่งามในชีวิตไปเททิ้งที่มหาสมุทร การไล่สังขานต์ด้วยเสียงประทัดหรือสะโปกที่ดังแต่เช้าตรู่ จึงทำให้ทุกคนตื่นขึ้นมาเพื่อทำความสะอาดบ้านเรือน ซักที่นอน หมอนมุ้ง แล้วอาบน้ำชำระล้างร่างกายให้สะอาดผ่องใส โดยคนโบราณได้สมมุติตัวสังขานต์เป็นคนแก่สองคน คือปู่สังขานต์และย่าสังขานต์ถ่อแพที่ไหลมาตามแม่น้ำ และนำพาสิ่งไม่ดีเป็นอัปมงคลมาด้วย จึงต้องขับไล่ด้วยเสียงดังของประทัดเร่งเร้า ให้ผ่านไปโดยเร็ว วันนี้ชาวล้านนาจึงจะเก็บกวาด ทำความสะอาดบ้านเรือน ซักผ้า เผาเศษขยะใบไม้ให้สิ่งหมักหมมทั้งหลายหมดสิ้น ไปพร้อมๆกับสังขานต์ที่ล่องไป

    สิ่งสมมุติของปู่สังขานต์ ย่าสังขานต์นั้น แท้จริงคือ ตัวตนของเราที่กำลังไหลล่องไป ตามวัยของสังขาร มีอายุที่มากขึ้น จึงต้องการเริ่มต้นชีวิตใหม่ให้ดีนั้น จะต้องขว้างทิ้งเสียสิ่งเศร้าหมอง ทีมีอยู่ในกาย วาจา และใจนั่นเอง สิ่งสำคัญในวันนี้คือการ "ดำหัว" โดยน้ำขมิ้นส้มปล่อย เพื่อชำระล้างสิ่งอัปมงคล เสียงสะโป้ก ย้ำเตือนให้ทราบว่าปีเก่าได้ผ่านไป และปีใหม่ย่างเข้ามา เป็นการเตือนให้ชาวล้านนาเตรียมจิตใจให้ผ่องใส ตั้งมั่นในความดีงาม ทำความสะอาดบ้านเรือน เพื่อต้อนรับสิ่งที่ดีในวันปีใหม่ต่อไป







ที่มาข้อมูล ประเพณีล้านนา,ประเพณีไทยดอทคอม

วันเสาร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2562

เลี้ยงผี ความเชื่อล้านนา ตอนที่ 2





    คนล้านนากับความเชื่อในการเลี้ยงผี ถือได้ว่าเป็นพิธีกรรมที่สำคัญ แม้ว่าการดำเนินชีวิตของพวกเขาจะราบรื่นไม่ประสบปัญหาใด แต่ภายใต้จิตสำนึกที่แท้จริงแล้ว คนล้านนาเหล่านี้ไม่อาจลืมเลือนวิญญาณของผีบรรพบุรุษที่เคยช่วยเหลือให้พวกเขามีชีวิตที่ปกติสุขมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่า แม้กาลเวลาจะแปรเปลี่ยนไปอย่างไร ภาพที่เรายังคงพบเห็นได้เสมอเมื่อเวลาเดินทางไปยังหมู่บ้านต่าง ๆ ในชนบทก็คือ เรือนเล็ก ๆ หลังเก่าตั้งอยู่กลางหมู่บ้านนั่นก็คือ หอเจ้าที่ประจำหมู่บ้าน ที่ยังย้ำเตือนให้พวกเขาไม่ให้หลงไหลไปกับกระแสสังคมนั่นเอง.

    ผีที่ชาวล้านนานับถือมีความแตกต่างกัน ตามความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น แต่ผีที่นับถือกันอย่างแพร่หลายคือ ผีปู่ย่า ซึ่งเป็นผีประจำตระกูล สืบทอดกันทางฝ่ายหญิง เมื่อแม่ตายลูกสาวคนโตจะเป็นผู้รับช่วงต่อ ถ้าบังเอิญว่าลูกสาวคนโตมีเหตุที่ไม่สามารถจะรับการสืบทอดได้ ลูกสาวคนถัดไปเป็นผู้รับช่วงแทน จะย้ายไปอยู่เรือนใดต้องรับผีปู่ย่าติดตามไปด้วย หิ้งที่อยู่ของผีปู่ย่า อยู่ในห้องนอนด้านตะวันออก โดยทำหิ้งขนาดเล็กติดไว้กับเสาที่มุมตะวันออกเฉียงเหนือ สูงจากพื้นประมาณ 1.8 เมตร ผีปู่ย่ามีหน้าที่ช่วยเหลือ ควบคุมดูแลสมาชิกในครอบครัวให้ประพฤติอยู่ในจารีตประเพณี ถ้าสมาชิกไม่ทำผิดจารีต ผีปู่ย่าจะช่วยให้มีความสุขความเจริญ ถ้าทำผิดจารีตท่านจะลงโทษ กำหนดการเลี้ยงผีปู่ย่าตามประเพณีงจะไม่ตรงกันทุกท้องถิ่น แต่หลายท้องถิ่นกำหนดเอาวันเดือน 9 แรม 9 ค่ำ เมื่อถึงกำหนดวันมาถึงทุกหลังคาเรือนจะต้มไก่ 2 ตัว มีข้าวสุก น้ำ สุรา และดอกไม้ธูปเทียน ลูกหลานที่มีสายของปู่ย่าของเรือนนั้น จะช่วยกันยกเครื่องไหว้เข้าไปตั้งที่มุมห้องนอนในเรือน และกล่าวคำขอให้ผีปู่ย่าช่วยคุ้มครองให้มีความสุขความเจริญ และการเลี้ยงผีปู่ย่าตามเหตุการณ์นั้น เมื่อสมาชิกในครอบครัวโดยเฉพาะฝ่ายหญิง ประพฤติผิดจารีตประเพณี ถ้าเป็นความผิดที่ไม่ร้ายแรง ให้นำดอกไม้ธูปเทียน น้ำส้มป่อยใส่พานเข้าไปขอขมา ถ้าเป็นความผิดที่ร้ายแรง เช่น มีเจตนาให้ชายถูกเนื้อต้องตัวเป็นการผิดผี ต้องมีการเลี้ยงผีปู่ย่า จะเลี้ยงด้วยหมู หรือไก่ ก็แล้วแต่ผีตระกูลนั้นๆ กินสิ่งใด และเลี้ยงในวันปีใหม่สงกรานต์ สมาชิกไม่ว่าจะอยู่ใกล้หรือไกล ถ้าไม่ลำบากจนเกินไป จะมีการนัดหมายให้มารวมกัน แล้วจัดหมู หรือไก่ ดอกไม้ธูปเทียน น้ำส้มป่อยเพื่อเลี้ยง และดำหัวผีปู่ย่า

