วันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ผลไม้พันธ์พื้นบ้าน




     ประเทศไทยมีผลไม้ออกตลอดทั้งปีทั้งผลไม้ตามฤดูกาลและนอกฤดูกาลราคาแตกต่างไปตามความนิยมและปริมาณผลผลิตความต้องการของตลาด 
     ผลไม้พันธ์ใหม่ๆถูกปรับปรุงสายพันธ์ให้เป็นไปตามที่ตลาดต้องการ คือมีผลใหญ่สีสันสวยงาม มีน้ำหนักดี หอม น่าทาน ที่สำคัญราคาต้องดีทำให้เกษตรกรชาวสวนแห่กันปลูก เมื่อผลผลิตออกมา ล้นตลาดราคาตกต่ำส่งผลให้ขาดทุน
เกษตรกรต้องกู้เงินมาลงทุนเพิ่มหรือปลูกไม้ผลตัวอื่นทดแทน  แต่การปลูกไม้ผลนั้นต้องใช้เวลาเงินทุนและความรู้ความเชี่ยวชาญประกอบกันจึงจะได้ผลกำไร ที่สำคัญต้องดูช่องทางแนวโน้มการตลาดล่วงหน้า เช่น การบังคับให้มีผลผลิตก่อนฤดูกาลเพื่อออกสนองความต้องการโดยเพิ่มเพ็จเกจให้สวยงามเท่านี้มูลค่าของสินค้าก็จะเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว ไม้ผลพื้นเมืองก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่กำลังกลับมาเป็นที่ นิยมปัจจุบันกระแสความนิยมของผลไม้ท้องถิ่นมีความต้องการสูงขึ้น
     เนื่องจากมีรสชาติเฉพาะปริมาณผลผลิตน้อย เพราะเป็นไปตามธรรมชาติ อย่างเช่น ทุเรียน ที่ราคาลูกละหลายร้อยบาท ด้วยพื้นที่ปลูกดินแร่ธาตุดีทำให้รสชาติทุเรียนที่มีเอกลักษณ์  ต่างจากทุเรียนพันธุ์ก้านยาว,หมอนทองหรือชะนีที่วางขายตามท้องตลาดสำหรับจังหวัดแพร่นั้นสามารถปลูกผลไม้ได้หลายชนิดแต่ที่เป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับ  คือพุทธานมสด,ลางสาด,ลองก๋อง,สับปะรดห้วยหมุ่น ส่วนทุเรียนป่าแดงยังคงรู้จักในวงแคบแต่มีรสชาติลักษณะคล้ายหลงลับแลของอุตรดิตถ์ หากมีการสนับสนุนคงจะเป็นที่ต้องการของตลาด และยังมีผลไม้อีกหลายชนิดที่เริ่มหารับประทานได้ยากแล้วที่ยังมีโอกาสกลายเป็นผลไม้มีมูลค่า เช่น มะม่วงแก้วพื้นบ้านที่ลูกดก มีรสเปรี้ยว เมื่อสุกจะหอมหวานที่หลายบ้านปลูกไว้หรือมีอยู่ในสวนโดยไม่ต้องปลูกและดูแลก็ให้ผลผลิตเยอะนำมาแปรรูปได้หลากหลาย เช่น มะม่วงดอง-แช่อิ่ม-กวน-ตาก ทำได้มากมายหรือจะทำเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนก็ได้ เช่น การทำแยมบรรจุขวด,ผลไม้กระป๋อง ฯลฯ ผลไม้พื้นบ้านที่เคยปลูกไว้ตามเขียงนา ท้ายสวน มุมบ้าน จากที่เคยคิดว่าปลูกไว้รับประทานกันเองไม่ได้มีไว้จำหน่าย ไม่เคยดูแล ใส่ปุ๋ย เป็นพันธุ์พื้นบ้านที่กำลังจะหมดไปเพราะสายพันธุ์ใหม่เข้ามาแทนที่หากเกษตรกรคิดให้ดีและศึกษาช่องทางตลาด พัฒนา เพิ่มมูลค่า มะม่วงแก้ว มะขามปรี้ยว
มะเฟือง พุทธา มะยม ฯลฯ ตามรอบรั้วบ้านก็เปลี่ยนเป็นผลไม้ที่ตลาดต้องการได้



โดย นายคมสัน  หน่อคำ
083-7373307

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น