วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2562

คำมะเก่า


เก็บผักหื้อเอาตึงเครือ เก็บบ่าเขือหื้อเอาตึงขวั๊น  หมายความว่า ทำอะไรให้เรียบร้อย อย่าเอาส่วนที่มีประโยชน์แล้วทิ้งส่วนอื่นไว้
เกิดเป็นคนขึ้นห้วยหื้อสุด ขุดฮูไหนหื้อตึก  หมายความว่า ทำอะไรต้องทำให้ถึงที่สุด)

แก่นตาควักออก เอาบ่ากอกเข้ายัด  หมายความว่า ของมีค่าอยู่กับตนไม่รู้จักใช้ แต่ไปหาสิ่งไร้ค่ามาแทน

แก่เพราะกิ๋นข้าว เฒ่าเพราะเกิดเมิน หมายความว่า คนสูงอายุที่มีคุณค่าสมกับวัย

ไก่เกยจน คนเกยฟ้อน หมายความว่า ตนที่มีประสบการณ์ย่อมย่อมทำงานที่เคยทำมาแล้วได้

ของกิ๋นลำอยู่ที่คนมัก ของจักฮักอยู่ที่เปิงใจ หมายความว่า  อะไรดีไม่ดีอยู่ที่ใจ

ขอนบ่มีเห็ด ไผตึงบ่เข้าไกล้ หมายความว่า  สิ่งที่ไม่มีประโยชน์ย่อมไม่มีใครสนใจ

ข้ามขัวยังบ่ป้น อย่าฟั่งห่มกันแยงเงา หมายความว่า  ทำอะไรยังไม่สำเร็จอย่าเพิ่งโอ้อวด

ขี้ควายไหลตวยน้ำ หมายความว่า โลเล ไม่แน่นอน

คนง่าวบ่มี คนผะหยาดีก็ง่อม หมายความว่า  เป็นธรรมดาความโง่ความฉลาดเป็นคู่กัน

คนใบ้ใช้หลายเตื่อ หมายความว่า  คนโง่ต้องใช้หลายครั้ง

คนอู้ได้ปากนัก อมแพะเต็มปากยังบ่ฮู้ตัว หมายความว่า ยากนักที่จะห้ามคนพูดมากให้หยุดพล่าม

คนเฮาใหญ่แล้ว บ่ถ้าไผสอน จิ๊หีดแมงจอนไผสอนมันเต้น หมายความว่า คนเรามีสามัญสำนึกรู้ชอบชั่วดีเอง ไม่ต้องรอให้คนสอน 

คิดว่าตั๋วหล๊วกคือคนง่าว คิดว่าตั๋วง่าวคือคนหล๊วก หมายความว่า อวดรู้อวดฉลาดคือคนโง่ คนฉลาดมักอ่อนน้อมถ่อมตนจ๊กกล่องเข้า จุ๊หมาเฒ่าแกว่งหาง หมายถึง สาวหลอกชายแก่ให้หลงรัก

จิ้นบ่เน่าหนอนบ่จี คำบ่มีเขาบ่ว่า หมายถึง ถ้าไม่มีเหตุคงไม่มีผลเฒ่าหัวเฒ่าหาง ตางกลางยังบ่เฒ่า หมายถึง แก่แต่ตัวหัวใจไม่ยอมแก่


คำมะเก่า


“มนุษย์ลุ่มฟ้า โลกหล้าใจ๋เหลียว เลิกเจ้นข้อมือเดียว ไผหลอนหยั่งได้ สมุทรกงกา แม่น้ำต่ำใต้ จักเลิ๊กเปียงใด หยั่งตึ๊ก” หมายถึง มนุษย์ที่อาศัยอยู่บนโลกนี้น้ำใจลึกเพียงองคุลีเดียว แต่ไม่มีใครจะหยั่งน้ำใจได้

“มีลูกมีหลานอย่าไปถามฆ่า มีจ๊างมีม้าอย่าไปถามฟัน” หมายถึง อย่าเป็นคนใจคอโหดร้ายทารุณ