    นอกจากผีบรรพบุรุษที่ชาวล้านนานับถือแล้วก็ยังมี ผีเจ้าที่ คือผีที่อยู่รักษาในเขตบริเวณบ้าน ดังนั้นแต่ก่อนจึงมีหอศาลตั้งอยู่ทางด้านเหนือ หรือด้านตะวันออก ของทุกบ้าน เพื่อช่วยคุ้มครองรักษาเขตบ้าน ไม่ให้สิ่งชั่วร้ายเข้ามาเบียดเบียนคนและสัตว์ในบ้านนั้น การเลี้ยงไม่มีกำหนดตายตัว แต่เป็นเดือน 9 บางท้องถิ่นจะเลี้ยงในวันเดียวกันกับผีปู่ย่า บางท้องถิ่นจะเลี้ยงผีเจ้าที่ในวันสงกรานต์ และ ผีขุนน้ำ คือผีที่รักษาต้นน้ำลำธาร น้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการทำการเกษตรเป็นอย่างมาก ถ้าปีไหนมีน้ำไหลจากขุนน้ำมากเกินไปจะเกิดน้ำท่วมไร่นา ถ้าปีไหนมีน้ำน้อยข้าวกล้าในนาตายเพราะขาดน้ำ คนล้านนาแต่ก่อนเชื่อว่าเหตุที่จะทำให้น้ำน้อยหรือน้ำมาก อยู่ที่ผีขุนน้ำ ถ้าปีไหนมีการเลี้ยงดีพลีถูก ปีนั้นจะมีน้ำพอดีในการเพาะปลูก จึงมีพิธีเลี้ยงผีขุนน้ำ

     การเลี้ยงผีนั้นเป็นวิถีทางสังคมที่ยึดถือและปฎิบัติสืบต่อกันมา ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายผี ไหว้ผี เลี้ยงผี จะทำตามความเชื่อของแต่พื้นที่ล้วนแตกต่างกันไป ตามวิถีการดำเนินชีวิตที่ฝังรากอยู่คู่กับสังคมชาวล้านนา

     
ที่มาข้อมูล ศูนย์สถาปัตย์กรรมล้านนา,ประเพณีไทยดอทคอม,ประเพณีไทยล้านนา,ห้องสมุดวัฒนะรรมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่



เลี้ยงผี ความเชื่อล้านนา ตอนที่ 1



     ในอดีตชาวล้านนามีความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งเหนือธรรมชาติอย่างเหนี่ยวแน่น โดยเฉพาะเรื่องผี สิ่งใดที่หาสาเหตุหรือสมุมติฐานไม่ได้ก็จะคิดว่าเป็นการกระทำของผี ก่อเกิดเป็นวิถีชีวิตที่คลุกคลีกับธรรมชาติ ความเกรงกลัวต่อภัยต่างๆ และเพื่อทำให้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสงบสุขหรือเป็นปกติ จึงมีการเซ่นไหว้ผี เพื่อให้ผีพอใจและดูแลปกปักรักษาตนเองและครอบครัว เป็นความเชื่อที่ผูกพันกับการดำรงชีวิตก่อเกิดเป็นวัฒนธรรมประเพณีคู่สังคม ที่แม้แต่ปัจจุบันบ้านเมืองจะเจริญแล้ว แต่ก็ไม่สามารถทำให้ความเชื่อเรื่องผีจางหายไปจากชาวล้านนาได้ ...และการไหว้ผีหรือเลี้ยงผี จึงเป็นตัวแปรสำคัญที่ก่อให้เกิดบรรทัดฐานของสังคม


     ชาวล้านนากับการเลี้ยงผีดูเหมือนจะแยกจากกันไม่ออก เพราะนับตั้งแต่เกิดมาคนล้านนาจะเกี่ยวพันกับผีมาตลอด เช่น เมื่อมีเด็กเกิดขึ้นในบ้านจะต้องทำพิธีเรียกขวัญ หรือที่คนเมืองเรียกว่า "ฮ้องขวัญ" เมื่อเวลาที่เด็กเกิดความไม่สบายร้องไห้ก็มักจะเชื่อว่า มีวิญญาณของผีตายโหงมารบกวนเด็ก คนล้านนายังเชื่อว่าขวัญของเด็กเป็นขวัญที่อ่อนภูตผีวิญญาณต่าง ๆ มักจะมารบกวนได้ง่าย ดังนั้นเมื่อเด็กไม่สบายก็จะต้องทำพิธีเลี้ยงผี หรือหาเครื่องลางมาผูกที่ข้อมือของเด็ก ปัจจุบันในแถบทางชนบทเรายังสามารถพบเห็นการกระทำแบบนี้อยู่

     การเลี้ยงผีของคนล้านนาจะอยู่ในช่วงระหว่างเดือน 4 เหนือ จนถึงเดือน 8 เหนือ ช่วงเวลานี้เราจะพบว่าตามหมู่บ้านต่าง ๆ ในภาคเหนือจะมีการเลี้ยงผีบรรพบุรุษกันอย่างมากมาย ความผูกพันเกี่ยวเนื่องอยู่กับการนับถือผีนั้น สามารถพบเห็นได้จากการดำเนินชีวิตประจำวันของคนล้านนาเอง เช่น เมื่อเวลาที่ต้องเข้าป่าไปหาอาหารหรือต้องค้างพักแรมอยู่ในป่า มักจะต้องบอกกล่าวเจ้าที่เจ้าทางเสมอ และเมื่อเวลาที่กินข้าวในป่าก็มักจะแบ่งอาหารให้เจ้าที่ด้วยเช่นกัน แต่สิ่งที่ดูเหมือนว่าอาจสำคัญประการหนึ่งก็คือเมื่อเวลาจะอยู่ที่ไหนก็ตาม ไม่ว่าจะอยู่ในเมืองหรือในป่า เมื่อต้องถ่ายปัสสวะก็มักจะต้องขออนุญาตจากเจ้าที่ก่อนอยู่เสมอ เหล่านี้แสดงให้เห็นว่าวิถีชีวิตของคนล้านนาผูกผันอยู่กับการนับถือผีอย่างแยกไม่ออก

