วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

โรงเรียนเจริญราช โรงพยาบาลแพร่คริสเตียน






     โรงเรียนเจริญราษฎร์ เป็นโรงเรียนของมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย ตั้งอยู่บนรากฐานแห่ง คริสตศาสนานิกายโปแตสแตนท์ ซึ่งได้ดำเนินการก่อตั้งโดยมิชชันนารีชาวอเมริกัน เมื่อ พ.ศ. 2437 โดยมีศาสนฑูต ดร. และนางวิลเลี่ยมบริกส์ เป็นมิชชั่นนารีกลุ่มแรกที่เข้ามาทำ การสอน คริสตศาสนา ได้อาศัยบ้านเรือนที่ตั้งอยู่บนฝั่งซ้ายแม่น้ำยม (บ้านเชตวัน) นับเป็นโรงเรียนหลังแรก ต่อมาน้ำเซาะตลิ่งพัง จึงได้ย้ายสถานที่ตั้งโรงเรียนมาอยู่ ณ ที่ตั้งปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ.2446 โดยมีนักเรียนชาย 44 คน นักเรียนหญิง 42 คน มีครูชาย 1 คนและ ครูหญิง 1 คน หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 บิดามารดา ผู้ปกครองต่างส่งบุตรหลานมาเรียนเป็นจำนวนมาก ทำให้เนื้อที่เรียนคับแคบลง จึงได้ขยายห้องเรียนตามใต้ถุนบ้าน มิชชันนารี ต่อมาคณะกรรมการบริหารสภาฯได้อนุมัติเงินจำนวน 5 แสนบาท มาก่อสร้างอาคารเรียน พร้อมส่งนายสิงห์แก้ว ดีตันนา ครูใหญ่และผู้จัดการโรงเรียนสมัยนั้น ไปศึกษาต่อที่ประเทศ ฟิลิปปินส ์ โดยตั้งนายธงชัย วุฒิการณ์ ทำหน้าที่รักษาการแทนครูใหญ่และผู้จัดการในปี พ.ศ. 2497 กระทรวงศึกษาธิการ โดยฯพณฯ เลียง ไชยลังกา ได้มอบใบสำคัญการ รับรองวิทยฐานะของโรงเรียน เมื่อ 28 มิถุนายน 2497 ปัจจุบันได้รับอนุญาตให้จัดการเรียน การสอน ตั้งแต่ชั้นปฐมวัย ถึงระดับมัธยมศึกษา

สำหรับโรงพยาบาลแพร่คริสเตียน เมื่อแรกเริ่มครอบครัวของหมอวิลเลี่ยม เอ.บริกส์ เป็นมิชชั่นนารีครอบครัวแรกที่อยู่ประจำจังหวัดแพร่ เป็นผู้จัดตั้งสถานพยาบาลขึ้น ในปี พ.ศ. 2457 ได้ก่อตั้งโรงพยาบาลแห่งแรกของจังหวัดแพร่ตั้งขึ้นบนฝั่งแม่น้ำยม บ้านเชตวัน อ.เมือง จ.แพร่ ดำเนินการโดย คณะมิชชั่นนารีสัญชาติอเมริกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือชีวิตมนุษย์ในท้องถิ่นที่ความเจริญทางการแพทย์ยังเข้าไปไม่ถึง และเป็นการนำเอาศริสต์ศาสนามาเผยแพร่

คณะมิชชั่นนารีที่ดำเนินการของโรงพยาบาลประกอบด้วยหมอโทมัส ที่ชาวบ้านเรียกว่า “พ่อเลี้ยงโทมา” และผู้ดำเนินการทางศาสนาคือ พระกิลิส และพระกาสันเดอร์ นอกจากนี้ยังมีนายแพทย์ร่วมคณะซึ่งเป็นบุคคลสำคัญและมีพระคุณต่อโรงพยาบาลแพร่คริสเตียนอย่างมหาศาล คือ นาย แพทย์ อี ซี คอร์ท (พ่อเลี้ยงคอร์ท) เป็นผู้ดำเนินการฝ่ายโรงพยาบาล โดยเป็นผู้จัดหาความเจริญทั้งในด้านวิชาการ,เครื่องมือทางแพทย์ รวมถึงบุคลากรทั้งหมด และคนไทยที่ร่วมทำงานด้วยคือ คุณหมอศรีมูล พิณคำ ประจำอยู่ที่แพร่ ต่อมาพ่อเลี้ยงคอร์ทได้คัดเลือกบุตรหลานของคริสต์สมาชิกไปฝึกอบรมวิชาแพทย์แผนปัจจุบันที่โรงพยาบาลแมคคอร์มิค ครั้นเมื่อได้ใบรับรองผู้ประกอบโรคศิลป์แผนปัจจุบันสาขาเวชกรรมก็ให้มาทำหน้าที่แพทย์ประจำโรงพยาบาล(ตอนนั้นใช้ชื่อว่าโรงพยาบาลอเมริกัน)

เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นยกพลเข้าประเทศไทย รัฐบาลไทยจำเป็นต้องทำสัญญาเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น และประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกา ทำให้แพทย์ชาวอเมริกันต้องอพยพหนีไปสู่ประเทศพม่า โรงพยาบาลอเมริกันถูกยึดเป็นของรัฐบาล คณะแพทย์อเมริกันได้กลับมาฟื้นฟูโรงพยาบาลแพร่คริสเตียนขึ้นใหม่พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็นโรงพยาบาลแพร่คริสเตียนจนถึงปัจจุบัน

ที่มา http://www.crschool.ac.th,โบสถ์,คริสตจักรที่ 1 แพร่กิตติคุณ,โรงพยาบาลแพร่คริสเตียน,นิทรรศการสถาปัตย์ศิลป์ บ้านฝรั่ง 100 ปี จัดขึ้นเมื่อวันที่ 11-13 กพ. พ.ศ.2555


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น