“เมื่อป้อแม่มี กิ๋นขว้างโบ๊ะขว้างบ๊ะ ป้อแม่ตายละ เป๋นบ่าห่อยนอยจา” หมายถึง คนที่ยามที่พ่อแม่อยู่นั้น ชอบกิ้นทิ้งขว้าง ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เมื่อพ่อแม่ตายไป ก็ไม่มีเงิน ไม่มีที่อยู่

“เลี้ยงหมาหวังไว้กิ๋นดูก เลี้ยงลูกหวังไว้กิ๋นแฮง ปลูกเต้าปลูกแต๋งหวังไว้กิ๋นหน่วย” หมายถึง เราทำการอะไรไว้ก็ย่อมหวังผลตอบแทนเป็นธรรมดา เหมือนเลี้ยงหมาไว้ให้มันแทะกระดูกวัวกระดูกควาย เลี้ยงลูกก็หวังไว้ให้ช่วยแรงงาน เหมือนเราปลูกแตงหวังกินลูกกินผลของมันฉันใด คนเราทำอะไรก็ต้องหวังผลเช่นนั้น

“สอนเปิ่นไต่ขัว แต่ตั๋วตกน้ำ” หมายถึง คนที่มักจะเที่ยวสั่งสอนผู้อื่นแต่ตัวเองกลับทำพลาดเสียเอง หรือทำแบบนั้นไม่ได้

“สิบมื้อซื้อวัน บ่ตันได้กิ๋น เจ๊าก็ว่างาย ขวายก็ว่าฮ้อน” หมายถึง คนที่มัวแต่หาข้ออ้างอยู่อย่างนั้น ไม่ยอมทำงาน

“หนังแห้งบ่เคยพอง” หมายถึง คนที่ตกยากมานาน พอได้ดีมักจะลืมตัว

“เอาคนอื่นเป๋นดีไปตางหน้า ละป้อแม่ไว้เป๋นหย่อมหญ้าอยู่ตางหลัง” หมายถึง คนที่ไปได้ดิบได้ดี หรือไปเป็นคนมีทรัพย์สมบัติบริวารเจริญงอกงามไพบูลย์ แต่ละทิ้งพ่อแม่โดยไม่แลเหลียว

“ก้นหม้อบ่ฮ้อน บ่เป็นแต่ไห มันเป็นแต่ไฟ บ่าใจ้กับหม้อ” หมายถึง อย่าด่วนตัดสิน สาเหตุของปัญหา ควรพิจารณาให้รอบคอบเสียก่อน

“กบไกล้ปากงู หนู้ใกล้บอกไม้ ชิ้นเกลือดังแมว” หมายถึง ชายหญิงที่อยู่ใกล้ชิดกันมาก ย่อมยากที่จะหักใจ

“กล้วยคาง่าม ง่ามคากล้วย” หมายถึง  คนเราต้องพึ่งพาอาศัยกัน

“กิ๋นแล้วหื้อเก็บ เจ็บแล้วหื้อจำ” หมายถึง ให้รู้จักเก็บและจดจำประสบการณ์เอาไว้

“กิ๋นหวอม ผอมจ้อค่อ” หมายถึง  ทุ่มเททำอะไรลงไปแล้วไม่มีอะไรดีขึ้น

“เก็บผักหลวดหักหลัว ตกขัวหลวดอาบน้ำ” หมายถึง รู้จักใช้ประโชชน์ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์จะไม่เสียเวลา

