วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2562

เณรน้อย วัดชัยมงคลโป่งจ้อง---2

ชัยมงคง โป่งจ๊าง มาเล่าหาเณรว่า...เป็นสมิง


      มีเรื่องเล่าที่ผู้เฒ่าแถวบ้านอยู่แถววัดชัยมงคล เล่าให้อีกว่า่ ที่วัดเคยมีเณรที่เรียนวิชาอาคมจนมีความแกร่งกล้าี ได้ลองวิชาอาคมแรงกล้าลองวิชาด้วยการแปลงร่างเป็นเสือในตอนกลางคืนและกลับคืนร่างไม่ได้จึงแก้อาถรรพ์ด้วยการกินคนรุ่งเช้าจึงสามารถกลายร่างกลับมาเป็นคนได้ แต่ทุกคืนเดือนมืดก็จะต้องแปลงเป็นเสือ แล้วออกมากินชาวบ้านแถววัดเป็นประจำทุกคืน ทำให้ชาวบ้านหวาดกลัวไม่กล้าออกบ้านในตอนกลางคืน ร้อนจนต้องหานายพรานมาจับเสือให้ได้ โดยนายพรานให้ชาวบ้่านขุดหลุมเพื่อนดักเสือ โดยเอาลูกวัวเข้าไว้ในหลุมและให้คนซุ้มดูไว้ เวลาผ่านไปแล้วคืนแล้วคืนเล่าเสือก็ไม่มาติดกลับก็ยิ่งทำให้ชาวบ้านวัดชัยมงคลร้อนใจมากยิ่งขึ้นเพราะคืนเเดือนมืดใกล้วนมาอีกรอบแล้ว. จึงประชุมและตกลงกันนำเอาแพะซึ่งเป็นสัตว์ที่มีเสียงคล้ายเด็กทารกมาไว้ในหลุม..................   

       ต่อๆๆๆๆ คืนเดือนมืดได้หวนมาอีกหน ชาวบ้านแถวละแวกวัดพากันเมื่อพบค่ำก็รีบพากันขึ้นบ้านทุกหลัง โดยชักบันไดขึ้นบนบ้านทุกหลังและเเข้านอนอย่างเร็ว ยามดึกเสียงสัตว์นานาชนิดที่ลงมากินดินโป่งดังทั่วบริเวณสักพักเสียงสัตว์เล็กสัตว์น้อยเงียบหาไป มีเพียงเสียงคำรามของเสือเท่านั้นที่ดังเท่าบริเวณ ผู้คนต่างนอนสั่นตัวความกลัว ชั่วพริบตาเดียวเสียงแพะในหลุมร้องระงมปนเสียงขยัมเหยื่อ สร้างมโนภาพแก่ผู้ที่ได้ยินเสียงต่างๆนาน ชายชะกันทั้งหลายผู้มีหน้าที่ซุ้มดักเสือพากันเห่โรไปที่หลุมดักที่ขุดไว้เพราะกลัวเสือที่ดักได้จะโดนหนีจากหลุมได้ เมื่อไปถึงหลุมก็พากันโห่ร้องเมื่อเห็นเสือโคร่งลายพาดตัวเขื่องพยายามตะกุดขึ้นจากหลุม จึงช่วยกันนำท่อนซุงมาปิดปากหลุมไว้ เพื่อไม่ให้เสือหลุดแล้ว รุ่งเช้าค่อยมาตกลงว่าจะทำอย่างไรกับเสือกินคนตัวนี้ดี.... รุ่งเช้าชาวบ้านพากันมาที่ปากหลุมที่ดักเสือได้ ต่างคนต่างพูดกันไปต่างๆนานาว่าจะทำอย่างไรกับเสือกินคนตัวนี้ดี บ้างก็ว่าให้ฆ่าทิ้งด้วยควงามโกธรแค้นด้วยจากที่ญาติพี่น้องของตน บ้างก็ว่าให้ทางการมาจัดการ บ้างก็ว่าให้ขายเสือตัวนี้เพื่อนำเงินมาสร้างวัดหรือแบ่งกัน พ่อหลวงจึงตัดปัญหาว่าให้เปิดดูเสือก่อนแล้วค่อยตกลงกัน แต่ต้องตกใจเมื่อภายในหลุมพบเพียงเณรน้อยองค์หนึ่งเท่านั้น จีวรเปื้อนไปด้วยรอยเลือดนอนขอดอยู่ก้นหลุม จึงรีบช่วยกันมาจากก้นหลุมและสอบถามว่าทำไมจึงมานอนอยู่ในหลุมได้ เณรน้อยจึงเล่าให้ชาวบ้านฝังว่า

