วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563

ผางลาง










 

ผางลาง คือกระดิ่งขนาดใหญ ทำด้วยโลหะลักษณะคล้ายระฆังแต่แบนแคบมีหูร้อย ด้านในจะมีลูกผางลางมัดห้อยอยู่ในโพรงกลวง ทำจากไม้ไม้ยึดพางลาง ผางลางจะวางบนหลังสัตว์ โดยการตีไม้ยึดให้ขนานกัน 2 ท่อน ตัดเส้นหวาย 2 เส้น สอดไปในรูไม้ที่เจาะไว้โน้มให้โค้งงอเท่ากับความสูงของพางลาง เส้นหวายโค้งทั้ง ๒ เส้นนี้จะขนานกับพางลางพางลางให้แน่น ใช้เชือกร้อยหูพางลางแล้วมัดกับเส้นหวายขนานกัน ใช้เชือกผูกมัดรอบตัวสัตว์แล้วกลับมามัดตัวไม้รองพางลางอีกครั้งหนึ่ง

            การใช้ผางลางพัฒนามาจากการใช้กระดิ่งแขวนคอวัว คอควาย แต่เสียงกระดิ่งจะแหลมเล็กเหมือนๆ กัน ทำให้ไม่สามารถแยกสัญญาณได้ว่า เสียงที่ดังนั้นเป็นฝูงวัว ควาย ของตนหรือไม่ การทำให้เสียงดังและเสียงใหญ่จำเป็นต้องทำโพรงเหล็ก กว้าง มีลูกตีใหญ่ เมื่อผางลางมีขนาดใหญ่ จึงไม่เหมาะที่จะใช้ผูกคอสัตว์ จึงได้นำมาวางบนหลังสัตว์แทน

ชาวบ้านและชาวเขานิยมใช้ผางลาง ต่างบนหลังวัว ม้า ลา และล่อ ในขณะต่างสิ่งของหรือบรรทุก เช่น ข้าว ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ เพื่อนำแลกเปลี่ยนซื้อขาย ซึ่งหนทางที่สัตว์เดินนั้นเป็นระยะทางไกล เดินทางกันเป็นกองคาราวาน อาจมีป่าไม้ ภูเขาสลับซับซ้อน ทำให้หลงทางและแตกขบวนได้ง่าย โดยเสียงสัญญาณของผางลางจะเป็นตัวบอกทิศทาง ให้คนเดินคุมกระบวนตามหลังมาติดตามไปได้ถูกต้อง ผางลางทำเล็กๆ ขนาดกระดิ่งผูกคอวัว คอควายก็มี แต่ใช้สำหรับลูกขบวนเพื่อให้ง่ายในการติดตามลูกขบวนที่การหลงฝูง

ในอดีตมีเล่าเรื่องเล่าว่า ผางลาง” ปกติจะมีชนิด 2 ตัว คือ ตัวผู้และตัวเมีย ตัวผู้จะใหญ่กว่าตัวเมีย ผางลาง จะมีเสียงกึกก้อง ก็ต่อเมื่อเราต้องเขย่าถึงจะมีเสียงเกิดขึ้น เสียงของผางลาง จะดังกึกก้องไปไกลเป็นกิโลเมตร อยู่ต่างหมู่บ้านก็จะได้ยิน เสียงชัดเจน เสียงของผางลาง จะกังวานไพเราะเสนาะหูกว่าเสียงของกระดิ่งวัวควายหลายเท่า ปัจจุบันเหลือให้เห็นไม่มากแล้ว

คนสมัยก่อนใช้ผางลางใน 2 กรณี คือ 1.เมื่อมีเหตุที่ทำให้เกิดความสุขและความดีงาม เช่น หลังเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว ก็จะนำผางลางมาเขย่าให้เกิดเสียงดัง เพื่อประกาศ ให้คนทั่วไปทั้งในหมู่บ้านและบ้านใกล้เรือนเคียงได้ทราบว่าเก็บเกี่ยวข้าว เสร็จแล้วและข้าวอุดมสมบูรณ์ดี และเป็นการขอบคุณเทวดาหรือขอบคุณดินฟ้าอากาศที่ทำให้ได้ผลผลิตมากและขอให้ปีหน้าผลผลิตข้าวอุดมสมบูรณ์เหมือนเดิมและถือเป็นการละเล่นสนุกสนานก็ได้ 2.เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่ปกติ เช่น เกิดกบกินเดือนหรือจันทรุปราคา ปกติชาวบ้านสมัยก่อนถ้ามีเหตุการณ์ไม่ปกติ เช่น กบกินเดือน ก็จะใช้วิธีตีเกราะเคาะไม้ให้เกิดเสียงดัง ตีเล้าเป็ดเล้าไก่ ตีปี๊บ และอีกอย่างหนึ่ง ถ้าหมู่บ้านไหนมีผางลาง ชาวบ้านจะนำผางลางมาเขย่าให้เกิด เสียงดังเพื่อจะไล่ให้กบคายเดือนออกมาอย่างนี้เป็นต้น

ที่มาข้อมูล http://www.hugchiangkham.com, http://www.openbase.in.th/node/7174

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น