วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2562
















วัดชัยมงคลโป่งจ๊าง
ตั้งอยุ่ที่ ต. ในเวียง อ. เมือง จ. แพร่ ห่างจากสี่แยกบ้านทุ่ง อยู่ระหว่าง ถนนช่อแฮ และถนนเหมืองแดง ที่เชื่อมต่อกัน มีพื้นที่ประมาณ ๔ ไร่ ๑ งาน ๖๒ ตารางวา สำมโนครัว บ้านเลขที่ ๗๑ ถนนช่อแฮ ต. ในเวียง อ. เมือง จ. แพร่
แต่เดิม พื้นที่บริเวณที่ตั้งของวัด เป็นที่รกร้าง เป็นที่เลี้ยงโค กระบือ และช้างของชาวบ้าน เมื่อสร้างวัดขึ้นครั้งแรก ได้เรียกชื่อวัดว่า " วัดชัยมงคลโป่งจ๊าง. " ...เพราะ เป็นแหล่งที่มีดินโป่ง ซึ่งสัตว์ต่างๆชื่นชอบ รวมทั้งพวกช้างมากินดินโป่ง
ท่านพระครูพุทธวงค์ศาจารย์ ( ทองคำ พุทธวังโส ) เป็นผุ้นำในการจับจองพื้นที่และบุกเบิกแผ้วถาง บริเวณวัด ( ท่านพระครูพุทธวงค์ศาจารย์ เป็นคนชาวบ้าน สีลอ บุตรของ พญาแขก เจ้าแม่แว่นแก้ว ) ขณะที่ท่านดำรงค์ตำแหน่ง เจ้าอาวาส วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร รูปแรก ท่านได้ชักชวน พระธรรมธรการินต๋า วัดน้ำคือ ( วัดเมธังฯ) และ เหล่า ศิษญานุศิษย์ ทั้งฝ่ายบรรชิต และคฤหัสถ์มาทำการแผ้วถาง ปรับบริเวณ ในปี พ.ศ. ๒๔๓๔
แรกการก่อสร้าง วัดชัยมงคล คงสร้างวิหารแบบง่ายๆ ประหยัด ด้วยเครื่องไม้ บนส่วนฐานวิหารวัด คือ บริเวณที่เป็น หอไตร ในปัจจุบัน ( ต่อมาได้สร้างวิหารหลังใหม่ ในปี พ.ศ. ๒๔๕๑ หลังที่สอง ในบริเวณที่เป็นวิหารหลวงปัจจุบัน ซึ่งเป็นหลังที่สาม ) กำแพงล้อมรอบวัด สร้างโดยไม้ล้อมรั้ว อย่างพื้นเมือง เรียกกันว่า " ฮั้วต่างบ่อง " กุฎิ สร้างด้วยไม้ หลังคามุงแฝก ฝาไม้ขัดแตะ ส่วนตัววิหาร สร้างแบบสถาปัตยกรรมที่เรียบง่าย นับว่าเป็นวัดที่สร้างในชั้นหลังของบรรดาวัดในเวียง
เมื่อก่อสร้างสิ่งต่างๆในวัดเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง มีพระภิกษุสามเณรมาจำพรรษา เป็นที่มั่นคง จนสามารถประกอบศาสนกิจได้แล้ว ในปีพ.ศ. ๒๔๔๒ ท่านพระครู พุทธวงค์ศาจารย์ ได้แต่งตั้ง พระธรรมธรรินต๋า นั่นเอง เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ชาวบ้านเรียกท่านว่า " ตุ๊ลุงหลวง " ในช่วงเวลานั้นยังไม่มีชาวบ้านมาอยุ่อาศัยมากนัก ยังคงอาศัย เหล่ามูลศรัทธา มาจาก วัดน้ำคือ จากบ้านทุ่งต้อม บ้านหัวข่วง มาทำบุญที่วัด ชัยมงคลโป่งจ๊าง แห่งนี้ ต่อมามีประชนชาชน ทยอยมาจับจองที่ดินอาศัยเพิ่มมากขึ้น จนกระทั่งมีถึง ๔๐๐ กว่าครัวเรือน ที่เป็นศรัทธาวัด เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๑ ศาสนสถาน ภายในวัดเริ่มชำรุด ทรุดโทรม ประกอบกับ มีชาวบ้านมูลศรัทธา ที่มีกำลังทรัพย์มาเป็นโยมอุปถัมภ์มากขึ้น จึงได้ชักชวนให้ทำการก่อสร้างถาวรวัตถุให้มีสภาพที่มั่นคงแข็งแรงกว่าแต่ ก่อน เพราะ ของเดิมเป็นเครื่องไม้ที่ชำรุดลง ประกอบกับ ท่านพระธรรมธรรินต๋า มีสายเลือดช่างในตัว จึงทำการควบคุมการก่อสร้างเองทั้งหมด รวมถึงการออกแบบพระวิหารหลวง และเคลื่อนย้ายวิหารหลังใหม่ มาสร้าง ณ.จุดที่ตั้งวิหารปัจจุบัน โดยเริ่มก่อสร้าง พระวิหารหลวงก่อน ในปี พ.ศ. ๒๔๕๑ เป็นวิหารก่ออิฐ ถือปูน เสาและเครื่องบนเป็นไม้ หลังคาแป้นเกล็ด ( ไม้สัก ) ส่วนอิฐที่ใช้ทำฐาน และ ก่อผนัง อีกทั้งกำแพงแก้ว ทั้งปวง ก้ใช้แรงงานชาวบ้าน ที่เข้ามาช่วยก่อสร้าง อิฐนี้เผาเอง ปั้นเอง ทั้งสิ้น โดยไม่มีค่าจ้างค่าอัฐใดๆ มาช่วยทำงานด้วยแรงศรัทธาอย่างแท้จริง