            "เมื่อวานฉันท์ไปเยอะตกดึกจึงมีอาการปวดท้อง อยากเข้าห้องน้ำเลยเดินมาตามทางได้ยินเสียงเสือ จึงวิ่งหนีสุดชีวิตสุดท้ายนึกได้ว่าชาวบ้านได้ขุดหลุมไว้ดักเสือ และเสือตัวนี้ฉลาดไม่เข้ามาที่หลุมแน่นอนจึงตัดสินใจมาหลบอยู่ในหลุม ชาวบ้านจึงพากันปลอบเณรรู้ปนั้น แต่มีผู้ตาเฒ่าผู้คนหนึ่งได้กล่าวหาว่าเณรเป็นเสือสมิงแน่นอน จึงถามว่า้แพะที่อยู่ในหลุมหายไปไหน เณรจึงบอกว่ามันโดดหนีไปแล้ว ผู้เฒ่าจึงถามต่อว่าแล้วรอยเลือดที่ติดบนจีวรคืออะไร เณรจึงตอบว่า ได้หกล้มหลายครั้งตอนวิ่งหนี ทำให้มีบาดแผลจึงเช็ดกับจีวร เมื่อได้คำตอบเช่นนั้นก็ไม่มีข้อก้าง และกำลังจะให้เณรไปอาบน้ำ ก็มีได้มีพระรูปหนึ่งของวัดเรียกให้เณรกลั
















