วันเสาร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2561

ตำนานพระธาตุจอมแจ้ง ตอนที่ 1 (พระเกศาธาตุ)




       วัดพระธาตุจอมแจ้ง เดิมชื่อว่าวัดพระธาตุจวนแจ้ง เนื่องจากสมัยที่พระพุทธองค์เสด็จถึงสถานที่แห่งนี้เป็นเวลาใกล้สว่างพอดี ต่อมาเรียกเพี้ยนเป็น “วัดพระธาตุจอมแจ้ง” ซึ่งตั้งอยู่บริเวณเนินเขาใกล้กับพระธาตุช่อแฮ เป็นพระธาตุที่มีรูปทรงคล้ายกับพระธาตุช่อแฮ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1331 แต่ไม่ปรากฏชื่อผู้สร้าง โดยมีตำนานเล่าสืบต่อกันมาว่า เมื่อครั้งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จเพื่อโปรดสัตว์โลก พระพุทธองค์ทรงพักอยู่บนภูเขาลูกหนึ่งที่ตั้งอยู่โดดเดี่ยว ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือแห่งภูเขาลูกที่พระองค์ทรงวางบาตรไว้นั้นเวลานั้นเป็นเวลาจวนสว่างแจ้งพอดีพระพุทธองค์ทอดพระเนตรไปดูน้ำทางไหนก็ไม่มีเพื่อจะเอามาล้างพระพักตร์(หน้า)พระพุทธองค์จึงได้ทรงอธิษฐานเอาน้ำได้ใช้พระหัตถ์เบื้องขวาเจาะบ่อลงไปยอดภูเขาลูกนี้ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธองค์อธิษฐานน้ำใสสะอาดบริสุทธิ์จึงได้อุบัติขึ้นมาในบ่อนั้นเพื่อให้พระพุทธองค์ได้ใช้ต่อไปบ่อน้ำนั้นยังปรากฎอยู่อยู่ตราบเท่าทุกวันนี้(ปัจจุบันเรียกว่าบ่อน้ำทิพย์)

       ซึ่งในบริเวณนั้นสองตายายผู้ยากจนทำไร่ปลูกเผือกมันเลี้ยงชีวิตของตน พระพุทธองค์จึงได้ตรัสถามสองตายายว่าสถานที่นี้คงจะมีถ้ำอยู่ไม ทั้งสองจึงตอบว่ามีถ้ำอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของภูเขาลูกนี้ และอยากจะถวายอาหารบิณฑบาตแต่พระพุทธองค์ แต่เพราะทั้งคู่เป็นคนยากจนไม่มีข้าวที่จะมาถวายบิณฑบาตรแด่พระพุทธองค์ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้นตาจึงบอกให้นยายไปขุดเอาหัวมันในไร่มาถวายแด่พระพุทธองค์ เมื่อพระพุทธองค์รับและฉันหัวมันเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ทรงอนุโมทนาและเทศนาธรรมให้ฟัง หลังจากฟังธรรมแล้วสองตายาย กราบและกล่าวกับพระพุทธองค์ว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าสถานที่นี้ แห้งแล้งฟ้าฝนก็ไม่ตกต้องตามฤดู ส้รางความเดือดร้อนแก่ชาวบ้านอย่างมาก พืชพันธุ์ธัญญาหารก็เหี่ยวแห้งตายไปแทบจะไม่มีเหลือ พระพุทธองค์จึงถามว่า “บัดนี้เป็นเดือนอะไร” สองตายายจึงตอบว่าเป็นเดือน 6 ขึ้น15 ค่ำปีจอ ขณะนั้นก็อยู่บนภูเขาที่นี้มองดูสว่างไสวสมควรจะตั้งเป็นศาสาไว้พระองค์จึงแย้มพระโอษฐ์เจรจากับพระอานนท์ผู้เป็นพุทธอุปฐากว่า “ดูก่อนอานนท์สถานที่นี้เป็นที่รื่นรมย์ยินดีมาก สมควรเป็นที่ตั้งแห่งพระศาสนาของตถาคตต่อไปอีกแห่งหนึ่ง”

