วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2562

ศาลหลักเมืองจังหวัดแพร่ ตอนที่ 2





     หลังจากการก่อสร้างศาลเมืองแพร่ ปี ๒๕๓๕ในวันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๖ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงมาวางศิลาฤกษ์ในการก่อสร้างศาลหลักเมืองแพร่หลังใหม่ เป็นศาลหลักเมืองที่ได้รับการออกแบบอย่างวิจิตรพิสดาร สร้างด้วยศิลปะแบบล้านนา ลงรักปิดทอง ประกอบด้วยเสาไม้สักขนาดใหญ่ ฝังในผนังปูนอย่างกลมกลืนทั้งสี่มุม ยอดหลังคาเป็นรูปทรงเจดีย์พริ้วงามด้วยใบโพธิ์ ต่อมาได้รับพระราชทานเสาหลักเมืองแพร่ เป็นเสาไม้ยมหิน(ไม้ประจำจังหวัดแพร่)จากองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙(พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช) มาประดิษฐานในศาลหลักเมืองแพร่หลังใหม่ และในวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๓๗ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร(พระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ์ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐)ทรงเสด็จพระราชดำเนินมาเปิดศาลหลักเมืองแพร่ ให้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดแพร่


     ศิลาจารึกศาลหลักเมืองแพร่ มีอักษรบนจารึกเป็นภาษาไทยอาหม กล่าวถึงการสร้างวัดศรีบุญเริง ในสมัยรามคำแหงมหาราช สร้างด้วยศิลปะแบบล้านนาลงรักปิดทอง ประกอบด้วยเสาไม้สักขนาดใหญ่ฝังในผนังปูนอย่างกลมกลืนทั้งสี่มุม (ซึ่งในปัจจุบันวัดนี้ไม่มีแล้วกลายเป็นที่ตั้งเรือนจำจังหวัดแพร่)
สันนิษฐานการสร้างเมืองแพร่ว่า เมื่อปี พ.ศ.๑๓๘๗ ขุนหลวงพล เป็นเจ้าหลวงผู้ครองเมืองแพร่ ซึ่งมีชื่อว่าเมืองพล หรือ พลรัฐนคร เป็นชื่อดั้งเดิมของเมืองแพร่ ในสมัยที่ก่อสร้างเมืองขึ้นครั้งแรก บางครั้งเรียกว่า พลนคร ชื่อพลนครปัจจุบันมีปรากฏเป็นชื่อ วิหารในวัดหลวง ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ ซึ่งวัดหลวงเป็นวัดเก่าแก่ สันนิษฐานว่าสร้างมาพร้อมกับการสร้างเมืองแพร่ เป็นวัดที่เจ้าเมืองแพร่ให้ความอุปถัมภ์มาโดยตลอดจนหมดยุคเจ้าเมืองตำนาน เมืองเหนือฉบับใบลาน ต่อมา พ.ศ.๑๕๕๙ พงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสนเรียกเมืองแพร่ว่า เมืองโกศัย หรือ โกสิยนคร เมืองแพล เป็นชื่อเรียกในศิลาจารึกพ่อขุนสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งกรุงสุโขทัยโดยศิลาจารึก ด้านที่ ๔ ระบุว่าในสมัยพ่อขุนรามคำแหงฯ ได้มีการขยายอาณาเขตให้กว้างยิ่งขึ้น ในตำนานเมืองเหนือเรียกเมืองแพร่ว่า เมืองพล ขณะที่ศิลาจารึกเรียก เมืองแพล แต่เมื่อพิจารณาสภาพทางภูมิศาสตร์สามารถกล่าวได้ว่า เมืองพลกับเมืองแพลเป็นเมืองเดียวกันเมืองแพร่ เป็นชื่อที่คนไทยในอาณาจักรสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา ใช้เรียก เมืองแพลโดยกลายเสียงเป็นแพรหรือเมืองแป้ หมายถึงเมืองแห่งชัยชนะ (แป้ คือ ชนะ) แล้วก็มาเป็น แพร่ ตามภาษาของภาคกลาง ยอดหลังคาเป็นรูปทรงเจดีย์พลิ้วงามด้วยใบโพธิ์

ขอบคุณข้อมูลจาก th.wikipedia.org/‎, http://wungfon.com/,http://www.thai-tour.com,

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น