วัดชัยมงคลโป่งจ๊าง
ตั้งอยุ่ที่ ต. ในเวียง อ. เมือง จ. แพร่ ห่างจากสี่แยกบ้านทุ่ง อยู่ระหว่าง ถนนช่อแฮ และถนนเหมืองแดง ที่เชื่อมต่อกัน มีพื้นที่ประมาณ ๔ ไร่ ๑ งาน ๖๒ ตารางวา สำมโนครัว บ้านเลขที่ ๗๑ ถนนช่อแฮ ต. ในเวียง อ. เมือง จ. แพร่
แต่เดิม พื้นที่บริเวณที่ตั้งของวัด เป็นที่รกร้าง เป็นที่เลี้ยงโค กระบือ และช้างของชาวบ้าน เมื่อสร้างวัดขึ้นครั้งแรก ได้เรียกชื่อวัดว่า " วัดชัยมงคลโป่งจ๊าง. " ...เพราะ เป็นแหล่งที่มีดินโป่ง ซึ่งสัตว์ต่างๆชื่นชอบ รวมทั้งพวกช้างมากินดินโป่ง
ท่านพระครูพุทธวงค์ศาจารย์ ( ทองคำ พุทธวังโส ) เป็นผุ้นำในการจับจองพื้นที่และบุกเบิกแผ้วถาง บริเวณวัด ( ท่านพระครูพุทธวงค์ศาจารย์ เป็นคนชาวบ้าน สีลอ บุตรของ พญาแขก เจ้าแม่แว่นแก้ว ) ขณะที่ท่านดำรงค์ตำแหน่ง เจ้าอาวาส วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร รูปแรก ท่านได้ชักชวน พระธรรมธรการินต๋า วัดน้ำคือ ( วัดเมธังฯ) และ เหล่า ศิษญานุศิษย์ ทั้งฝ่ายบรรชิต และคฤหัสถ์มาทำการแผ้วถาง ปรับบริเวณ ในปี พ.ศ. ๒๔๓๔
แรกการก่อสร้าง วัดชัยมงคล คงสร้างวิหารแบบง่ายๆ ประหยัด ด้วยเครื่องไม้ บนส่วนฐานวิหารวัด คือ บริเวณที่เป็น หอไตร ในปัจจุบัน ( ต่อมาได้สร้างวิหารหลังใหม่ ในปี พ.ศ. ๒๔๕๑ หลังที่สอง ในบริเวณที่เป็นวิหารหลวงปัจจุบัน ซึ่งเป็นหลังที่สาม ) กำแพงล้อมรอบวัด สร้างโดยไม้ล้อมรั้ว อย่างพื้นเมือง เรียกกันว่า " ฮั้วต่างบ่อง " กุฎิ สร้างด้วยไม้ หลังคามุงแฝก ฝาไม้ขัดแตะ ส่วนตัววิหาร สร้างแบบสถาปัตยกรรมที่เรียบง่าย นับว่าเป็นวัดที่สร้างในชั้นหลังของบรรดาวัดในเวียง
เมื่อก่อสร้างสิ่งต่างๆในวัดเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง มีพระภิกษุสามเณรมาจำพรรษา เป็นที่มั่นคง จนสามารถประกอบศาสนกิจได้แล้ว ในปีพ.ศ. ๒๔๔๒ ท่านพระครู พุทธวงค์ศาจารย์ ได้แต่งตั้ง พระธรรมธรรินต๋า นั่นเอง เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ชาวบ้านเรียกท่านว่า " ตุ๊ลุงหลวง " ในช่วงเวลานั้นยังไม่มีชาวบ้านมาอยุ่อาศัยมากนัก ยังคงอาศัย เหล่ามูลศรัทธา มาจาก วัดน้ำคือ จากบ้านทุ่งต้อม บ้านหัวข่วง มาทำบุญที่วัด ชัยมงคลโป่งจ๊าง แห่งนี้ ต่อมามีประชนชาชน ทยอยมาจับจองที่ดินอาศัยเพิ่มมากขึ้น จนกระทั่งมีถึง ๔๐๐ กว่าครัวเรือน ที่เป็นศรัทธาวัด เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๑ ศาสนสถาน ภายในวัดเริ่มชำรุด ทรุดโทรม ประกอบกับ มีชาวบ้านมูลศรัทธา ที่มีกำลังทรัพย์มาเป็นโยมอุปถัมภ์มากขึ้น จึงได้ชักชวนให้ทำการก่อสร้างถาวรวัตถุให้มีสภาพที่มั่นคงแข็งแรงกว่าแต่ ก่อน เพราะ ของเดิมเป็นเครื่องไม้ที่ชำรุดลง ประกอบกับ ท่านพระธรรมธรรินต๋า มีสายเลือดช่างในตัว จึงทำการควบคุมการก่อสร้างเองทั้งหมด รวมถึงการออกแบบพระวิหารหลวง และเคลื่อนย้ายวิหารหลังใหม่ มาสร้าง ณ.จุดที่ตั้งวิหารปัจจุบัน โดยเริ่มก่อสร้าง พระวิหารหลวงก่อน ในปี พ.ศ. ๒๔๕๑ เป็นวิหารก่ออิฐ ถือปูน เสาและเครื่องบนเป็นไม้ หลังคาแป้นเกล็ด ( ไม้สัก ) ส่วนอิฐที่ใช้ทำฐาน และ ก่อผนัง อีกทั้งกำแพงแก้ว ทั้งปวง ก้ใช้แรงงานชาวบ้าน ที่เข้ามาช่วยก่อสร้าง อิฐนี้เผาเอง ปั้นเอง ทั้งสิ้น โดยไม่มีค่าจ้างค่าอัฐใดๆ มาช่วยทำงานด้วยแรงศรัทธาอย่างแท้จริง
ระหว่างที่ดำเนินการก่อสร้างพระวิหารนั้น ท่านพระครู พระพุทธวงค์ศาจารย์ และ พระธรรมธรการินต๋า เจ้าอาวาส ได้ดำเนินการสร้างพระประธานขนาดใหญ่ ในการครั้งนั้นด้วย ๑ องค์( องค์ที่ประดิษฐานในพระวิหาร มาจนถึงทุกวันนี้ ) องค์พระประธานเป็น พระพุทธรูปศิลปแบบช่างพื้นเมืองแพร่ การก่อสร้างของวัดชัยมงคล ยังคงดำเนินก่อสร้างสิ่งต่างๆอย่างต่อเนื่อง เนื่องด้วย เจ้าอาวาสท่านเป็นช่างนักออกแบบและ ช่างก่อสร้างที่มีฝีมือเป็นเอก งานก่อสร้างในวัด ล้วนเกิดจากสติปัญญาที่ท่านได้ออกแบบ และลงแรงสร้างมาด้วยมือท่านเอง
ในปี พ.ศ. ๒๔๑๗ คณะกรรมการวัด ได้มีความเห็นว่า วิหารเดิม นี้ ทรุดโทรมมาก ไม่เป็นการปลอดภัยในการประกอบศาสนกิจ จึงขออนุมัติรื้ออาคาร สร้างใหม่ โดยให้ ครูโหล แบ่งทิศ เป็นผู้แสดง ฉันทานุมัติ ด้วยเห็นว่า ครู โหล แบ่งทิส เป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง กับวัด ชัยมงคล มากที่สุด นับตั้งแต่เคยบวชเรียน และ เป้นครูใหญ่ ที่โรงเรียน เทศบาล วัดชัยมงคล มาก่อน ครูโหล แบ่งทิศ ถูกขยั้นขยอ ขอให้เป็น แม่งานใหญ่ จึงออกปากรับช่วย แต่ต้องอาศัยแรงศรัทธาจาก ทุกคนมาช่วยกัน การดำเนินการจึงเกิดขึ้น โดยรื้อถอน วิหารหลังที่สอง ในวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๑๗ มี นาย ตั๋น คนศิลป์ ชาวบ้าน เชตวัน เป็นผู้ออกแบบสร้างวิหารหลังใหม่ ขนาดวิหาร กว้าง ๘ วา สูง ๑๐ วา ยาว ๑๖ วา ทำการวางศิลาฤกษ์ วันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๘ ดำเนินการก่อสร้าง ๗ ปี จึงแล้วเสร็จ และทำการฉลองวิหารหลังที่สาม นี้ ในวันที่ ๘ - ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๖...และดำรงเป็นวัดที่สวยงาม ท่ามกลางศาสนิกชน เข้ามาประกอบศาสนกิจ อย่างสม่ำเสมอจนทุกวันนี้...
หมายเหตุ ...ข้าพเจ้า ใช้คำว่า พระวิหาร ตามคำล้านนาที่เรียกอาคารขนาดใหญ่อันเป็นศูนย์กลางของวัด แต่เป็นที่เข้าใจว่า ในที่นี้ ก็คือ พระอุโบสถ แบบอย่างทางภาคกลาง.
โดย นาย นภสินธุ์ ภูติเศรณี
ที่มา:ประวัติ วัดชัยมงคล ตำบล ในเวียง อำเภอเมือง จังหวัด แพร่....
จาก หนังสือ อนุสรณ์ งานฉลองอุโบสถ วัดชัยมงคล ในวันที่ ๘ - ๑๑ เมษายน ๒๕๒๖
เรียบเรียง ค้นคว้าโดย...พระครูศรีมงคลชยภรณ์ เจ้าอาวาส ปัจจุบัน
ผู้อุปถัมภ์ จัดพิมพ์แจก คือ พ่อเลี้ยง พัฒน์ แม่เลี้ยง ฟองนวล ผาทอง และ คณะกรรมการ พร้อมด้วยเหล่ามูลศรัทธา วัดชัยมงคล.....

วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2562

“ผีป้กกะโหล้ง” ผีผู้ปกปักรักษาขุนเขาป่าดอย




     ชาวเหนือหรือชาวล้านนาส่วนใหญ่ใช้ชีวิตอาศัยอยู่ท่ามกลางป่าเขาดงดอย ทำมาหากินอยู่กับธรรมชาติ เครื่องมือเครื่องใช้ก็เป็นสิ่งที่อยู่ในธรรมชาติ เช่น กะโหล้ง(กะลา)นำมาเป็นภาชนะใส่อาหาร


     การกินไปตามเรื่องตามราว แม้สิ้นชีวิตไปแล้วอารมณ์ที่แฝงด้วยความรักในธรรมชาติ หวงแหนผืนป่า

ด้วยจิตวิญญาณที่ผูกพันระหว่างป่ากับมนุษย์ ที่ตั้งแต่กำเนิดขึ้นมาจวบจนร่างกายสิ้นลมหายใจซากศพก็ถูกฝังในผืนแผ่นดินแห่งป่า ทำให้จิตวิญญาณยังว่ายเวียนเป็นผีเฝ้ารักษาป่าตามกรรมเวรที่กระทำไว้ในยามมีชีวิตอยู่เป็นคน

      เมื่อมีใครเข้ามาในป่า ได้ทำร้ายสัตว์ป่า ไล่ล่าเอาชีวิตในป่าหรือกระทำอันเป็นลุกล้ำทำลายต้นไม้ ทำลายของมีค่าในป่า ผีตัวนี้จะใช้กะโหล้งเป็นอาวุธไล่ล่าเอาชีวิตผู้คนที่ทำลายป่าเพื่อเป็นการลงโทษ ดังนั้นผู้คนสมัยก่อนจะเข้าป่าต้องระวังอย่างมาก โดยเฉพาะหากได้ยินเสียงร้องดังแว่วไกลๆว่า........."ป้ก..กะโหล้ง......ป้กกะโหล้ง.......ผู้ที่ได้ยินต้องรีบเอาดุ้นหลัวสุด(ฟืนซากไฟ)มาเสกด้วยพระคาถาปู่เส็ดค่ำลัวะแล้วเตรียมตัวขว้างดุ้นหลัวสุดเข้าใส่ไล่มัน โดยรูปร่างของผีป้กกะโหล้งจะเหมือนคน มรุงรังเข้ามาหานั่นแหละให้รีบขว้างใส่ทันที ผีโป๊กกะโหล้งเป็นผีล้านนาโบราณ เป็นผีป่ามีหน้าตาประหลาดมาก บางตัวมีตาเดียว ขาเดียว สอง แขน วิ่งได้ไวมาก อาศัยในป่าเขาหรือทุ่งนา ส่งเสียงร้อง โป๊กกะโหล้งๆๆ เคยมีคนเห็นผีโป๊กกะโหล้ง ในขณะที่นอนเฝ้าห้างโต้ง(กระต๊อบกลางทุ่งนา) ผีโป๊กกะโหล้งสามารถแปลงกายได้และบางตัวจะมีพิณเปี๊ยะ(เครื่องดนตรีทางภาคเหนือ)

     ผีป้กกะโหล้งเกิดจากชาวเขาชาวดอยที่รักและห่วงธรรมชาติมาก เมื่อตายไปจะเกิดเป็นผีป๊กกระโหล่ง คอยดูแลผืนป่าหากมนุษย์ไปทำลายป่า ตัดไม้ทำลายป่า ฆ่าสัตว์ป่า ผีตนนี้จะปรากฏตัวขึ้นมาและทำร้ายคนทันที เหมือนเป็นการสร้างจิตสำนึกให้กับผู้คนให้รักป่ารักษาและดูแลทรัพยากรณ์ธรรมชาติให้มากขึ้น

ที่มา https://sites.google.com/site/tumnanpeethai

ผีกะ ล้านนา



     ผีกะเป็นผีพื้นบ้านทางภาคเหนือ ชื่อผีตัวนี้มาจากมารยาทบนโต๊ะอาหาร เพราะผีกะใช้ช้อนส้อมไม่เป็น แต่จะใช้มือขย้ำอาหารยัดใส่ปากอย่างตะกละตะกราม เลยเรียกสั้นๆว่า "ผีกะ" มีลักษณะคล้ายผีปอบคือชอบเข้าสิงคนและชอบกินของสดของคาว ชาวล้านนาเชื่อกันว่าผีกะไม่จำเป็นต้องเป็นวิญญาณเสมอไป บางทีคนเป็นๆ ก็เป็นผีกะได้ ถ้าเผลอไปหลับนอนกับผู้หญิงที่เป็นผีกะ หรือกินข้าวร่วมกับคนที่เป็นผีกะครบเจ็ดไห คนที่เลี้ยงผีจะต้องเซ่นสังเวยด้วยเนื้อสัตว์ดิบๆ ทุกวันที่กำหนดถึงจะสามารถใช้ประโยชน์จากผีกะได้ แต่ถ้าเลี้ยงไม่ดีปล่อยให้ผีกะอดๆ อยากๆ มันจะเข้าสิงคนเลี้ยงทำให้กลายเป็นครึ่งคนครึ่งผี ต้องออกไปจับคนมาแหวะท้องกินตับไตไส้พุงในตอนกลางคืน