     ทุกปีในช่วงกลางฤดูร้อนจะมีการลงเจ้าเข้าทรงตามหมู่บ้านต่าง ๆ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะความเชื่อของชาวบ้านที่ว่า การลงเจ้าเป็นการพบปะพูดคุยกับผีบรรพบุรุษ ซึ่งในปีหนึ่งจะมีการลงเจ้าหนึ่งครั้ง และในการลงเจ้าครั้งนี้จะถือโอกาสทำพิธีรดน้ำดำหัวผีบรรพบุรุษไปด้วย ยังมีพิธีเลี้ยงผีอยู่พิธีหนึ่งที่มักจะกระทำกันในช่วงเวลานี้และที่สำคัญในปีหนึ่งจะทำพิธีนี้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น นั่นก็คือ การเลี้ยงผีมดผีเม็ง ชาวบ้านที่ประกอบพิธีนี้ขึ้นบอกว่า การเลี้ยงผีมดผีเม็งจะเลี้ยงอยู่ 2 กรณี คือเมื่อเวลามีคนเจ็บป่วยไม่สบายในหมู่บ้านจะทำพิธีบนผีเม็งเพื่อขอใช้ช่วยรักษา เมื่อเวลาที่หายแล้วจะต้องทำพิธีเชิญวิญญาณผีเม็งมาลง และจัดหาดนตรีมาเล่นเพื่อเพิ่มความสนุกสนานแก่ผีมดผีเม็งด้วย อีกกรณีหนึ่งเมื่อไม่มีคนเจ็บป่วยในหมู่บ้าน จะต้องทำพิธีเลี้ยงผีมดผีเม็งทุกปี โดยจะต้องหาฤกษ์ยามที่เหมาะสมและจะต้องกระทำระหว่างช่วงเวลาเดือน 4 เหนือ ถึง เดือน 8 เหนือ ก่อนเข้าพรรษา เพราะถ้าไม่ทำพิธีผีมดผีเม็งอาจจะไม่คุ้มครอง คนในหมู่บ้านก็ได้ ดังนั้น เมื่อใกล้ถึงช่วงเวลาดังกล่าวเรามักจะพบภาพพิธีเหล่านี้ตามหมู่บ้านต่าง ๆ

อ่านต่อตอนที่ 2


ที่มาข้อมูล งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม คณะวิทยาศาสตร์ มหาลัยแม่โจ้

ส้มป่อย ไม้มงคลแห่งล้านนา




      ส้มป่อยเป็นพืชประเภทไม้เถาเนื้อแข็ง ต้นและใบคล้ายชะอม มีรสเปรี้ยว ใช้ยอดอ่อนใส่แกงได้รสเปรี้ยวใช้ แทนมะนาว นิยมใส่ในต้มส้มไก่เมือง ปลา หรือต้ม ส้มขาหมู จะได้รสชาติเปรี้ยวอร่อยและหอมกลิ่นส้มป่อย มี ผลเป็นฝักแบนๆ เป็นข้อ คล้ายฝักฉำฉา หรือฝักกระถินเทศ แต่จะสั้นและบางกว่าจะมีหนามตลอดที่ต้นและกิ่งก้าน เถาจะเลื้อยพันขึ้นกับต้นโพธิ์หรือต้นไม้ใหญ่ตามป่าเขาหรือตามวัด และจะออกผลเป็นฝักช่วงระหว่างเดือนธันวาคม ถึง กุมภาพันธ์ ของทุกปี และ 1 ปี จะออกผลเพียง 1 ครั้งเท่านั้น ตามความเชื่อของชาวเหนือล้านนามาแต่โบราณ จะเก็บผลฝักส้มป่อยเดือนห้าเป็ง หรือเดือนกุมภาพันธ์ ฝักส้มป่อยจะแห้งคาต้นจะยิ่งดีที่สุด เชื่อว่าเป็นเดือนที่มีความสำคัญของทางพระพุทธศาสนา คือ วันมาฆบูชา เพราะส้มป่อยจะมีความศักดิ์สิทธิ์ในตัวหากเก็บไว้ช่วงเดือนห้าเป็งแล้วจะดี หากได้มีการปลุกเสกก็จะดียิ่งขึ้นไปอีกหลายเท่าตัว และยิ่งเป็นส้มป่อยเจ็ดข้อหรือ 7 เมล็ด ก็จะมีความศักดิ์สิทธิ์เป็นมงคลมากขึ้นไปอีกโดยนำฝักมาลนไฟให้พอหอมแล้วหักแช่น้ำ ใช้น้ำส้มป่อยสระดำเพื่อความเป็นศรีสิริมงคล


     ส้มป่อยเจ็ดข้อเจ็ดเมล็ด มีที่มาจากชาดกเรื่อง "ปุณณนาคกุมาร" โดยครั้งที่ปุณณนาคกุมารอยากกลายเป็นมนุษย์ ปุณณนาคกุมารเข้ากราบทูลพระบิดา เพื่อขออนุญาตทิ้งสภาวะอันเป็นนาคให้กลายเป็นมนุษย์ พระบิดาทรงอนุญาตและได้ประทานขันทองคำให้ 1 ใบ แล้วให้หาส้มป่อยให้ได้ฝักที่มี 7 ข้อ จำนวน 7 ฝัก เอาแช่ในขันที่มีน้ำจาก 7 แม่น้ำ และ 7 บ่อ นำไปที่ฝั่งแม่น้ำใหญ่ เสกคาถา 7 บท จำนวน 7 คาบ ถอดคราบออก และอาบน้ำมนต์พร้อมสระเกล้าดำหัว จากนั้นเอาคราบนาคนั้นใส่ในขันทองคำไหลลงน้ำเสียจึงจะเป็นคนโดยสมบูรณ์ การใช้ส้มป่อยที่ปรากฏในเรื่องนี้แสดง ให้เห็นถึงความเชื่อในคุณสมบัติของส้มป่อยอีกเรื่องหนึ่ง

    และในชาดกล้านนาเรื่อง "อุสสาบารส" กล่าวถึง เรื่องของส้มป่อยว่า ครั้งหนึ่ง มีควายชื่อทรพี คิดอยากเอาชนะพ่อ จึงท้าชนทรพาผู้พ่อ ทั้งสอง ต่อสู้กันจนเวลาล่วงเลย ฝ่ายทรพีเพลี่ยงพล้ำถูก ทรพาไล่ขวิดจนถอยร่น ไปไกล ขณะนั้นเองทรพี ได้ถอยไปชนต้นส้มป่อยที่กำลังออกฝักอยู่ ด้วยกำลังที่ชน อย่างแรงทำให้ฝักส้มป่อยหล่นลงมาถูกหัวทรพี ทันใดนั้น กำลังที่เคยอ่อนล้าหมดแรง เกิดฮึกเหิมเพิ่มขึ้น ได้ทีทรพี จึงถาโถมเข้าชนทรพาอย่างเมามัน ผู้เป็นพ่อเสียที หมด แรงถอยไปชนต้นมะขามป้อม ลูกมะขามป้อมหล่นถูกหัว เรี่ยวแรงที่อ่อนล้ายิ่งหมดไป จึงถูกทรพี ผู้เป็นลูกฆ่าตาย ในที่สุด เรื่องนี้อาจเป็นต้นเหตุหนึ่งของความเชื่อในอนุภาพ ของน้ำส้มป่อย