       เมื่อพระอานนท์เถระได้ยินพุทธดำรัสเช่นนี้นแล้วก็กราบทูลขอพระเกศาธาตุกับพระองค์ว่า “ข้าแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เห็นกาลไกลตามพุทธวิสัยในอนาคตเบื้องหน้าขอพระพุทธองค์จงได้ทรงพระมหากรุณาประทานพระเกศาธาตุสถาปนาไว้ในที่นี้เพื่อเป็นที่กราบไหว้สักการะบูชาแก่เทวาและมนุษย์ทั้งหลายต่อไป พระพุทธองค์ทรงยกพระหัตถ์เบื้องขวาขึ้นลูบบนพระเศียรก็ได้พระเกศาสองเส้น เอายื่นให้พระอานนท์ผู้เป็นพุทธอุปฐากพระอานนท์ก็น้อมรับเอาด้วยกระบอกไม้รวกแล้วก็ส่งให้ท้าวโกสีย์เทวราช(คือพระอินทร์)ท้าวโกสีย์เทวราชก็เนรมิตรกระอูปทองคำใบหนึ่งใหญ่ประมาณ ๗ กำมือใส่พระเกศาธาตุแล้วก็เนรมิตปราสาทหลังหนึ่งบรรจุพระเกศาธาตุและปราสาทลงไว้ที่นั้นภายหลังก็ทำการก่อพระเจดีย์ครอบไว้ และให้เทวดาอารักษ์ดูแลสถานที่ให้อุดมสมบูรณ์ต่อไป ซึ่งสถานที่แห่งนี้ก็คือวัดพระธาตุจอมแจ้งในปัจจุบัน(สถานที่สมมติ /ติดตามอ่านต่อฉบับหน้า)

ขอบคุณรูปภาพและข้อมูลจาก สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดแพร่,สำนักงานจังหวัดแพร่,เว็ปไซด์วังฟ่อน

เรียบเรียงโดย นายคมสัน   หน่อคำ 083-7373307

วันเสาร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2561

ของกิ๋น ของลำเมืองแป้



     เรื่องกินเรื่องใหญ่ หลายท่านหลายคน มีห่วงเวลาแห่งความสุขในการท่องเที่ยวโดยเก็บความทรงจำไว้กับภาพถ่ายและของฝาก แต่ลือเรื่องปากท้องไป โดยลืมว่าการท่องเที่ยวนั้นอยู่กับการกิน เพราะกองทัพต้องเดินด้วยเท้า หรือพูดง่ายๆว่า ถ้าท่านท่องเที่ยวด้วยท้องที่หิวคงไม่สนุกและจะจดคำเรื่องราวของเมืองแพร่ได้แค่เพียงลงรถแล้วถ่ายรูปไปอวดเพื่อนฝูง และได้รู้จักว่าได้ว่าเคยมาเยือนจังหวัดเมืองแพร่แล้ว ได้ถ่ายรูปแพะเมืองผี ได้นมัสการพระธาตุช่อแฮ แค่นี้คงพอและจบด้วยช็อปผ้าหม้อห่อมโด่งดังด้วยคุณภาพผ้าสีน้ำเงินที่ยิ่งซืดก็ยิ่งสวยหรือสีน้ำเงินครามอันเข้ม อันจดจำที่ผ้าตกสuติดผิวให้ด้รู้ว่าของแท้ต้องสีตกเป็นธรรมดา(ผ้าหม้อห้อมต้องแช่น้ำเกลือก่อนเพื่อไม่ใหสีตก) เนื่องจากย้อมจากวิธีธรรมชาติดั้งเดิม หรือจะไปเลือกซื้อเครื่องเงินของเก่าที่หมู่บ้านโปร่งสี หมู่บ้านอีกแห่งที่ชาวบ้านรวมรวม เก็บสะสมของเก่า ที่หาได้ยากอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย แต่เราต้องกลับสู่ความหิว เริ่มต้องไหนดี ขออนุญาตเริ่มต้นที่ชุมชนบ้านถิ่น เดินแดนไทลื้อกับหน่อโอ่ หน่อไม้หมักที่กินกันพริกข่า ที่ใครได้ชิมรสแล้วลืมไม่ลง

