วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2563




น้ำบ่อ เรียบเรียงโดย นายคมสัน  หน่อคำ
น้ำเป็นปัจจัยหลักในการดำรงชีวิตของมุนษย์  ผู้คนในอดีตจะใช้น้ำจากแม่น้ำลำคลองในการอุปโภคบริโภค บางสถานที่ก็จะรองน้ำฝนไว้ใช้  และหากในละแวกที่อาศัยอยู่นั้นก็จะทำการขุดสระหรือบ่อน้ำเพื่อเอาไว้ใช้ในชีวิตประจำวัน
น้ำบ่อหรือบ่อน้ำ  สำหรับชาวล้านนา ถือว่าน้ำบ่อว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์  ก่อนจะขุดบ่อน้ำ จะให้พ่อหมอประจำหมู่บ้าน ซึ่งเป็นผู้รู้ของท้องถิ่นในด้านโหราศาสตร์ไสยศาสตร์มาช่วยดูชัยภูมิและกำหนดทิศทางว่าควรจะขุดตรงจุดไหนของบ้านจึงจะ บริเวณไหนขุดแล้วจะมีน้ำ มากสามารถใช้ได้ตลอดปี  น้ำไม่แห้งขอด  บริเวณไหนที่ขุดแล้วจะมีน้ำใสและไม่เป็นน้ำราก (น้ำสนิม มีสีแดง)

            โดยก่อนขุดน้ำบ่อพ่อหมอจะมีวิธีตรวจหาทำเลในการขุดสร้างน้ำบ่อ พ่อหมอจะตีเส้นเป็นช่อง ๆ
คล้ายตาราง  ร่างบนกระดาษก่อน  จากนั้นจึงคำนวณหาทิศทางที่เป็นมงคล เมื่อทราบทิศทางแล้วก็จะไปชี้สถานที่เหมาะสมที่ตรงตามตำราในการขุดหาน้ำบ่อ  หรือพ่อหมอบางคนจะไปตรวจหาสถานที่ในการขุดหาน้ำบ่อในเวลากลางคืน  โดยการเดินไปเดินมาในบริเวณที่จะขุดน้ำบ่อ  เมื่อเลือกได้สถานที่เหมาะสมแล้ว ก็จะปักไม้ไว้เป็นเครื่องหมาย  เคยมีหลายคนตั้งคำถามกับพ่อหมอว่า  ทราบได้อย่างไรว่าพื้นที่บริเวณไหนจะมีน้ำมาก น้ำน้อย  พ่อหมอก็บอกว่าถ้าหากเมื่อเดินผ่านสถานที่บริเวณใดแล้วเกิดความรู้สึกว่ามีกระแสความอุ่นไหลผ่าน  แสดงว่าตรงบริเวณนั้นมีน้ำมาก
              ด้วยบ่อน้ำเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ มีคุณแก่คน  ดังนั้นคนล้านนาจะห้ามนั่งบนปากบ่อ โดยเฉพาะผู้หญิง หากไปนั่ง เชื่อว่าจะทำให้น้ำในบ่อเน่าเสียได้   และห้ามถมน้ำบ่อ ถือว่าเป็นการขึดใหญ่  ไม่ดี  ผู้กระทำต้องได้รับความวิบัติ  ฉิบหาย  และอาจถึงแก่ชีวิตเลยก็ได้ และ ในทุก ๆ ปี ในวันพญาวันหรือวันขึ้นปีใหม่ คนล้านนาจะจุดประทีปบูชาตรงบริเวณบ่อน้ำ ที่ได้ให้น้ำมาใช้ในการอุปโภคบริโภค และเป็นการขอน้ำจากพระแม่ธรณีและพญานาคอีกด้วย           
ที่มา http://www.sri.cmu.ac.th/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น