    ส้มป่อยผูกพันวิถีความเชื่อของชาวล้านนา ในเรื่องพิธีกรรมสำคัญต่างๆชาวล้านนาเชื่อว่า ส้มป่อย เป็นพืชศักดิ์สิทธิ์ ขจัดสิ่งเลวร้าย อัปมงคล เป็นการปลด ปล่อยสิ่งไม่ดีให้หลุดพ้นจากชีวิต โดยเฉพาะคนล้านนามีความเชื่อตามชาดกว่าเป็นพืช ที่มีพลังแห่งความศักดิ์สิทธิ์ เรียกตามภาษาถิ่นว่า ส้มป่อย เป็นตัวแพ้ สิ่งจัญไร อัปมงคล ชั่วร้าย (แพ้ เป็นภาษาถิ่น เหนือ หมายถึง ชนะ) และคำว่า ป่อยหมายถึงปลดปล่อย สิ่งจัญไรทั้งหลายให้หลุดพ้นจากชีวิตคนเรา ส้มป่อยจึงเป็นไม้มงคลแห่งล้านนา......

ที่มา...ตำนานล้านนา,NEW M-THAI, https://www.m-culture.go.th

วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ประชาสัมพันธ์จังหวัดแพร่ สัมมนาเครือข่ายประชาสัมพันธ์เลือกตั้ง ส.ส. 2562



     ประชาสัมพันธ์จังหวัดแพร่ เร่งสร้างการรับรู้ “พลเมืองคุณภาพ เลือกตั้งคุณภาพ ได้คนดี คนเก่งมาพัฒนาประเทศ” หวังคนแพร่ออกมาใช้สิทธิเกิน 80 % มีบัตรเสียน้อยกว่า 2 %

     นางรติพร บุญคง ประชาสัมพันธ์จังหวัดแพร่ เปิดเผยว่า เหลืออีกไม่ถึง 1 เดือน ก็จะมีถึงวันที่ทุกคนรอคอย ในการเลือกตั้ง ส.ส. ในวันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม 2562 นี้ สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวดัแพร่ จึงได้สัมมนาเครือข่ายประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ ความเข้าใจให้กับนักข่าว สื่อมวลชน ผู้บริหารสถานีวิทยุ ผู้ดำเนินรายการสถานีวิทยุ Admin ผู้ดูแลสื่อ online และอาสาสมัครประชาสัมพันธ์ในพื้นที่จังหวัดแพร่ เกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และมีส่วนร่วมในกระบวนการได้มาซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอย่างถูกต้อง ถูกวิธี ทำให้ “การเลือกตั้งมีคุณภาพ ได้คนเก่ง คนดี มาพัฒนาประเทศ” และประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ที่สมบูรณ์ มีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล โดยมีนางชรินทร์ทิพย์ ไชยโย ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดแพร่ มาเป็นวิทยากรให้ความรู้ ในกับสื่อมวลชน ในประเด็น “สื่อ อย่างไรไม่ให้ผิดกฎหมายเลือกตั้ง” ซึ่งการนำเสนอข่าวที่ไม่เป็นกลางอาจจะเข้าข่ายผิดกฎหมายเลือกตั้งได้

     ประชาสัมพันธ์จังหวัดแพร่ กล่าวว่า การประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งนี้ มีแนวคิด “พลเมืองคุณภาพ เลือกตั้งคุณภาพ ได้คนดี คนเก่งมาพัฒนาประเทศ” ส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้าใจเรื่องการเมือง รู้คิด วิเคราะห์ และเท่าทัน สถานการณ์บ้านเมือง และออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งเพื่อจัดตั้งรัฐบาลที่เป็นคนดี มีคุณภาพ มีเป้าหมายให้ประชาชนคนแพร่ ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งไม่ต่ำกว่า 80% มีบัตรเสียไม่น้อยกว่าร้อยละ 2 โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็น ประชาชนทั่วไป เยาวชนที่มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก 7 ล้านเสียง และประชาชนคนไทย ในต่างประเทศ โดยมีกิจกรรมบรรยายสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความสำคัญของการออกไปเลือกตั้ง, การรู้เท่าทันการเมือง กฏหมาย ระเบียบ วิธีการเลือกตั้งรูปแบบใหม่, การสนับสนุน กกต., การประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และช่องทางการประชาสัมพันธ์ การเลือกตั้ง ส.ส. 2562 และตอบข้อซักถาม ข้อสงสัยเกี่ยวกับการทำงานของสื่อมวลชน ผู้จัดรายการวิทยุ สื่อ online สื่อบุคคล เพื่อป้องกันการผิดกฎหมายเลือกตั้ง



นายโชคชัชกาญ ราชฟู ข่าว

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดแพร่

ทต.แม่คำมี เมืองแพร่ เตรียมความพร้อมแผนชุมชนดึงผู้นำชุมชนเป็นแนวร่วมพัฒนาตำบล



ทต.แม่คำมี เมืองแพร่ เตรียมความพร้อมแผนชุมชนดึงผู้นำชุมชนเป็นแนวร่วมพัฒนาตำบล      เมื่อวันที่26กุมภาพันธ์2562 ทต.แม่คำมี อำเภอเมืองแพร่ได้จัดการอบรมโครงการบูรณาการจัดทำแผนชุมชน/หมู่บ้าน ประจำปี2562อบรมส่งเสริมศักยภาพผู้นำชุมชน/หมู่บ้านในการจัดทำแผนชุมชนณ ศูนย์พัฒนาบุคลากรเทศบาลตำบลแม่คำมี อำเภอเมืองแพร่ โดยกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลและกำนันผู้ใหญ่บ้านเข้าร่วมการอบรมจำนวน40คนโดยได้รับการสนับสนุนวิทยากรจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ 

     ส.ต.ท.ทวีสิทธิ์ พัฒนชัยวัฒน์ ปลัด ทต.แม่คำมี ปฏิบัติหน้าที่นายกเทศบาลตำบลแม่คำมีกล่าวว่าปัจจุบันบริบทชุมชนเปลี่ยนไปอย่างมาก และกฎระเบียบรวมถึงขั้นตอนการปฏิบัติราชการได้เปลี่ยนแปลงไปในหลายเรื่อง และในอนาคตรูปแบบการจัดทำแผนชุมชนจะมีความสำคัญอย่างยิ่ง ต่อการพัฒนาภาพรวม ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของผู้นำชุมชนในการปรับตัวให้เท่าทันสถานการณ์และถูกต้องตามระเบียบมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อที่จะได้ดึงปัญหาของแต่ละชุมชนมาแก้ไขและพัฒนาชุมช