     หลุดคอนเซ็ปไปหน่อย ว่าบทความนี้ต้อวแนะนำเรื่องอาหารและความอร่อบ ขอกลับมาเข้าเรื่องอาหารการกิน เมืองแพร่ก็มีของกินหลากหลายอย่างให้ได้กินได้ชิม กินแล้วลืมไม่ลง อันดับแรก ขอนำเสนอกับขนมจีนเส้นน้ำใส หรือที่เรียกว่าขนมจีนน้ำหมู กับน้ำปรุงกระดูกหมูต้มคั้วจนงวดหวานที่ด้วยเตาถ่าน ปรุงรสรากผักชี พริกไทย ใส่เลือดหมู หมูสับ และถ้าจะให้น้ำเข้มข้นก็ต้องเคี่ยวกระดูกไปเรื่อยๆ เคี้ยวด้วยไฟอ่อนๆ ตักฟองออกเรื่อยๆ ปรุงรสตามสูตรก้นเรือนที่แต่ละคุณย่าคุณยายจะมอบให้หลานเป็นเสน่ห์ปลายจวัก ที่คนชิมต้องของเอาน้ำใส่ถุงกลับบ้าน

     เมื่อมีขนมเส้นเมืองแป้แล้วลืมอาหารวัฒนธรรมประเพณีพื้นเพ ได้อย่างไร ““ลาบ”แป้ มะแขว่นเด้าลิ้น
ลาบอาหารที่ปัจจุบันทุกคนรู้จักไม่ว่าอีสาน เหนือ กลางใต้ ทุกคนรู้จักลาบ อาหารที่ไม่เคยแบ่ง ความอร่อยหลังจากได้ชิมและหลิ้มรส ลาบอีกเลย สับๆๆๆ ใส่ผักไผ่(ผักแผ้ว) สับๆๆลวกเครื่องใน เทใส่กะลังมัง (อย่าลืมเอาผิดลาบคั่วก่อนจะได้หมอ) เอาทุกอย่างเทรวมกัน คนๆปรุงรสแล้วแต่ชอบอย่าลืม อูมามิ ใส่แคบหมูกรอบๆเสริม ตกแต่งด้วยแต่งกวาสวยๆ กระหล่ำปลีใบสวยๆ ใบคาวตอง หญ้าลมหายใจสุนัข(ใบตดหมา) ลาบจะอร่อยไม่ลืมรส อาหารมนต์เมืองเหนือ
โดย นายคมสัน  หน่อคำ 083-7373307



วันศุกร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2561

จังหวัดแพร่เปิดศาลากลางต้อนรับเด็กๆเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ

     

     จังหวัดแพร่เปิดศาลากลางต้อนรับเด็กๆเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2561 พร้อมให้เด็กเยี่ยมชมและนั่งทำงานเซ็นหนังสือที่โต๊ะประจำตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่

      สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดแพร่รายงานว่า เช้าวันนี้(13ม.ค.61) ที่บริเวณศาลากลางจังหวัดแพร่ ทางนายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่เป็นประธานเปิดกิจกรรมเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ โดยจังหวัดแพร่ร่วมกับส่วนราชการ หน่วยงานต่างๆ ภาคเอกชน องค์กรการกุศล จัดขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชน ได้มีสถานที่ในการแสดงออกอย่างเหมาะสม เป็นการกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญของตนเอง โดยปลูกฝังให้เด็กมีส่วนร่วมในสังคม เตรียมพร้อมให้ตนเองเป็นกำลังสำคัญของชาติ พร้อมมอบของขวัญให้กับเด็กๆ และทางผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ได้เปิดห้องทำงานให้กับเด็กๆ ได้เยี่ยมชมและนั่งโต๊ะทำงานภายใต้ชื่อ อนาคตผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ โดยให้เด็กๆนั่งเซ็นหนังสือราชการ ขอความร่วมมือให้นักเรียนในโรงเรียนปฏิบัติตามคำขวัญของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ให้ไว้กับเด็กๆประจำปี 2561 ว่า "รู้คิด รู้เท่าทัน สร้างสรรค์เทคโนโลยี” เพื่อให้เด็กและเยาวชนทุกคนได้ตระหนักถึงความสำคัญของตนเองว่าเป็นทรัพยากรสำคัญของประเทศ ขอให้ตั้งใจใฝ่ศึกษาเล่าเรียน หมั่นฝึกฝนพัฒนาตนเองอยู่เสมอ พร้อมทั้งเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ รู้จักการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างสร้างสรรค์