     ผีกะมีหลายชนิด ชนิดที่เรียกว่าผีกะพระ-นาง เป็นผีที่นักแสดงทางเหนือนิยมเลี้ยงกันมากที่สุด เพราะเชื่อกันว่าต่อให้เจ้าของหน้าตาดี แต่ถ้าเลี้ยงผีกะไว้ในตอนกลางคืนมันจะออกมาเลียหน้าทำให้คนเลี้ยงสวยหล่อ และยิ่งดึกเท่าไรก็ยิ่งสวยมากขึ้นเท่านั้น แต่ความสวยหล่อจะมาเฉพาะตอนกลางคืน จากคำบอกเล่า เรื่องผีกะ เป็นคนประเภทหนึ่ง ที่เป็นโรคจิตระดับต่ำถึงปานกลาง ถ้ารุนแรงจะเรียกว่า ปอบ

ผีกะเป็นผีล้านนาแท้ๆ ผีกะจะสิงอยู่ในคน คนที่ถูกผีกะสิงจะทำตัวไม่เหมือนคนอื่นทั่วไป ผีกะมีหลายประเภท และระดับความแข็งแกร่งของผีกะถ้ามากๆ ก็จะมีการเรียกชื่อเฉพาะ สำหรับผู้ที่ถูกผีกะสิงนั้น จะเต็มใจให้สิง หรือไม่เต็มใจให้สิง ก็ตามแต่ผู้ที่ถูกผีกะสิงจะมีนิสัยผีกะเหมือนกัน สันนิษฐานว่าผีกะ มาจากคำสองคำคือ ผี + ตะกะ ตะกะที่หมายความว่ากินมากอย่างไม่รู้จักพอ กินทุกอย่างที่ขวางหน้า ยิ่งของที่ชอบจะกินเยอะเป็นพิเศษและทำทุกวิถีทางให้ได้กิน ดังนั้นผีกะจึงเป็นผีที่สิงอยู่ในคนที่กินเยอะมาก เยอะกว่าที่คนธรรมดาเขากิน สำหรับผีกะที่ชั่วร้ายหรือผีกะที่ค่อนข้างไม่ดีมักจะชอบกินอาหารที่พิสดารยิ่งกว่าอาหารพิสดารทั่วไป เช่นของดิบ ของคาวสดๆ ยิ่งเป็นๆยังไม่ตายได้ยิ่งดี ส่วนผีกะอีกพวกเป็นการยินย่อมของคนที่ให้ผีกะสิงเป็นที่อยู่อาศัย
     แต่สำหรับคนที่เลี้ยงผีกะ จะมีสองแบบคือ ยินยอมให้ผีกะสิง กับไม่ยินย่อมให้ผีกะสิง สำหรับคนที่เลี้ยงผีกะทั้งสองแบบนี้จะต้องมีคาถาอาคมกำกับ ผีกะจะกูกนำไปใส่ไว้ในหม้อดิน มีผ้าขาวปิดเป็นฝา เก็บไว้บนเสาบ้าน บนเพดานบ้าน บนคานบ้าน และจะต้องเลี้ยงเซ่นด้วยไข่ดิบ(นิยมไข่ไก่)วันละหนึ่งฟองโดยจะใส่ไว้ในหม้อดินเป็นประจำ และเปลี่ยนเอาไข่กลวง ซึ่งถูกผีกะเจาะกินไปทิ้ง ผีกะที่อยู่ในหม้อดินจะสิงอยู่ในสิ่งมีชีวิตที่ยังโตไม่เต็มที่เช่น หนอน ลูกนกน้อยที่ขนไม่ขึ้น ลูกหนูที่ตายังไม่ปลิเปิด ถ้าวันใดลืมเลี้ยง หรือมีใครเอาลงมาฆ่า นั่นหมายถึงชีวิตของคนในบ้าน และผู้เลี้ยงผีกะ สำหรับผีกะที่มีคุณก็มี ที่เรียกกันว่า ผีกะพระ-นาง เป็นการนำมาใช้ในการแสดง ไม่ว่าจะเป็นลิเก นักร้องนักดนตรี ผีกะชนิดนี้จะมีลักษณะเหมือนลิง คล้ายวอกคล้ายค่างตัวเล็กๆสองตัวนั่งบนบ่าของคนเลี้ยง คุณประโยชน์ของผีกะชนิดนี้คือ ไม่ว่าคนเลี้ยงจะหน้าตาขี้เหร่ อัปลักษณ์ขนาดไหน ถ้าตกกลางคืนผีกะจะเลียหน้าคนเลี้ยง ทำให้หน้าตาสวยขึ้น หล่อขึ้น ยิ่งดึกมากก็ยิ่งหน้าตาดีมาก การเลี้ยงผีกะจึงถือได้ว่าเป็นแฟชั่นของนักแสดงภาคเหนือ ผีกะมีคุณอนันต์แต่ก็มีโทษมหันต์ หากใครเลี้ยงไม่ดี ปล่อยให้ผีกะอดๆอยากๆ มันก็จะทำให้เจ้าของกลายสภาพเป็นกึ่งคนกึ่งภูติ ชอบสิงสู่ชาวบ้านกินตับไตไส้พุง จนกลายเป็นเรื่องเดือนร้อนของชาวบ้านที่ต้องหาหมอผีหรือพระมาปราบผีกะ