ขอบคุณที่มา http://www.kasetsomboon.org/

ศาลหลักเมืองจังหวัดแพร่ ตอนที่ 2





     หลังจากการก่อสร้างศาลเมืองแพร่ ปี ๒๕๓๕ในวันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๖ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงมาวางศิลาฤกษ์ในการก่อสร้างศาลหลักเมืองแพร่หลังใหม่ เป็นศาลหลักเมืองที่ได้รับการออกแบบอย่างวิจิตรพิสดาร สร้างด้วยศิลปะแบบล้านนา ลงรักปิดทอง ประกอบด้วยเสาไม้สักขนาดใหญ่ ฝังในผนังปูนอย่างกลมกลืนทั้งสี่มุม ยอดหลังคาเป็นรูปทรงเจดีย์พริ้วงามด้วยใบโพธิ์ ต่อมาได้รับพระราชทานเสาหลักเมืองแพร่ เป็นเสาไม้ยมหิน(ไม้ประจำจังหวัดแพร่)จากองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙(พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช) มาประดิษฐานในศาลหลักเมืองแพร่หลังใหม่ และในวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๓๗ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร(พระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ์ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐)ทรงเสด็จพระราชดำเนินมาเปิดศาลหลักเมืองแพร่ ให้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดแพร่


     ศิลาจารึกศาลหลักเมืองแพร่ มีอักษรบนจารึกเป็นภาษาไทยอาหม กล่าวถึงการสร้างวัดศรีบุญเริง ในสมัยรามคำแหงมหาราช สร้างด้วยศิลปะแบบล้านนาลงรักปิดทอง ประกอบด้วยเสาไม้สักขนาดใหญ่ฝังในผนังปูนอย่างกลมกลืนทั้งสี่มุม (ซึ่งในปัจจุบันวัดนี้ไม่มีแล้วกลายเป็นที่ตั้งเรือนจำจังหวัดแพร่)
สันนิษฐานการสร้างเมืองแพร่ว่า เมื่อปี พ.ศ.๑๓๘๗ ขุนหลวงพล เป็นเจ้าหลวงผู้ครองเมืองแพร่ ซึ่งมีชื่อว่าเมืองพล หรือ พลรัฐนคร เป็นชื่อดั้งเดิมของเมืองแพร่ ในสมัยที่ก่อสร้างเมืองขึ้นครั้งแรก บางครั้งเรียกว่า พลนคร ชื่อพลนครปัจจุบันมีปรากฏเป็นชื่อ วิหารในวัดหลวง ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ ซึ่งวัดหลวงเป็นวัดเก่าแก่ สันนิษฐานว่าสร้างมาพร้อมกับการสร้างเมืองแพร่ เป็นวัดที่เจ้าเมืองแพร่ให้ความอุปถัมภ์มาโดยตลอดจนหมดยุคเจ้าเมืองตำนาน เมืองเหนือฉบับใบลาน ต่อมา พ.ศ.๑๕๕๙ พงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสนเรียกเมืองแพร่ว่า เมืองโกศัย หรือ โกสิยนคร เมืองแพล เป็นชื่อเรียกในศิลาจารึกพ่อขุนสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งกรุงสุโขทัยโดยศิลาจารึก ด้านที่ ๔ ระบุว่าในสมัยพ่อขุนรามคำแหงฯ ได้มีการขยายอาณาเขตให้กว้างยิ่งขึ้น ในตำนานเมืองเหนือเรียกเมืองแพร่ว่า เมืองพล ขณะที่ศิลาจารึกเรียก เมืองแพล แต่เมื่อพิจารณาสภาพทางภูมิศาสตร์สามารถกล่าวได้ว่า เมืองพลกับเมืองแพลเป็นเมืองเดียวกันเมืองแพร่ เป็นชื่อที่คนไทยในอาณาจักรสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา ใช้เรียก เมืองแพลโดยกลายเสียงเป็นแพรหรือเมืองแป้ หมายถึงเมืองแห่งชัยชนะ (แป้ คือ ชนะ) แล้วก็มาเป็น แพร่ ตามภาษาของภาคกลาง ยอดหลังคาเป็นรูปทรงเจดีย์พลิ้วงามด้วยใบโพธิ์

ขอบคุณข้อมูลจาก th.wikipedia.org/‎, http://wungfon.com/,http://www.thai-tour.com,