       ทั้งนี้จังหวัดแพร่ได้กระจายการจัดกิจกรรมเนื่องในวันเด็กแห่งชาติในหลากหลายพื้นที่ทั้งภาคราชการและภาคเอกชน บริษัท ห้างร้านต่างๆ ครอบคลุมในทุกพื้นที่ 8 อำเภอ

       สำหรับประวัติความเป็นมาของวันเด็กนั้น วันเด็กแห่งชาติ ตรงกับวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคมของทุกปี มีการให้คำขวัญวันเด็กทุกปีโดยนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งในขณะนั้น งานวันเด็กแห่งชาติจัดขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม พ.ศ. 2498 ตามคำเชิญชวนของ นายวี.เอ็ม. กุลกานี ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิภาพเด็กระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ เพื่อให้ประชาชนเห็นความสำคัญและความต้องการของเด็ก และเพื่อกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญของตนเองในประเทศ โดยปลูกฝังให้เด็กมีส่วนร่วมในสังคม เตรียมพร้อมให้ตนเองเป็นกำลังของประเทศชาติ /.

ฉัตรชัย พวงขจร / ข่าว /พิมพ์
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดแพร่

เทศบาลเมืองแพร่จัดอบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะจากครัวเรือน และสร้างจิตสำนึกในการจัดการขยะ ชุมชนในเขตเทศบาล



     เทศบาลเมืองแพร่จัดอบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะจากครัวเรือน และสร้างจิตสำนึกในการจัดการขยะ ชุมชนในเขตเทศบาล ในวันที่ 10 มกราคม 2561 ตั้งแต่เวลา 08.30 น. ณ. ห้องประชุมสภา ชั้น 3 สำนักงานเทศบาลเมืองแพร่ เพื่อให้ให้ผู้นำชุมชนมีความรู้ในการคัดแยกขยะจากครัวเรือนและนำความรู้มาใช้ในการจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพ ผู้เข้าร่วม จำนวน 100 คน
     งานประชาสัมพันธ์เทศบาลเมืองแพร่ รายงานว่า การเพิ่มขึ้นของประชาชนในพื้นที่ ชุมชนเมือง ทำให้ความต้องการใช่จ่ายสินค้าและสิ่งของจำเป็นเพิ่มปริมาณมากขึ้นไปด้วย ส่งผลให้ปัญหาขยะในชุมชนเพิ่มปริมาณมากขึ้น อีกทั้งประชาชนในชุมชน ยังขาดจิตสำนึก ไม่มีการคัดแยกขยะ ทำให้ปัญหาเรื่องการจัดการขยะยากที่จะควบคุมได้แม้แต่ท้องถิ่นก็ไม่สามารถที่จะควบคุมปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้นตามประชากร เว้นแต่ผู้บริโภคจะมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะในชุมชนของตนเอง เทศบาลเมืองจัดอบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะจากครัวเรือน และสร้างจิตสำนึกในการจัดการขยะ ชุมชนในเขตเทศบาล ในวันที่ 10 มกราคม 2561 ตั้งแต่เวลา 08.30 น. ณ. ห้องประชุมสภา ชั้น 3 สำนักงานเทศบาลเมืองแพร่ มีผู้เข้าร่วม จำนวน 100 คน

จังหวัดแพร่จัดแข่งขันทำลาบพื้นเมืองแพร่ส่งเสริมการท่องเที่ยว "เที่ยวแพร่...มีแต่ลาบ" ครั้งที่ 1

    
 ภาคเอกชนจังหวัดแพร่ร่วมจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว จัดแข่งขันทำลาบพื้นเมืองแพร่ "เที่ยวแพร่...มีแต่ลาบ" ครั้งที่ 1 ชูอัตลักษณ์ด้านอาหารพื้นเมือง "ลาบแพร่" ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย เที่ยวเมืองแพร่ได้กินลาบอร่ยและได้โชคลาภกลับบ้าน