แอ่วกาดกองเก่า





     เมื่อปี2553 ที่ผ่านมาทางชุมชนพระนอนร่วมกับชาวบ้านใกล้เคียงได้รับการสนับสนุนจากโครงการ “แพร่ เมืองแห่งความสุข” ได้ร่วมกันคิดและสร้างกิจกรรม “แอ่วกาดกองเก่า” มีเครือข่ายต่างๆ เช่น สถาบันปุ๋มผญ๋า พิพิธภัณฑ์เสรีไทยแพร่ กลุ่มเกษตรยั่งยืน ชมรมอนุรักษ์สถาปัตยกรรมท้องถิ่นเมืองแพร่ และข่ายลูกหลานเมืองแพร่ เข้าร่วมกิจกรรม ภายในงาน มีการนำนิทรรศการภาพเก่าเมืองแพร่ นิทรรศการการอนุรักษ์เฮือนเก่ามาจัดแสดง นอกจากนี้ยังมาการนำหนังเก่าๆที่หาดูได้ยากมาฉาย โดยหวังให้เป็นพื้นที่ พักผ่อน พบปะพูดคุย โดยอิงจากวิถีชีวิตดั้งเดิมที่เมื่อถึง หน้าทำบุญชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงจะหยุดงานมาร่วมทำบุญ ซึ่งเป็นรากฐานให้คนในชุมชนได้แลกเปลี่ยน ลูกหลานได้พบปะผู้หลัก ผู้ใหญ่ในชุมชน มีความกลมเกลียวสามัคคีกัน เนื่องจากอาชีพที่ทำส่วนมากจะเป็นอาชีพที่ทำในบ้าน เช่น ค้าขาย ทำนา ทำสวน ปลูกผัก ช่างไม้ ช่างฝีมือทำสลุง ไม่ได้เป็นลูกจ้างใคร และสังคมในยุคนั้นยังไม่ซับซ้อนมากนัก ทำให้เกิดการเรียนรู้และถ่ายทอดวัฒนธรรมต่างๆผ่านการได้เห็น ลงมือทำ ทำให้สืบทอดวิถีชีวิตแบบพื้นถิ่นมาได้ จวบจนปัจจุบันที่ ผู้คนได้มีโอกาสเรียนสูงขึ้น ประกอบอาชีพหลากหลาย และเริ่มที่จะออกไปทำงานนอกบ้าน คนหนุ่มสาว ต้องไปหางานทำต่างถิ่น กลับบ้านมาก็แค่ช่วงเทศกาลปีละไม่กี่วัน เมื่อแต่งงานก็จะพาครอบครัวออกจากถิ่นที่อยู่เดิม นานวันเข้าก็จะชักชวนพ่อแม่ไปอยู่ด้วยกันในเมืองใหญ่หรือแหล่งงาน


    จากการที่ข่ายลูกหลานเมืองแพร่ และชมรมอนุรักษ์สถาปัตยกรรมท้องถิ่นเมืองแพร่ได้ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เช่น เทศบาลเมืองแพร่ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ และองค์กรภายนอกจังหวัดแพร่ ได้แก่ ศูนย์ภูมิภาคโบราณคดีและวิจิตรศิลป์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(spafa), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา,บางกอกฟอรั่ม,มูลนิธิญี่ปุ่น(japan foundation) กระตุ้นให้ชุมชนในตัวเมืองเก่าแพร่ เห็นคุณค่าประวัติศาสตร์ท้องถิ่น มรดกวัฒนธรรมที่มีชีวิตรวมถึง สถาปัตยกรรมท้องถิ่นในเมืองแพร่ ทำให้มองเห็นปัญหาหนึ่งที่สำคัญคือ การที่ผู้คนละทิ้งถิ่นฐาน ออกไปอยู่ในเมืองใหญ่ ทำให้ขาดกำลังพลเมืองหนุ่ม สาว วัยทำงานซึ่งเป็นกลุ่มที่สำคัญที่จะสืบทอดวิถีชีวิต ประเพณี อาชีพ หัตถกรรม เรื่องราวต่างๆในชุมชน ซึ่งเป็นอัตลักษณ์เฉพาะในแต่ละถิ่น และเมื่อไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ ก็เกิดการรื้อขายเรือนไม้สัก ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และมีคุณค่าที่แสดงถึงภูมิปัญญาของคนเมืองแพร่ จึงได้ชักชวนผู้คน ในละแวกตัวเมืองเก่าแพร่มาแลกเปลี่ยนความคิด ปรึกษาหารือ เพื่อเสาะหาแนวทางที่จะทำให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ มีพื้นที่สาธารณะได้ สื่อสารความคิด เรื่องราวที่มีคุณค่าเหล่านั้น