ที่มา วิกีพีเดีย, http://www.openbase.in.th, lanna blog

กบกินเดือน



      เมื่อเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาหรือ “กบกินเดือน” ชาวล้านนาก็จะนำไม้มาเคาะกับกะลา สังกะสี กระป๋องต่างๆหรือปี๊ป ให้เกิดเสียงดังรัวๆๆๆ เพื่อจะให้กบที่กำลังกินเดือนอยู่นั้นตกใจและปล่อยเดือนให้ส่องแสงนวลตามเดิม คนเฒ่าคนแก่ก็จะคดข้าวเหนียวมาปั้นแล้วคลุกกับเขม่าไฟให้ดำ มีกล้วยสุกและอ้อย นั่งอธิษฐานแล้วเอาวางไว้ข้างๆก้อนเส้าในครัว เพื่อบูชาปู่ดำ ย่าดำ ให้ทุกคนในบ้านอยู่เย็นเป็นสุข ขณะที่ลูกเด็กเล็กแดงก็จะสนุกไปกับการตีเกราะและบีบตุ๊กตายางให้มีเสียงดังแป๊บๆๆๆๆๆๆ และบ้านไหนที่มีต้นขนุนก็จะเอามีดมาสับต้นขนุนดังสวบสาบ และพูดว่าออกหน่วยเยอะๆ ตามความเชื่อหรือนิทานที่ชาวล้านนาเล่าขานสืบต่อกันมาว่า


        สมัยอดีตกาลอันไกลโพ้น มีครอบครัวหนึ่ง ตั้งบ้านเรือนอยู่นอกเมือง ครอบครัวนี้มีอยู่ด้วยกัน 4 คน คือ พ่อ แม่ ลูกสาวสองคน ในสมัยนั้นถ้าครอบครัวไหนมีลูกสาวก็จะได้รับการอบรมเรื่อง ภายในบ้านเกี่ยวกับการเป็นแม่บ้านที่ดี เช่น การจัดการบ้านการเรือน ความประพฤติ กิริยามารยาท ตลอดจนการทำอาหาร จนที่สุดทั้งสองคนก็สามารถที่จะทำเรื่องต่างๆเหล่านั้นได้อย่างชำนาญ

        วันหนึ่ง พ่อแม่บอกให้ลูกสาวทั้งสองคนไปทำอาหารเพื่อจะได้ทดสอบดูฝีมือ ทั้งสองคนก็เข้าไปในครัวแล้วช่วยกันทำอาหารจนเสร็จ แล้วทดลองชิมดูรสอาหารของกันและกัน แต่ว่ารสอาหารที่ทำนั้นไม่ถูกปากซึ่งกันและกัน ทั้งสองจึงโต้เถียงกันจนอดกลั้นไม่ไหว พี่สาวจึงเอาป้าก (ทัพพี) ฟาดหน้าน้องสาว ส่วนน้องสาวก็เอาสาก (ไม้ตีพริก) ฟาดหน้าพี่สาวของตัวเอง ต่อสู้กันจนตายคาที่

     เมื่อทั้งสองตายไป ยมบาลได้นำเอาวิญญาณไปพิพากษาและตัดสินว่า “ทั้งสองนี้ได้ทำการอันน่าบัดสีมาก สมควรจะได้ตกนรกทั้ง 7 ชั้น” เมื่อตกนรกไปแล้วก็ให้คนพี่ไปเกิดเป็นเดือน/ตะวัน ส่วนคนน้องไปเกิดเป็นกบ เมื่อทั้งสองไปเกิดแล้ว ก็ยังอาฆาตกันอยู่อีก เมื่อใดที่ได้มีโอกาสพบกันเข้าอีก ความอาฆาตแค้นก็เกิดขึ้น คนน้องจึงได้อ้าปากคาบเดือน/ตะวัน คนพี่ไว้ในปาก ฝ่ายชาวบ้านชาวเมืองเมื่อเห็นเหตุการณ์นี้เมื่อใดก็เกิดความสงสารเดือน/ตะวัน ก็จะช่วยกัน ตีเกราะ เคาะไม้ ไล่ให้กบตกใจจะได้ปล่อยเดือน/ตะวัน ออกมา