     วันนี้ (12 มกราคม 2561) เวลา 11.30 น. นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ เป็นประธานเปิดกิจกรรมแข่งขันการทำลาบพื้นเมืองแพร่ “เที่ยวแพร่...มีแต่ลาบ” ครั้งที่ 1 ซึ่งภาคเอกชนในจังหวัดแพร่ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ จัดขึ้น ณ บริเวณลานด้านหน้าโรงแรมธาริสอาร์ท ถ.ราษฎร์ดำเนิน ต.ในเวียง อ.เมืองแพร่เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ด้วยการชูอาหารพื้นเมืองจังหวัดแพร่เป็นจุดขาย มีตัวแทนจากอำเภอและหน่วยงานต่างๆ ส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขัน โดยผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ได้ปรุงลาบหมูสุกแจกให้กับสื่อมวลชนและผู้ร่วมงานได้ชิมด้วย บรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก
นายสุนทร ธัญญวัฒนกุล ประธานกรรมการบริหารโรงแรมธาริสอาร์ท กล่าวว่า จังหวัดแพร่มีอาหารพื้นเมืองที่โดดเด่นและมีชื่อเสียงเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดคือ “ลาบแพร่” และเพื่อเป็นการส่งเสริมดึงดูดให้นักท่องเที่ยวสนใจเดินทางเข้ามายังจังหวัดแพร่มากขึ้น จึงได้ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ อาทิ วิทยาลัยชุมชนแพร่ หอการค้าจังหวัดแพร่ สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดแพร่ และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) สำนักงานแพร่ จัดการแข่งขันทำลาบพื้นเมืองแพร่ “เที่ยวแพร่...มีแต่ลาบ” ครั้งที่ 1 ขึ้น โดยชื่อกิจกรรมเป็นได้ทั้ง “ลาบ” ที่หมายถึงอาหาร และ “ลาภ” ที่หมายถึงโชคลาภ ซึ่งนอกจากนักท่องเที่ยวจะได้รับประทานอาหารพื้นเมืองอร่อยๆ อย่างลาบแล้ว ยังจะได้โชคลาภกลับไปอีกด้วย

      สำหรับผลการแข่งขันปรากฏว่า ทีมจากอำเภอสอง นำโดยนายเฉลิมพล ยาโน ซึ่งเคยชนะการประกวดสุดยอดแชมป์อาหารพื้นบ้านจังหวัดแพร่ เมื่อปี 2550 คว้ารางวัลที่ 1 ไปครอง ได้รับถ้วยผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ พร้อมเงินรางวัล 5,000 บาท

ขอบคุณข่าวจาก สวท.แพร่

จังหวัดแพร่ Kick Off การรณรงค์ป้องกันปัญหาไฟป่าและหมอกควัน ประจำปี 2561

    
 จังหวัดแพร่รวมพลังทุกภาคส่วนลดปัญหาวิกฤติมลพิษหมอกควัน จัดกิจกรรม Kick Off เริ่มต้นการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน ประจำปี 2561 "รวมพลังลดเผา ลดหมอกควัน เพื่อลมหายใจคนแพร่" ระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ – 15 เมษายนนี้

       นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ได้เป็นประธานนำขบวนนักกีฬาปั่นจักรยาน “ปั่นลดไฟป่า” จากบริเวณกาดสามวัย เทศบาลเมืองแพร่ ไปยังสนามเทศบาลตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ ระยะทางประมาณ 4.7 กิโลเมตร เพื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนงดการเผาในทุกพื้นที่ ระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ – 15 เมษายน 2561 รวมประมาณ 60 วัน ซึ่งเป็นช่วงที่มักจะเกิดปัญหาวิกฤติหมอกควัน ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขอนามัยของประชาชน ตลอดจนบดบังทัศนวิสัยและส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวของจังหวัดแพร่

     จากนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ได้นำผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกาศเจตนารมณ์ “รวมพลังลดเผา ลดหมอกควัน เพื่อลมหายใจคนแพร่” เป็นการ Kick Off เริ่มต้นการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน ประจำปี 2561 พร้อมมอบสื่อประชาสัมพันธ์ให้กับนายอำเภอทั้ง 8 อำเภอเพื่อไปทำการรณรงค์ในพื้นที่

       ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ กล่าวว่า ในปี 2560 ที่ผ่านมาจังหวัดแพร่เกิดจุดความร้อน(Hot Spot) ประมาณ 200 จุด ลดลงจากปี 2559 ที่เกิดมากถึง 500 จุด และได้มีการถอดบทเรียนสรุปเป็นมาตรการต่างๆ เพื่อดำเนินการในปีนี้ ตั้งเป้าหมายที่จะลดจำนวน Hot Spot ลงให้ได้มากที่สุด โดยแบ่งพื้นที่เป็น 4 ส่วน คือ พื้นที่ป่าอนุรักษ์และป่าสงวนแห่งชาติ มีการทำแนวกันไฟ จัดชุดลาดตระเวน ทำข้อมูลจุดเสี่ยงที่เคยเกิด Hot Spot และบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

       ส่วนพื้นที่การเกษตรจะมีการให้ความรู้ในการจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ไถกลบ หรือทำปุ๋ยหมัก จับเข่าคุย เคาะประตูบ้านสร้างความเข้าใจ ด้านพื้นที่ในเขตทางจะมีชุดลาดตระเวนของแขวงทางหลวงแพร่ แขวงทางหลวงชนบทแพร่ และอาสาสมัครของท้องถิ่นช่วยแจ้งข่าวและเข้าดำเนินการดับไฟเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากหมอกควันที่บดบังทัศนวิสัย และในพื้นที่ชุมชน จะมีการให้ความรู้และแนะนำให้ใช้ประโยชน์จากเศษไม้ใบหญ้า หรือคัดแยกขยะต่างๆ กำจัดให้ถูกวิธี ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้สถานการณ์หมอกควันไฟป่าของจังหวัดแพร่ในปีนี้ดีขึ้น

ขอบคุณข่าว/ภาพ สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดแพร่และสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดแพร่

วันจันทร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2561

วันเด็ก


     "รู้คิด รู้เท่าทัน สร้างสรรค์เทคโนโลยี " นี้คือคำขวัญวันเด็กประจำปี 2561 จากนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ผู้นำประเทศจะมอบให้แก่เด็กๆเป็นข้อคิด ข้อปฏิบัติ แก่เด็กทุกคนในวันเด็กหรือวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่เด็กๆตั้งหน้าตั้งตารอคอย เพราะวันนี้เป็นวันที่เด็กๆจะได้เที่ยวเล่นและกินของอร่อยๆ กันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้ใหญ่ใจดีสนับสนุน เช่น ทหารจะนำอาวุธยุทโทปกรณ์มาโชว์ให้เห็นและจับต้องได้จริงๆ ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นรถถัง ปีนขึ้นปีนเล่นบนเครื่องบิน มีการสาธิตกระโดดร่มดิ่งพสุธาและแสดงยุธวิธีต่างๆให้เด็กๆดูกัน โดยเฉพาะเด็กผู้ชายที่ใฝ่ฝันจะเป็นทหาร ส่วนเด็กผู้หญิงนั้นในวันเด็กพ่อแม่ก็จะซื้อเสื้อผ้าสีสันสดใส อย่างเช่น ชุดเจ้าหญิงเอลซ่าให้ใส่ไปเที่ยวเป็นที่ถูกอกถูกใจและถ้ามีตุ๊กตาตัวใหม่มาให้กอดให้เล่นก็จะเป็นวันเด็กที่น่าจดใจไปอีกหนึ่งปี

    วันเด็กเป็นวันที่ผู้ใหญ่ให้ความสำคัญกับเด็ก เริ่มในปี พ.ศ. 2498 ปีที่ทั่วโลกเริ่มจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติกันขึ้น ซึ่งจะเป็นเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี ตามความเห็นคล้อยตามกับองค์การสหประชาชาติที่นำปัญหาเรื่องเด็กมาร่างเป็นปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของเด็ก ประเทศไทยได้รับข้อเสนอของ วี เอ็ม กุลกานี ผู้แทนองค์กรสมาพันธ์เพื่อสวัสดิภาพเด็กระหว่างประเทศ ผ่านมาทางกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย ว่า ประเทศไทยควรจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเห็นความสำคัญของเด็กให้มากขึ้น ดังที่นานาประเทศกำลังทำอยู่ ในขณะนั้น สภาวัฒนธรรมแห่งชาติยังมิได้ถูกยุบเลิกไป คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้นำเรื่องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในขณะนั้น ต่อมาเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 ได้มีมติคณะรัฐมนตรีรับหลักการ ให้จัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้น โดยมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงศึกษาธิการรับไปดำเนินการ ส่วนของค่าใช้จ่ายในการจัดงานนั้น ได้อนุมัติเงินจากกองสลากกินแบ่งรัฐบาลมาดำเนินการ