     กาดกองเก่า จึงไม่ใช่แค่ตลาดนัดที่มีแต่การขายของ ขายอาหาร แต่เป็นพื้นที่กิจกรรมที่ทุกเพศ ทุกวัย จะได้มาอยู่ร่วมกัน แม้จะเพียงช่วงเวลาเล็กน้อย ซึ่งนับเป็นการเริ่มต้นที่อาจจะแตกต่างจากตลาดนัดในพื้นที่อื่นๆ ในเมืองแพร่ที่มีอยู่มากมาย คณะทำงานจึงพยายามสร้างรูปแบบการจัดงานให้มีความชัดเจน เพื่อสื่อสารกับชุมชน รวมทั้งนักท่องเที่ยวจากที่อื่นๆ โดยมีการศึกษารูปแบบ จากสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง เช่น ตลาดสามชุก กาดกองต้า แต่ก็ยังอิงกับความเป็นเมืองแพร่ แนวคิดนี้เดิมจะจัดเพียงเดือนละครั้ง เวียนไปตามชุมชนต่างๆในเขตกำแพงเมืองแพร่ที่เป็นชุมชนเก่า มีผู้สูงอายุอยู่ค่อนข้างมากเพื่อให้ท่านเหล่านั้นได้มีโอกาสมาพบเจอกันด้วย แต่เนื่องจากการจัดงานต้องใช้กำลังคน และความคุ้นเคยกันในละแวกบ้าน ท้ายที่สุดทางคณะทำงานจึงได้จัดขึ้นบริเวณ ถนนคำลือ ตั้งแต่สี่แยกพระนอนเหนือถึงสี่แยกพระนอนใต้ และในทุกวันเสาร์จากสี่แยกพระนอนใต้จนถึงประตูมานเป็นกาดพระนอน โดยเปิดโอกาสให้ผู้ผู้สนใจมาทำกิจกรรมต่างๆ เช่น เพลงสร้างบรรยากาศจะเลือกเพลงเก่าๆ เพลงพื้นเมือง เพลงคำเมือง หรือเพลงที่แต่งขึ้นให้เข้ากับบรรยากาศของกิจกรรม ที่สำคัญได้ก่อให้เกิดแรงกระตุ้นทางเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวแก่เมืองแพร่ ปัจจุบันมีวงดนตรีกาสะลองที่เป็นลูกหลานคนแพร่แต่งเพลงเล่าเรื่องเมืองแพร่มาขับกล่อมบรรเลงให้ทุกท่านได้ฟังในกาดกองเก่าทุกวันเสาร์ จึงอยากจะเชิญชวนให้พ่อ แม่ พี่น้องที่สนใจนำของมาขายแต่งกายพื้นเมือง เอาสาดมาปูนั่ง เอาแคร่มาวาง นำสินค้าพื้นเมือง อาหารพื้นเมือง ผลิตภัณฑ์ต่างๆในชุมชนบ้านเฮา หรือของที่ระลึกมาขายทุกวันเสาร์ ตั้งแต่ บ่ายสามโมงถึงสองทุ่มครึ่ง ณ แอ่วกาดกองเก่า ถนนคำลือ อ.มืองแพร่........

วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

เวียงสรอง เมืองแห่งความรัก





เวียงสรองหรือเมืองสอง เป็นเวียงโบราณที่มีลักษณะเป็นเมืองเก่าคล้ายเมืองเก่าสุโขทัย คือมีกำแพงเมืองเป็นดิน ๓ ชั้นล้อมรอบ เวียงสรองตั้งอยู่ในอำเภอสอง จังหวัดแพร่ มีความเกี่ยวข้องกับวรรณคดีไทยเรื่องลิลิตพระลอ เพราะชาวบ้านท้องถิ่นเชื่อว่าเวียงสรองคือเมืองของพระเพื่อนพระแพง สองพี่น้องผู้ตกหลุมรักพระลอ ราชโอรสแห่งเมืองสรวงที่เป็นอริกัน

ลิลิตพระลอเป็นวรรณคดีที่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าใครเป็นคนแต่งและแต่งขึ้นเมื่อใด สันนิษฐานได้เพียงว่าน่าจะแต่งขึ้นในสมัยอยุธยา โดยเนื้อหาในลิลิตพระลอกล่าวถึงเมืองสองเมืองคือ เมืองสรวงและเมืองสรอง โดยเมืองสรวงมีกษัตริย์ชื่อ ท้าวแมนสรวง เป็นผู้ครองนคร มีพระชายาชื่อ พระนางบุญเหลือ มีโอรสชื่อพระลอ ส่วนเมืองสรองนั้นตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองสรวง มีเจ้า ผู้ครองเมืองชื่อ ท้าวพิมพิสาคร มีโอรสชื่อท้าวพิชัยพิษณุกร ซี่งมีธิดาสององค์คือ พระเพื่อนกับพระแพง

ท้าวแมนสรวงยกทัพไปตีเอาเมืองสรอง แต่ไม่สามารถตีเอาเมืองได้ โดยท้าวพิมพิสาครผู้ครองเมืองสรองสิ้นพระชนม์ ท้าวพิชัยพิษณุกรจึงได้ครองเมืองต่อ ฝ่ายท้าวแมนสรวงได้สู่ขอนางลักษณวดีให้แก่พระลอ เมื่อท้าวแมนสรวงสิ้นพระชนม์ พระลอจึงได้ครองเมืองสรวงสืบต่อมา ทั้งสองเมืองเป็นอริกันนับตั้งแต่การทำศึกครั้งนั้น

ความงามของพระลอนั้นเป็นที่เลื่องลือมาก จนช่างซอนำความงามของพระลอไปขับซอยอโฉมตามเมืองต่าง ๆ เมื่อพระเพื่อนพระแพงได้ฟังซอก็เกิดหลงรักพระลอ จนเป็นไข้ทั้ง ๆ ที่ไม่เคยเจอหน้า นางรื่นนางโรย พี่เลี้ยงของพระเพื่อนพระแพง จึงอาสาหาวิธีให้พระธิดาทั้งสองได้ใกล้ชิดพระลอให้จงได้ จึงจัดหาคนสนิทไปขับซอชมโฉมของพระเพื่อนพระแพงบ้าง เมื่อพระลอได้ฟังคำซอนั้น ก็เกิดหลงรัก พระเพื่อนพระแพงเช่นกัน

เรื่องราวความหลงใหลของพระเพื่อนพระแพงที่มีต่อพระลอวุ่นวายหนักขึ้น เมื่อนางรื่นนางโรยได้ไปเสาะหาหมอทำเสน่ห์ให้พระลอหลงรัก แต่ไม่มีใครยอมทำ จนสุดท้ายได้ไปขอให้ปู่เจ้าสมิงพราย ที่อาศัยอยู่ในถ้ำลึกในป่า ช่วยทำเสน่ห์ให้ ปู่เจ้าสมิงพรายได้ทำเสน่ห์หลายครั้ง แต่พระนางบุญเหลือมารดาของพระลอก็หาหมอมาแก้ได้ทุกครั้ง จนครั้งสุดท้าย ปู่เจ้าสมิงพรายได้ทำมนต์เสน่ห์อย่างแรงที่สุด จนทำให้พระลอกระวนกระวายใจจะไปเมืองสรองให้ได้ แม้การเสี่ยงทายบอกว่าจะมีภัย ปู่เจ้าสมิงพรายได้ปล่อยไก่ฟ้าที่ทำพิธีแล้ว ให้ไปล่อพระลอหลงเข้าไปในสวนที่อยู่ใกล้กับสวนของพระเพื่อนพระแพง เมื่อได้พบเจอกันจึงหลงเสน่ห์กันและลักลอบอยู่ด้วยกันนานเกือบเดือน ความทราบถึงท้าวพิชัยพิษณุกรที่แอบมาดูเหตุการณ์ แต่เมื่อได้เห็นพระลอแล้วเกิดความเมตตาและให้อภัย แต่เจ้าย่าซึ่งเป็นแม่เลี้ยงของท้าวพิชัยพิษณุกร กลับผูกใจเจ็บที่ท้าวแมนสรวงเคยยกทัพมาทำศึก จนพระยาพิมพิสาครต้องสิ้นพระชนม์ จึงสั่งให้ทหารไปล้อมจับพระลอ พระเพื่อนพระแพงและนางรื่นนางโรยได้ปลอมตัวเป็นชายออกไปต่อสู่เคียงข้างพระลอ จนกระทั่งถูกหน้าไม้อาบยาพิษยิงใส่ทั้งสามองค์ สิ้นใจทั้ง ๆ ที่ยืนพิงกัน