ที่มาข้อมูลจาก www.astroeducation.com, www.openbase.in.th


ท้าวทั้งสี่


     การทำพิธีขึ้นท้าวทั้งสี่ หรือ ท้าวมหาราชทั้งสี่ หรือ ท้าวจตุโลกบาล ของชาวล้านนา คือ การเซ่นไหว้ด้วยเครื่องพลีกรรม จะกระทำเมื่อมีงานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานมงคลต่าง ๆ งานทำบุญปอยหลวง และโดยเฉพาะวันปากปี๋ ช่วงประเพณีปี๋ใหม่เมืองเป็นการไหว้วอนขอให้ท้าวทั้งสี่ รวมทั้ง พญาอินตา และพระแม่ธรณี ช่วยมารักษาสถานที่แห่งนั้น ให้ผู้อยู่อาศัย สัตว์เลี้ยง และพืชผลทางการเกษตร ตลอดจนข้าวของเงินทองได้อยู่เย็นเป็นสุข และมีความเจริญรุ่งเรือง แต่ยังเป็นห่วงว่านับวันจะหายากขึ้นทุกที และเริ่มเลือนหายไป.
     ท้าวจตุโลกบาล เป็นผู้รักษาทิศทั้งสี่ ตามตำนาน ท้าวจตุโลกบาล เป็นเทพในกามาวจรภูมิ เป็นสวรรค์ชั้นแรก เรียกว่าชั้น จตุมหาราชิกา ตั้งอยู่บนเขายุคนธร สูงจากพื้นผิวโลก 46,000 โยชน์ ในสวรรค์ชั้นนี้แบ่งออกเป็น 4 ส่วน มีมหาราชทั้ง 4 องค์ ปกครองอยู่แบ่งกันเป็นส่วน ๆ ไป
-ท้าวจตุมหาราชิกา หรือ องค์อมรินทราธิราช หรือ พญาอินตา เป็นองค์ประธาน
-ท้าวธตรฐ เป็นราชาแห่งคนธรรพ์ รักษาทิศตะวันออก…
-ท้าววิรุฬหก เป็นมหาราชที่ยิ่งใหญ่ในหมู่กุมภัณฑ์ รักษาในทิศ ใต้...
-ท้าววิรูปักข์ เป็นเทวราช มีพญานาค และอสรพิษทั้งหลาย เป็นบริวาร รักษาทิศตะวันตก...
-.ท้าวเวสสุวัณ หรือ ท้าวกุเวร เป็นพระราชาธิบดี ของพญายักษ์ และภูตผีปีศาจทั้งหลาย รักษาทิศเหนือ...
      ท้าวจตุโลกบาล หรือท้าวมหาราชทั้งสี่ เกี่ยวข้องกับโลกมนุษย์ และโลกทิพย์ไปพร้อมกัน จะสำรวจผู้ดำเนินในศีลจารวัตร เช่น คนเคารพบิดามารดา สมณพราหมณ์ ผู้รักษาศีลจารวัตร หรือ ลงไปปกปักรักษา คุ้มครองดูแล บุคคลทั้งหลายที่กระทำพิธีบูชาเซ่นสรวง บุคคลผู้อัญเชิญเมื่อมีเคหสถานบ้านใหม่ หรือ บุคคลทั้งหลายที่บูชาเซ่นสรวง โดยเฉพาะในวันปากปี๋ (16 เม.ย. ) ของทุกปี เชื่อกันว่าท้าวมหาราชทั้งสี่ จะเสด็จลงมาตรวจตราดูแลรักษาในสี่ทิศของโลกนี้ ...
     สรุปได้ว่า วันสำคัญหรือวันปากปี จะขาดไม่ได้เลย จะต้องทำพิธีบูชาเซ่นสรวง พิธีที่เรียกว่า “ขึ้นท้าวตังสี่” เชื่อกันว่าเป็นวันที่ท้าวมหาราชทั้งสี่ จะเสด็จลงมาตรวจตราดูแลรักษาในสี่ทิศของโลกนี้ และอำนวยอวยพรให้มนุษย์ทั้งหลายได้อยู่เย็นเป็นสุข...ส่วนวันต่าง ๆ ที่เป็นมงคลทั้งหลาย ก่อนจะทำพิธีอะไรก็ตาม จะต้องขึ้นท้าวตังสี่ก่อน เช่น งานปอยน้อย งานปอยหลวง งานขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น เชื่อกันว่าเมื่อท้าวมหาราชตังสี่เสด็จมาแล้ว บรรดาบริวารทั้งหลายที่ไม่ดี ที่ประพฤติตนออกนอกลู่นอกทาง คิดจะกระทำอันสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าจะเป็นคนธรรพ์ นาคา กุมภัณฑ์ ยักษา ผีสางนางไม้ทั้งหลาย จะหลีกลี้หนีหายหมด ดังนั้นก่อนทำพิธีกรรมอะไรก็ตามที่สำคัญ จะต้อง “ขึ้นท้าวตังสี่” ก่อน

