วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2561

พระยาไชยบูรณ์ (ทองอยู่ สุวรรณบาตร) ตอนที่ 1 เกิดกบฎ

พระยาไชยบูรณ์



      พระยาไชยบูรณ์ เป็นข้าหลวงกำกับราชการเมืองแพร่คนแรก เมื่อ พ.ศ. 2440 (ร.ศ. 116) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงเปลี่ยนการปกครองจากแบบเจ้าผู้ครองนครมาเป็นแบบเทศาภิบาล โดยลดอำนาจเจ้าผู้ครองนครลง และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งข้าหลวงกำกับเมืองมาช่วยราชการแผ่นดิน ที่เมืองแพร่ ซึ่งในขณะนั้นเจ้าหลวงพิริยะเทพวงศ์อุดร (น้อยเทพวงศ์) เป็นเจ้าผู้ครองนครอยู่ โดยได้โปรดเกล้าฯ ให้พระยาไชยบูรณ์ (ทองอยู่) มาเป็นข้าหลวงกำกับเมืองแพร่เป็นคนแรก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2440 เรื่อยมา 

      เมื่อปี พ.ศ. 2444(ร.ศ. 121)เกิดเหตุการณ์เงี้ยว (ไตใหญ่) ซึ่งอยู่ในบังคับอังกฤษ ได้เข้ามาอาศัยทำมาหากินอยู่ในเมืองแพร่กลุ่มหนึ่งและพวกเงี้ยวที่มาจากเชียงตุงอีกกลุ่มหนึ่ง ได้สมคบกันก่อการจลาจล และได้จับข้าหลวงกำกับราชการเมืองแพร่ (คือ พระยาไชยบูรณ์) ตำรวจ และราษฎร์ชาวไทย (ภาคกลาง) ทั้งชายหญิงและเด็กฆ่าเสียอย่างทารุณ เหตุการณ์ดังกล่าวนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม รัตนโกสินทร์ ศก 121 เวลาเช้า (ตรงกับ พ.ศ. 2445) โดยการนำของ 

      เงี้ยวพะกาหม่อม สล่าโป่ซาย จองแข่เป็นหัวหน้านำเงี้ยวประมาณ 500 คน เข้าตีโรงตำรวจนอกประตูชัย ไล่ฟันตำรวจ จนแตกตื่นหนีไปหมด โดยทันต่อสู้ไม่เพราะไม่ทันรู้ตัว มีตำรวจภูธรถูกฟัน 4 คน แต่ไม่ถึงกับเสียชีวิต ในขณะนั้นอำแดงคำภรรยาของนายร้อยตรีตาด ได้นำปืนไล่ยิงพวกโจรเงี้ยว ทำให้พวกโจรเงี้ยวโกธรแค้น จึงเอาดาบไล่ฟันอำแดงคำกับบุตรให้ตายด้วยกันทั้งคู่ แล้วก็พากันเก็บเอาอาวุธปืนของหลวง พากันเข้าไปในเมืองผ่านทางประตูชัยเข้าไป เมื่อผ่านโรงไปรษณีย์โทรเลขก็เข้ายึดทำลายเครื่องโทรเลขโทรศัพท์ และเครื่องมือสื่อสารทั้งหมดเพื่อป้องกันการแจ้งข่าว 

     ต่อมาพวกเงี้ยวได้เข้าปล้นยังบ้านพระไชยบูรณ์ ทำให้เกิดการต่อสู้ขึ้นมีบ่าวไพร่เสียชีวิต 1 รายและบาดเจ็บอีกเป็นจำนวนมาก ส่วนพระไชยบูรณ์และลูกแม่หลบหนีไปได้ พวกเงี้ยวปล้นเงินหลวงไปได้จำนวน 3,9000 บาท และได้ทำลายเอกสารทางราชการที่สำคัญเสียหายทั้งหมด แล้วจึงคุมไพร่พลเงี้ยวไปตั้งยังที่ว่าการจังหวัดแพร่ และได้แบ่งพลเงี้ยวออกเป็นกลุ่มเล็กๆ ปล้นทรัพย์สินในสถานที่ราชการต่างๆ เมื่อถึงเรือนก็ได้ทำการยึดและปล่อยนักโทษออกเป็นอิสระ นักโทษจึงเข้าสมทบกับพวกเงี้ยวและร่วมกันปล้นเพื่อเอาทรัพย์สิน และในวันเดียวกันราวบ่าย 3 โมง พวกเงี้ยวได้เข้าควบุคมตัว เจ้าหลวงพิริยะเทพวงศ์ และเจ้านายอื่นๆ มีเจ้าราชวงศ์ เจ้าบุรี เจ้าราชบุตร พระวังซ้าย พะวิไชยราชา พระคำลือ พระไชยสงคราม พระเมืองไชย ไปยังสนามที่ว่าการจังหวัดแพร่ แล้วบังคับให้เจ้าหลวงพิริยะเทพวงศ์ และเจ้านยที่จับกุมตัวไปนั้น ทำหนังสือปฏิญาณต่อกันไว้ มีใจความว่า 

1.เดิมเมื่อปี ร.ศ. 118 (พ.ศ. 2442) มีพระไชยบูรณ์ มาเป็นข้าหลวงประจำเมืองแพร่ ได้ทำการกดขี่ข่มเหงบรรดาพวกเจ้านายแลราษฎรแลพวกลูกค้า มีพม่า ต้องซู่ เงี้ยว ที่เข้ามาอาศัยแขวงเมือง ได้ความเดือดร้อนเป็นอันมาก
2. ครั้นถึงวันที่ 25 กรกฎาคม ศกนี้ (พ.ศ. 2445) มีพวกลูกค้าทั้งหลายได้คบคิดกันมาปราบปรามกำจัดพวกข้าหลวงไทยแตกหนีไปจากเมืองแล้ว
3. เจ้านายกรมการ พร้อมด้วยลูกค้า ได้พร้อมใจกันมอบบ้านเวนเมืองคืนถวายไว้กับเจ้าหลวงพิริยะเทพวงศ์ ให้เป็นเจ้าปกครองบ้านเมืองต่อไป
4. ต่อไปเมื่อหน้าถ้าบังเกิดศึกทางฝ่ายใดขึ้นมาเวลาใดก็ดี เจ้านายกรมการและลูกค้าที่มีชื่ออยู่ท้ายหนังสือนี้ ต้องช่วยกันปราบปรามข้าศึกศัตรูด้วยเต็มกำลังทั้งสองฝ่าย(ติดตามตอนที่ 2 ฉบับหน้า) 



เรียบเรียงโดย นายคมสัน  หน่อคำ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น