   ดังนั้นวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2498 ประเทศไทยจึงมีงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก จากนั้นเป็นต้นมา ทางราชการได้กำหนดวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปีเป็นวันเด็กแห่งชาติ และจัดติดต่อกันมาจนถึงปี พ.ศ. 2506 ที่ประชุมคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติในปีนั้น มีความเห็นพ้องต้องกันว่า สมควรที่จะเสนอเปลี่ยนวันจัดงานวันเด็กแห่งชาติเสียใหม่เพื่อความเหมาะสม ด้วยเหตุผลว่า ในเดือนตุลาคม ประเทศไทยยังอยู่ในฤดูฝน มีฝนตกมาก เด็กไม่สะดวกในการมาร่วมงาน ประการต่อมาก็คือ วันจันทร์เป็นวันปฏิบัติงานของผู้ปกครอง จึงไม่สามารถพาเด็กของตนไปร่วมงานได้ ตลอดจนการจราจรก็ติดขัด อีกทั้งการที่กำหนดให้วันเด็กต้องจัดในช่วงต้นปี มีความหมายว่า ทุกภาคส่วนของประเทศจะต้องให้ความสำคัญกับเด็กเป็นอันดับแรกๆคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติเสนอ ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2507 ประกาศเปลี่ยนงานฉลองวันเด็กแห่งชาติจากวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม มาเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคมตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้ปี พ.ศ. 2507 ไม่มีงานวันเด็กแห่งชาติด้วยการประกาศเปลี่ยนได้เลยวันมาแล้ว งานวันเด็กแห่งชาติจึงได้เริ่มจัดขึ้นมาใหม่อีกครั้งใน พ.ศ. 2508 และจัดเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

ที่มาข้อมูล วิกิพีเดีย

เรียบเรียงโดย นายคมสัน  หน่อคำ
083-7373307

วันพุธที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2561

เทศบาลเมืองแพร่มอบสิ่งของและให้กำลังใจแก่ผู้ประสบเหตุเพลิงไหม้ 4 หลัง




     วันนี้ 3 มกราคม 2561 เวลา 14.00 น. เทศบาลเมืองแพร่ นำโดย นายพัฒนพงษ์ พงษ์นวล รองนายกเทศมนตรี รักษาราชการแทนนายกเทศมนตรีเมืองแพร่ พร้อมด้วยปลัดเทศบาลเมืองแพร่ มอบสิ่งของและให้กำลังใจแก่ผู้ประสบเหตุเพลิงไหม้ 4หลัง เมื่อวันที่ 19 ธันวามคม 2560 ณ.ชุมชนน้ำคือ รายละเอียดดังนี้ เสียหายทั้งหลัง จำนวน 2 ราย ได้แก่ บ้านนาย นิเวศน์ ฉิมพารส บ้านเลขที่ 12 ถนน น้ำคือ และบ้านของนายสุขุม ทุ่งกาวี เจ้าของบ้านเลขที่ 10 ถนน น้ำคือ ให้นายไพโรจน์ จันทร์อิ่ม เช่าประกอบอาชีพร้านรับซ่อมแอร์ เครื่องเสียหายบางส่วน จำนวนไฟฟ้า เสียหายบางส่วน จำนวน 2 ราย ได้แก่ บ้านนางสาว อัญชลี จันทร์ศิลา บ้านเลขที่ 16 ถนน น้ำคือ และบ้านของนางเฮือน หมุดเต็ม บ้านเลขที่ 14 ถนน น้ำคือ ซึ่งทางเทศบาลเมืองแพร่จะได้ดำเนินการช่วยเหลือตามระเบียบต่อไป