เรื่องราวของลิลิตพระลอ จึงถูกนำมาเชื่อมโยงกับพื้นที่ในบริเวณจังหวัดแพร่ พะเยา ลำปาง โดยเฉพาะเวียงสรองในอำเภอสอง จังหวัดแพร่ ที่น่าจะเป็นเมืองสรองของพระเพื่อนพระแพง ด้วยลักษณะภูมิประเทศและระยะทางที่ปรากฏในลิลิตพระลอนั้น มีความใกล้เคียงสอดคล้องกัน จึงน่าจะเป็นเรื่องที่เคยเกิดขึ้นจริงในพื้นที่ล้านนาตะวันออกนี้







โรงเรียนเจริญราช โรงพยาบาลแพร่คริสเตียน






     โรงเรียนเจริญราษฎร์ เป็นโรงเรียนของมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย ตั้งอยู่บนรากฐานแห่ง คริสตศาสนานิกายโปแตสแตนท์ ซึ่งได้ดำเนินการก่อตั้งโดยมิชชันนารีชาวอเมริกัน เมื่อ พ.ศ. 2437 โดยมีศาสนฑูต ดร. และนางวิลเลี่ยมบริกส์ เป็นมิชชั่นนารีกลุ่มแรกที่เข้ามาทำ การสอน คริสตศาสนา ได้อาศัยบ้านเรือนที่ตั้งอยู่บนฝั่งซ้ายแม่น้ำยม (บ้านเชตวัน) นับเป็นโรงเรียนหลังแรก ต่อมาน้ำเซาะตลิ่งพัง จึงได้ย้ายสถานที่ตั้งโรงเรียนมาอยู่ ณ ที่ตั้งปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ.2446 โดยมีนักเรียนชาย 44 คน นักเรียนหญิง 42 คน มีครูชาย 1 คนและ ครูหญิง 1 คน หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 บิดามารดา ผู้ปกครองต่างส่งบุตรหลานมาเรียนเป็นจำนวนมาก ทำให้เนื้อที่เรียนคับแคบลง จึงได้ขยายห้องเรียนตามใต้ถุนบ้าน มิชชันนารี ต่อมาคณะกรรมการบริหารสภาฯได้อนุมัติเงินจำนวน 5 แสนบาท มาก่อสร้างอาคารเรียน พร้อมส่งนายสิงห์แก้ว ดีตันนา ครูใหญ่และผู้จัดการโรงเรียนสมัยนั้น ไปศึกษาต่อที่ประเทศ ฟิลิปปินส ์ โดยตั้งนายธงชัย วุฒิการณ์ ทำหน้าที่รักษาการแทนครูใหญ่และผู้จัดการในปี พ.ศ. 2497 กระทรวงศึกษาธิการ โดยฯพณฯ เลียง ไชยลังกา ได้มอบใบสำคัญการ รับรองวิทยฐานะของโรงเรียน เมื่อ 28 มิถุนายน 2497 ปัจจุบันได้รับอนุญาตให้จัดการเรียน การสอน ตั้งแต่ชั้นปฐมวัย ถึงระดับมัธยมศึกษา

สำหรับโรงพยาบาลแพร่คริสเตียน เมื่อแรกเริ่มครอบครัวของหมอวิลเลี่ยม เอ.บริกส์ เป็นมิชชั่นนารีครอบครัวแรกที่อยู่ประจำจังหวัดแพร่ เป็นผู้จัดตั้งสถานพยาบาลขึ้น ในปี พ.ศ. 2457 ได้ก่อตั้งโรงพยาบาลแห่งแรกของจังหวัดแพร่ตั้งขึ้นบนฝั่งแม่น้ำยม บ้านเชตวัน อ.เมือง จ.แพร่ ดำเนินการโดย คณะมิชชั่นนารีสัญชาติอเมริกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือชีวิตมนุษย์ในท้องถิ่นที่ความเจริญทางการแพทย์ยังเข้าไปไม่ถึง และเป็นการนำเอาศริสต์ศาสนามาเผยแพร่

คณะมิชชั่นนารีที่ดำเนินการของโรงพยาบาลประกอบด้วยหมอโทมัส ที่ชาวบ้านเรียกว่า “พ่อเลี้ยงโทมา” และผู้ดำเนินการทางศาสนาคือ พระกิลิส และพระกาสันเดอร์ นอกจากนี้ยังมีนายแพทย์ร่วมคณะซึ่งเป็นบุคคลสำคัญและมีพระคุณต่อโรงพยาบาลแพร่คริสเตียนอย่างมหาศาล คือ นาย แพทย์ อี ซี คอร์ท (พ่อเลี้ยงคอร์ท) เป็นผู้ดำเนินการฝ่ายโรงพยาบาล โดยเป็นผู้จัดหาความเจริญทั้งในด้านวิชาการ,เครื่องมือทางแพทย์ รวมถึงบุคลากรทั้งหมด และคนไทยที่ร่วมทำงานด้วยคือ คุณหมอศรีมูล พิณคำ ประจำอยู่ที่แพร่ ต่อมาพ่อเลี้ยงคอร์ทได้คัดเลือกบุตรหลานของคริสต์สมาชิกไปฝึกอบรมวิชาแพทย์แผนปัจจุบันที่โรงพยาบาลแมคคอร์มิค ครั้นเมื่อได้ใบรับรองผู้ประกอบโรคศิลป์แผนปัจจุบันสาขาเวชกรรมก็ให้มาทำหน้าที่แพทย์ประจำโรงพยาบาล(ตอนนั้นใช้ชื่อว่าโรงพยาบาลอเมริกัน)

เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นยกพลเข้าประเทศไทย รัฐบาลไทยจำเป็นต้องทำสัญญาเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น และประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกา ทำให้แพทย์ชาวอเมริกันต้องอพยพหนีไปสู่ประเทศพม่า โรงพยาบาลอเมริกันถูกยึดเป็นของรัฐบาล คณะแพทย์อเมริกันได้กลับมาฟื้นฟูโรงพยาบาลแพร่คริสเตียนขึ้นใหม่พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็นโรงพยาบาลแพร่คริสเตียนจนถึงปัจจุบัน

