วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2561

ครม.ขยายโครงข่ายเน็ตประชารัฐเพื่อยกระดับโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม


     คณะรัฐมนตรีสั่งขยายโครงข่ายเน็ตประชารัฐ เพื่อยกระดับโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม เป้าหมายติดตั้งโครงข่ายเน็ตประชารัฐได้ครบ 40,432 หมู่บ้าน

      สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดแพร่รายงานว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2561 เห็นชอบการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ในโครงการเน็ตประชารัฐ ในการพัฒนาโครงข่าย ดูแลรักษาโครงข่าย และยังนำไปใช้ในการจัดซื้ออุปกรณ์ในกรณีที่ต้องเปลี่ยนหรือชำรุดเสียหาย รวมถึงยังนำไปจัดอบรมให้ความรู้กับตัวแทนหมู่บ้านเพื่อให้เข้าถึงการใช้งานและประชาสัมพันธ์ถึงประโยชน์โครงการ โดยใช้งบประมาณที่เหลือจากโครงการพัฒนาเน็ตประชารัฐ จำนวน 1,638.66 ล้านบาท

     โครงการอินเตอร์เน็ตประชารัฐมีการดำเนินการแล้วเสร็จก่อนหน้านี้แล้ว 1 กลุ่มที่กำหนดเป็นโซน C ครอบคลุม 24,700 หมู่บ้าน การดำเนินการขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในส่วนพื้นที่หมู่บ้านที่ไม่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์และไม่มีบริการและยากต่อการเข้าถึง (หมู่บ้านชายขอบ Zone C+) จำนวน 3,920 หมู่บ้าน คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2561 และหมู่บ้านส่วนที่เหลือเพิ่มเติมในพื้นที่ Zone C จำนวน 15,732 หมู่บ้าน คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2561

     ในการนำพาประเทศไทยก้าวสู่ "ไทยแลนด์ 4.0” ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งและเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขันในเวทีโลก ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลให้มีประสิทธิภาพสูงครอบคลุมทั่วประเทศ ที่ทุกคนเข้าถึงได้ มีความพร้อมใช้ และอยู่ในราคาที่จ่ายได้

     เป้าหมายติดตั้งโครงข่ายเน็ตประชารัฐได้ครบ 40,432 หมู่บ้าน และได้จัดกิจกรรมสร้างการรับรู้การใช้ประโยชน์แก่ประชาชน ทำคู่มือสำหรับฝึกอบรมครู กศน. ให้เป็นวิทยากรแกนนำ จำนวน 1,033 คน โดยขยายผลอบรมแก่ผู้สนใจอีกไม่น้อยกว่า 1 ล้านคน ซึ่งการจัดฝึกอบรมดำเนินการแล้วเสร็จ เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2561

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดแพร่

ค่าว จ๊อย ซอ ฮิ้ว.....คนเมือง






     ในช่วงนี้วัดหลายแห่งของบ้านเราจัดงานสมโภชประจำปีกัน ทำให้ได้พบเห็นการซอแบบสดๆและเสน่ห์ของอีกอย่างคือการฟ้อนแอ้นที่จะได้เห็นการโค้งตัวรับรางวัลเป็นที่น่าชมอย่างยิ่งเรียกเสียงปรบมือจากผู้ชมผู้ฟังได้อย่างยิ่ง(อาจเป็นผู้มีอายุเป้นส่วนใหญ่) สำหรับเด็กรุ่นใหม่อาจไม่รู้จักเพลงพื้นบ้านล้านนาเราวันนี้ ปี้หนานจะอธิบายอย่างค่าวๆให้ฟัง “ซอ หมายถึง การร้องหรือการขับร้องเพลงพื้นบ้าน ของล้านนา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ซอพื้นเมือง เป็นเพลง พื้นบ้านอย่างหนึ่งของชาวล้านนาไทยในเขต ๘ จังหวัด ภาคเหนือ และบางส่วนของจังหวัดสุโขทัย อุตรดิตถ์ และ ตาก การซอมีทั้งการโต้ตอบกันในลักษณะบทเกี้ยวพาราสี ระหว่างชายหญิง หรือซอเดี่ยวเพื่อเล่าเรื่อง พรรณนา เหตุการณ์ มีเครื่องดนตรีพื้นบ้านบรรเลงประกอบ
     ผู้ขับเพลงซอ หรือที่เรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า “ช่างซอ” ที่ร้องโต้ตอบกันเรียกว่า “คู่ถ้อง” ช่างซอที่เป็น คู่ถ้องต้องเป็นผู้มีปฏิภาณไหวพริบดีและได้รับการฝึกฝน จนชำนาญ เพราะต้องโต้ตอบกับอีกฝ่ายอย่างทันท่วงที ต้องมีความรู้รอบตัวและมีความจำดี เพราะสามารถนำสิ่ง รอบข้างมาใช้ในการซอได้ นอกจากนี้ต้องจำทำนองของ เพลงซอได้อย่างขึ้นใจ เนื้อร้องของซอเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าขึ้นอยู่ กับสถานการณ์และโอกาสที่ไปแสดง เช่น ถ้าไปแสดง ในงานบวชนาค ช่างซอก็จะร้องเพลงซอพรรณนาเกี่ยวกับ การตอบแทนพระคุณพ่อแม่