ระหว่างที่ดำเนินการก่อสร้างพระวิหารนั้น ท่านพระครู พระพุทธวงค์ศาจารย์ และ พระธรรมธรการินต๋า เจ้าอาวาส ได้ดำเนินการสร้างพระประธานขนาดใหญ่ ในการครั้งนั้นด้วย ๑ องค์( องค์ที่ประดิษฐานในพระวิหาร มาจนถึงทุกวันนี้ ) องค์พระประธานเป็น พระพุทธรูปศิลปแบบช่างพื้นเมืองแพร่ การก่อสร้างของวัดชัยมงคล ยังคงดำเนินก่อสร้างสิ่งต่างๆอย่างต่อเนื่อง เนื่องด้วย เจ้าอาวาสท่านเป็นช่างนักออกแบบและ ช่างก่อสร้างที่มีฝีมือเป็นเอก งานก่อสร้างในวัด ล้วนเกิดจากสติปัญญาที่ท่านได้ออกแบบ และลงแรงสร้างมาด้วยมือท่านเอง
ในปี พ.ศ. ๒๔๑๗ คณะกรรมการวัด ได้มีความเห็นว่า วิหารเดิม นี้ ทรุดโทรมมาก ไม่เป็นการปลอดภัยในการประกอบศาสนกิจ จึงขออนุมัติรื้ออาคาร สร้างใหม่ โดยให้ ครูโหล แบ่งทิศ เป็นผู้แสดง ฉันทานุมัติ ด้วยเห็นว่า ครู โหล แบ่งทิส เป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง กับวัด ชัยมงคล มากที่สุด นับตั้งแต่เคยบวชเรียน และ เป้นครูใหญ่ ที่โรงเรียน เทศบาล วัดชัยมงคล มาก่อน ครูโหล แบ่งทิศ ถูกขยั้นขยอ ขอให้เป็น แม่งานใหญ่ จึงออกปากรับช่วย แต่ต้องอาศัยแรงศรัทธาจาก ทุกคนมาช่วยกัน การดำเนินการจึงเกิดขึ้น โดยรื้อถอน วิหารหลังที่สอง ในวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๑๗ มี นาย ตั๋น คนศิลป์ ชาวบ้าน เชตวัน เป็นผู้ออกแบบสร้างวิหารหลังใหม่ ขนาดวิหาร กว้าง ๘ วา สูง ๑๐ วา ยาว ๑๖ วา ทำการวางศิลาฤกษ์ วันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๘ ดำเนินการก่อสร้าง ๗ ปี จึงแล้วเสร็จ และทำการฉลองวิหารหลังที่สาม นี้ ในวันที่ ๘ - ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๖...และดำรงเป็นวัดที่สวยงาม ท่ามกลางศาสนิกชน เข้ามาประกอบศาสนกิจ อย่างสม่ำเสมอจนทุกวันนี้...
หมายเหตุ ...ข้าพเจ้า ใช้คำว่า พระวิหาร ตามคำล้านนาที่เรียกอาคารขนาดใหญ่อันเป็นศูนย์กลางของวัด แต่เป็นที่เข้าใจว่า ในที่นี้ ก็คือ พระอุโบสถ แบบอย่างทางภาคกลาง.
โดย นาย นภสินธุ์ ภูติเศรณี
ที่มา:ประวัติ วัดชัยมงคล ตำบล ในเวียง อำเภอเมือง จังหวัด แพร่....
จาก หนังสือ อนุสรณ์ งานฉลองอุโบสถ วัดชัยมงคล ในวันที่ ๘ - ๑๑ เมษายน ๒๕๒๖
เรียบเรียง ค้นคว้าโดย...พระครูศรีมงคลชยภรณ์ เจ้าอาวาส ปัจจุบัน
ผู้อุปถัมภ์ จัดพิมพ์แจก คือ พ่อเลี้ยง พัฒน์ แม่เลี้ยง ฟองนวล ผาทอง และ คณะกรรมการ พร้อมด้วยเหล่ามูลศรัทธา วัดชัยมงคล.....

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น