ที่มา http://www.crschool.ac.th,โบสถ์,คริสตจักรที่ 1 แพร่กิตติคุณ,โรงพยาบาลแพร่คริสเตียน,นิทรรศการสถาปัตย์ศิลป์ บ้านฝรั่ง 100 ปี จัดขึ้นเมื่อวันที่ 11-13 กพ. พ.ศ.2555


คริสตจักรที่ 1 แพร่กิตติคุณ 1894-2011 ตอนที่ 2




     หลังจากก่อตั้ง คริสตจักรที่  1 แพร่กิตติคุณ แล้วในปี ค.ศ.1894(พ.ศ.2437) ศาสนาจารย์ ดร.ฟิเอสพเปิ้ล ได้จัดการซื้อที่ดินแห่งหนึ่งในหมู่บ้านเชตะวันอันมีเนื้อที่ประมาณ 3ไร่ เศษ ที่ดินดังกล่าวนี้อยู่ใกล้ๆ ฝั่งแม่น้ำยมฟากด้านตะวันตกใกล้ๆ บริเวณห้างบอมเบย์เบอร์ม่า บริษัทที่ได้รับสัมปทานป่าไม้เขตภาคเหนือ เวลานั้นที่ดินอาณาเขตที่มิชชั่นซื้อครั้งนั้นติดอยู่ให้บริษัทำการป่าไม้บอมเบย์เบอร์ม่ามิชชั่นใช้เป็นที่ตั้งโรงพยาบาลขนาดเล็ก(คลินิก)และสร้างอาคารเรียนตั้งเป็นสถานที่สอนหนังสือ สร้างบ้านพักมิชชั่นนารี บ้านพักคนงาน เรือนพักคนงาน และโรงสวดเป็นสถานที่สวดนมัสการพระเจ้า ในปี ค.ศ.1894 ดร.วิลเลียมบริ๊กส์เอ็มดี (Dr.Rilliam Briggs M.D.) ได้ย้ายมาเป็นมิชชั่นนารีประจำเมืองแพร่เป็นครอบครัวแรก

     ผู้ปกครอง2คนแรก ในคริสตจักรเมืองแพร่ คือ นายมา ชาติเงี้ยว กับ นายน้อยปัญญา มณีวงศ์ และยังอีกผู้หนึ่งซึ่งเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงของในการเผยแพร่ศาสนาคริสต  คือนายหนานชัย นุภาพ ที่ย้ายมาจากเชียงใหม่ เพื่อมาทำงานกับบริษัท ป่าไม้บอมเบย์เบอร์ม่าก่อนที่คณะมิชชั่นนารีจะเปิดสำนักงานมิชชั่นนารี  
     ในปี ค.ศ.1913(พ.ศ.2456) สมัยที่ท่านอาจารย์ ซี อาร์ คารเลนเดอร์พร้อมทั้งครอบครัวไปอยู่ประจำที่เมืองแพร่ในปีนี้เองคณะมิชชั่นนารีได้มีมติให้ย้ายสำนักงานมิชชั่นนารีจากบ้านเชตะวันไปอยู่ที่ดินแปลงใหม่คือ บ้านทุ่ง ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ อันเป็นที่ดินที่โรงเรียนและโรงพยาบาลตั้งอยู่ในปัจจุบัน เหตุที่มิชชั่นนารีต้องย้ายไปตั้งอยู่ที่ใหม่นี้เนื่องจากบริเวณเขตเก่าของมิชชั่นนารีที่บ้านเชตะวันถูกน้ำยมเซาะตลิ่งพังกินเนื้อที่ของมิชชั่นนารีไปทุกที ในไม่ช้าก็ถูกแม่น้ำยมกลืนหมด จนปัจจุบันนี้บริเวณที่ดินดังกล่าวตกอยู่กลางแม่น้ำทีเดียว ผืนแผ่นดินบริเวณของเขต  มิชชั่นนารีที่หมู่บ้านเชตะวันไม่เหลือแม้แต่น้อย
     หลังจากย้ายมาตั้งโบสถ์มาที่บ้านทุ่ง นับตั้งแต่ปี ค.ศ.1929(พ.ศ.2472) ดำเนินกิจกรรมเรื่อยมาอย่างไม่มีปัญหา ทางคริสตจักรที่ 1 ในเมืองแพร่ไม่มีชื่อเฉพาะ จึงมาเปลี่ยนชื่อเป็น คริสตจักรแพร่กิตติคุณในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองนี้เอง ต่อมาทางคริสตจักรเห็นว่าคริสต์สมาชิกเจริญก้าวหน้ามามากแล้ว เห็นสมควรที่จะต้องสร้างโบสถ์ขึ้นใหม่ ให้เป็นตึกอาคารถาวร ตึกคอนกรีตเสริมเหล็กให้ทันสมัย สมาชิกรวมทั้งคณะธรรมกิจจึงได้ตกลงให้สร้างขึ้นใหม่ในสถานที่ดินแห่งใหม่อันเป็นที่ดินของมิชชั่นนารีที่ซื้อไว้แต่เดิม ในนามของบอร์ดออฟฟอเรนส์ มิชชั่นนารี
เมื่อเวลาผ่านไปทางบอร์ดได้สลายตัวและมอบให้เป็นของมูลนิธิสภาคริสตจักรในประเทศไทยเป็นเจ้าของ มีเนื้อที่ประมาณ13ไร่1งาน18ตารางวา ตั้งอยู่ที่ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ อันเป็นที่ตั้งโบสถ์คริสตจักรที่1แพร่กิตติคุณ ในปัจจุบัน หลังจากคริสตจักรได้ย้ายมาสร้างที่นมัสการพระเจ้า (โบสถ์ ใหม่) ซึ่งอยู่ติดกับโรงเรียนเจริญราษฎร์ ทางทิศใต้ ซึ่งเป็นสถานที่ปัจจุบันนี้ ในปี ค.ศ.1952 คริสตจักร ได้ดำเนินงานตามปกติ โดยการดำเนินงานของคณะธรรมกิจเพราะช่วงนี้คริสตจักรยังไม่มีศิษยาภิบาล จวบจนราวปี ค.ศ.1957 คริสตจักรจึงได้มีศิษยาภิบาลประจำการจนถึงปัจจุบัน 

ที่มา http://www.crschool.ac.th,โบสถ์,คริสตจักรที่ 1 แพร่กิตติคุณ,โรงพยาบาลแพร่คริสเตียน,นิทรรศการสถาปัตย์ศิลป์ บ้านฝรั่ง 100 ปี จัดขึ้นเมื่อวันที่ 11-13 กพ. พ.ศ.2555