วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563

แกงฮังเล



    อีกไม่กี่วันนี้ก็จะมีวันพระใหญ่ที่พวกเราชวนพุทธให้ความสำคัญในการทำบุญเป็นอย่างมาก นั้นก็คือวันอาสาฬหบูชา( 5 ก.ค.2563)และวันเข้าพรรษา(6 ก.ค. 2563) ซึ่งเป็นวันหยุดยาว ถึง 4 วัน หลายท่านได้หยุดพักผ่อนและก็ตั้งใจจะไปวัด เพื่อตานขันข้าว(ถวายเพล)เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษและเจ้ากรรมนายเวร ซึ่งในวันนั้นที่วัดก็จะมีกับข้าวมากมายเต็มโรงครัวของวัด พระฉันท์ก็ไม่หมด แม้จะแจกจ่ายให้ชาวบ้านไปก็ยังเหลืออีกมาก ถ้าทิ้งไว้ก็จะเน่าเสียเปล่าประโยชน์ จึงนำมาทำแกงโฮ๊ะ เพื่อไว้รับประทานได้นานๆ และวัตถุดิบหลักของแกงโฮ๊ะนั้นก็คือ พระเอกอย่างแกงฮังเลเกริ่นซะยืดยาวกลับมาเข้าเรื่องหลักดีกว่า ใครทราบบ้างว่าแกงฮังเลมีประวัติความเป็นมาอย่างไร….

แกงฮังเล มี 2 ชนิด คือ แกงฮังเลม่าน และ แกงฮังเลเชียงแสน เชื่อกันว่าเป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลมาจากพม่า สำหรับแกงฮังเลเชียงแสนจะแตกต่างตรงที่มีถั่วฝักยาว มะเขือยาว พริกสด หน่อไม้ดอง งาขาวคั่ว เพิ่มเข้ามา ใช้เป็นส่วนผสมของแกงโฮะ จากการศึกษาของอุบลรัตน์ พันธุมินทร์ จากแหล่งข้อมูลพุกาม พบว่าแกงที่ชาวพม่าเรียกว่า ฮินแลหรือฮังแลนั้นเป็นแกงอย่างเดียวกับที่ชาวล้านนาเรียกว่าแกงโฮะส่วนแกงอย่างที่ชาวล้านนาเรียกฮินแลหรือฮังแลซึ่งต่อมาเพี้ยนเป็นฮังเลซึ่งชาวพม่าเรียกแวะตาฮีนซึ่งแปลว่าแกงหมู แกงฮังเลม่าน มีเครื่องปรุงได้แก่ เนื้อหมูสามชั้นติดมัน หรือกระดูกซี่โครงบ้างปนกัน ขิงหั่นเป็นฝอย มะขามเปียก กระเทียมดองแกะเป็นกลีบ ถั่วลิสงคั่วกะเทาะเปลือกแล้ว พริกแห้ง เกลือ กะปิ ข่า ขมิ้น ตะไคร้ หอม กระเทียม น้ำตาลหรือน้ำอ้อยและผงแกงฮังเล 

ขั้นตอนการแกง คือนำพริกแห้ง เกลือ ขมิ้น กะปิ หอม กระเทียม ข่า ตะไคร้ โขลกรวมกันเป็นเครื่องแกง เนื้อหมูหั่นเป็นชิ้นขนาดใหญ่กว่าหั่นใส่แกง นำมาคลุกเคล้าให้เข้ากับเครื่องแกงที่เตรียมไว้และผงแกงฮังเลหมักทิ้งไว้ ประมาณ 30 นาที แล้วนำใส่หม้อขึ้นตั้งไฟจนเดือด อาจเติมน้ำลงไปเล็กน้อยหรือบางสูตรจะนำไปผัดก่อนแล้วเติมน้ำอีกเล็กน้อย เคี่ยวจนเปื่อยจนเหลือน้ำขลุกขลิก จากนั้นนำมะขามเปียก ถั่วลิสง ขิง เติมลงไป ถ้าชอบหวานก็ใส่น้ำตาลหรือน้ำอ้อยลงไปด้วย แกงฮังเลที่ได้จะมีสีน้ำตาลแดง เนื้อหมูเปื่อยนุ่ม มีน้ำขลุกขลิก รสไม่จัด อมเปรี้ยว เค็มนำ รสเผ็ดตาม แต่แกงฮังเลเชียงแสน แตกต่างจากแกงฮังเลม่านตรงที่ใส่ถั่วฝักยาว มะเขือยาว พริกสด หน่อไม้ส้ม (หน่อไม้ดองเปรี้ยว) และงาขาวคั่ว เพิ่มเข้ามา มีขั้นตอนการปรุงเช่นเดียวกับแกงฮังเลม่าน แต่ในขณะเคี่ยวแกงนั้นจะใส่หน่อไม้ส้ม เมื่อจวนจะยกลงก็ใส่ถั่วฝักยาว มะเขือยาว และพริกสด ก่อนยกลงใส่น้ำมะขามเปียก ขิง และงาดำคั่ว บางสูตรจะต้มกับหน่อไม้ดองรวม กันก่อนและจึงใส่เครื่องแกงและเครื่องปรุงอื่น ๆ ตามลำดับ เครื่องแกงฮังเลบางแห่งนิยมใส่เม็ดผักชีหรือรากผักชี และกระชายด้วย….. 

ชอบคุณที่มาข้อมูลจาก วีกีพีเดีย,ศูนย์ข้อมูลวัฒนธรรมล้านนามหาวิทยาลัยเชียงใหม่


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น