วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2561

คำสอนบะเก่า


สุภาษิต หมายถึง คำพูดที่ออกมา  เช่น ทำนองโวหาร สำนวน คำพังเพย โดยมีเนื้อหาความหมายที่ดี มักเป็นคำสอนสั่งสอน หรือคำเตือนใจให้ระลึกถึงอยู่เสมอ มักเป็นคำพูด อ่าน คำท่องจำที่เข้าใจเนื้อความได้ทันที่ โดยไม่ต้องแปลความหมาย สุภาษิตล้านนา คือ คำภาษิตที่ถูกแต่งโดยคนล้านนา โดยใช้ภาษาล้านนา แต่งขึ้นเพื่อใช้ในการสั่งสอนลูกหลานและคนในท้องถิ่นล้านนา ส่วนมากแต่งจากเหตุการณ์มูลเหตุต่างๆในอดีต เช่น เหตุเกิดจากธรรมชาติ,เกิดจากการละเล่น,เกิดจากการกระทำของมุนษย์-สิ่งแวดล้อม-อุบัติเหตุและการเกิดจากการผิดแผงประเพณีหรือศาสนา เป็นต้น
            ในปัจจุบันความเจริญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน วัฒนธรรมประเพณี ของชาวล้านนา คำสอน สุภาษิตล้านนาบางอย่างถูกมองว่าล้าสมัยและกำลังจะจางหายไปกับกระแสกาลเวลา ความงดงามของภาษา วาทะกรรม คำสอนที่บรรพบุรุษได้สรรค์สร้างขึ้นมานั้น เป็นเครื่องสอนให้เราสำนึกและคงอยู่กับศีลธรรม ดังนั้นขอยกเอา สุภาษิตล้านนาหรือคำสอนบะเก่ามาเตือนสติแก่ผู้อ่านทุกท่าน สักประโยค
“จะนั่งหื้อผ่อตี้ จะหนีหื้อผ่อก้น”  แปลว่า ก่อนนั่งให้ดูที่  ก่อนลุกหนีให้ดูก้น
(ตี้ = ที่ ทาง,  ผ่อ = ดู,  หนี = ลุกหนี)
ตรงกับพุทธภาษิตที่ว่า "ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ"
คนโบราณ สอนและให้ข้อเตือนจิตสะกิดใจว่า ก่อนทำอะไรนั้น "ให้ตั้งสติ"  ให้วินิจฉัยว่าอะไรเป็นอะไร เพื่อมิให้ต้อง "น้ำตาตกใน" ภายหลัง เพราะความผิดพลั้ง ไม่ระมัดระวังให้ดีก่อนลงมือทำ
โดยคำว่า "ผ่อ" นั้นหมายถึง "ให้คิด" หรือใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำตามพุทธภาษิตนั่นเอง คิด ก็หมายถึง ดูด้วยสติ  ก่อนจะนั่ง ก็ดูที่ว่ามีธุลี หรือของมีคมอยู่หรือไม่  ก่อนจะลุกไป ก็คลำก้นดูก่อนว่า มีใครแกล้งเอา "หาง" ใส่หรือเปล่า  ทางที่ดี ควร "ผ่อ" ก่อน เพื่อความไม่ประมาท ทั้งนี้มิใช่ "ระแวง" แต่เป็น "ระวัง"

ขอบคุณที่มาจาก  เว็ปไซด์เกษตรสมบูรณ์หน้า คำสอนบะเก่า และ ผะญ๋า ธรรม คำมะเก่า


โดย นายคมสัน  หน่อคำ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น