น้ำปู เครื่องปรุงคนเมือง



           ย่างเข้าหน้าฝน ฝนตกโปรยปรายชาวนาลงแรงปลูกดำข้าวแข่งกับเม็ดฝนที่ตกลงมาทำให้ท้องนาเขียวขจีด้วยต้นข้าวที่ชูช่อรับน้ำฝน เมื่อข้าวอายุได้ประมาณ1-2 เดือน ปูนาตัวเล็กตัวใหญ่ก็จะออกมากัดกินต้นข้าวของชาวนา จึงต้องมีการออกล่าหาปูนา วิธีการเลือกปูนา ก็พยายามจับปูขนาดตัวพอเหมาะพอดี ไม่ใหญ่เกินไป ยิ่งถ้าปูตัวใหญ่มากจะมีกากมาก และความมันของปูจะลดลง แต่ถ้าเลือกขนาดปูตัวเล็กเกิน ปูก็จะไม่มีความมัน นั่นเอง การจับปูนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ต้องออกไปทุ่งนาตอนแดดจัด แดดร้อนเท่าไหร่ ปูก็จะพากันออกมาเดินเล่นกันเยอะ ต้องใช้ความอดทนกับแดด อีกทั้งต้องใช้ความระมัดระวังเวลาเดินในนาข้าวเพื่อไม่ให้เหยียบต้นข้าวต้นน้อยๆ ที่พร้อมจะเติมโตมาเป็นต้นข้าว และออกรวงข้าวให้เราได้กินกัน              เมื่อจับปูมาแล้ว ยิ่งจับได้มากเท่าไหร่ก็หมายถึงปริมาณน้ำปูก็จะได้มากเท่านั้น เมื่อจับปูแล้วก็จะนำปูมาล้างทำความสะอาด การล้างต้องล้างเอาโคลนออกให้หมด ใช้มือลูบๆ กระดองและตัวปู ต้องใช้ความสามารถพิเศษในการล้างปูเพื่อไม่ให้โดนปูหนีบมือ เพราะแต่ละตัวเตรียมพร้อมที่จะหนีบ เมื่อล้างเสร็จต้องเตรียมใบตะไคร้  ข่า ใบฝรั่ง หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ในปริมาณที่เหมาะสมกับปู นำมาตำๆ  หรือปั่นให้เข้ากัน และให้ปูละเอียด จนเป็นน้ำ แล้วนำผ้าขาวบางมากรองเอาน้ำที่ได้จากการปั่นละเอียดของปู  กรองเอาน้ำหลายๆ รอบ จนแน่ใจว่ามันปูที่ได้จากการกรองหมดแล้ว ก็จะได้น้ำมันปู พร้อมสำหรับการนำไปต้ม
             การต้มน้ำปู ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก น้ำปูจะอร่อย หรือไม่อร่อย ก็อยู่ที่การปรุงรสชาติ และการดูแลไฟขณะเคี่ยวน้ำปู นำน้ำที่ได้จากการกรองมันปูนำมาเคี่ยวไฟ  ด้วยไฟปานกลาง ปกติก็จะใช้ฟืนในการเคี่ยว เพราะจะใช้เวลานานประมาณ 1 วันในการเคี่ยวให้แห้ง  การใช้ไฟ ก็จะไม่เร่งไฟให้แรงเกินไปเพราะจะทำให้น้ำปูไหม้และมีกลิ่นเหม็น จะใช้ไฟอ่อนๆ ค่อยๆ เคี่ยวไปเรื่อยๆ เติมไฟไปเรื่อยๆ แล้วก็เติมเครื่องปรุงรส เพื่อให้น้ำปูมีรสชาดที่อร่อย เครื่องปรุงก็จะมี พริก กระเทียม ใส่มากหรือน้อยก็ขึ้นอยุ่กับความชอบของผู้กิน เคี่ยวไปเรื่อยๆ จนน้ำมันปูกลายเป็นสีดำ เหนียวๆ  พอเริ่มเหนียวได้ที่แล้ว มีกลิ่นหอมหวนชวนรับประทาน ก็แสดงว่าการเคี่ยวน้ำปูเป็นอันสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี  ในการเคี่ยวน้ำปูนั้นต้องหาสถานที่เคี่ยวตามทุ่งนาห่างไกลจากบ้านคน ไม่ได้เป็นเคล็ดลับของความอร่อย แต่เป็นมารยาทในการเคี่ยวน้ำปู เพราะก่อนจะมีกลิ่นหอมของน้ำปู กลิ่นตอนเคี่ยวครั้งแรกจะเหม็น บางคนได้กลิ่นไม่ได้ อาจมีอาการเวียนหัว หรือ เจ็บหน้าอก ดังนั้นต้องไปหาสถานที่ในการเคี่ยวไกลจากผู้คน              เมื่อได้น้ำปูมาแล้วก็ใช้เป็นเครื่องปรุงอาหาร เช่น ยำหน่อไม้ แกงหน่อไม้ ตำส้มโอ ตำกระท้อน จะนำมะขามน้อยมาจิ้มก็แซ่บหลาย หรือจะไปหักหน่อไม้ที่แทงหน่อออกใหม่ๆรับหน้าฝนแล้วน้ำมาต้มจิ้มกับน้ำพริกน้ำปู....อร่อยอย่าบอกใคร.......น้ำปูเครื่องปรุงคนเหนือที่มาข้อมูล www.museumthailand.com, ศูนย์สนเทศภาคเหนือ สำนักห้องสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่