     เพลงซอ หรือทำนองซอล้านนา แบ่งตามเขต วัฒนธรรมได้เป็น ๒ เขต คือ เขตล้านนาตะวันตก ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน ซอหรือขับซอเข้ากับ ปี่หรือวงปี่จุม คือ มีปี่เป็นหลักในการบรรเลงประกอบ เรียกโดยรวมว่า ซอเชียงใหม่ และล้านนาตะวันออก ได้แก่ น่าน แพร่ เชียงราย (บางส่วน) และพะเยา ขับซอเข้ากับ สะล้อและปิน (ซึง) เรียกโดยรวมว่า ซอน่าน ซอเชียงใหม่มีทำนองซอหลักๆ ๗ ทำนอง คือ ตั้งเชียงใหม่ จะปุ ละม้าย เงี้ยว พม่า อื่อ และพระลอ หรือ ล่องน่าน ส่วนซอน่านมีทำนองซอหลักๆ คือ ซอล่องน่าน ลับแลง ดาดแพร่ และปั่นฝ้าย การขับซอเชียงใหม่จะเร็วกว่า การขับซอน่าน ขั้นตอนการแสดงซอเริ่มด้วยพิธีไหว้ครู โหมโรง เกริ่น เข้าสู่เนื้อหา และบทลา

     การขับซอได้มีพัฒนาการมาตลอดตามยุคสมัย เช่น ในสมัยพระราชชายาเจ้าดารารัศมีในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นผู้ริเริ่มละครซอขึ้นใน จังหวัดเชียงใหม่ และในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ เกิดซอสตริง หรือซอร่วมสมัย ซึ่งนำทำนองซอบางทำนองมาประยุกต์ กับดนตรีสากล

     ซอ มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน เป็นเอกลักษณ์ ทางวัฒนธรรมที่สำคัญและโดดเด่นยิ่งของชาวล้านนา มีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ เป็นกระจกเงา สะท้อนวิถีการดำรงชีวิตของชาวล้านนาในด้านต่างๆ เช่น ความเชื่อ ค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณี สถาบันศาสนา สถาบันครอบครัว การประกอบอาชีพ อาหารและ โภชนาการ การแต่งกาย นอกจากนี้ยังมีความงดงาม ของภาษาคำเมือง หรือภาษาถิ่นเหนือ จึงเป็นภูมิปัญญาทาง ภาษาที่บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์ไว้อย่างงดงามทรงคุณค่า น่าภูมิใจยิ่ง

ขอบคุณ อาจารย์คำเกี้ยว เมืองเอก ที่บอกกล่าวเล่าเรื่องไห้เรารู้จัก “ค่าว จ๊อย ซอ”

ที่มาข้อมูล http://ich.culture.go.th/index.php/th/ich/performing-arts/236-performance/161-----m-s







เขียนโดย นายคมสัน  หน่อคำ

วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2561

สะปะเมนู หน่อไม้ คนเมือง


     หน่อไม้ เป็นยอดอ่อนของต้นไผ่ที่จะจะแทงโผล่ดิน กลายเป็นอาหารอันโอชะของมนุษย์เดินดินตาดำๆที่ท่องตามก่อไผ่ แวกพงหนามไผ่ ลำไฝ่ที่บิดตัวปิดล้อมหน่อไม้อ่อนให้เติมโตสืบก่อหน่อพงต่อไปภายภาคหน้า แต่ด้วยรสชาติแสนอร่อยของหน่อไม้ ทำให้ผู้ที่เคยลิ้มรสลองลิ้นหน่อไม้จะต้องแสวงหามาประกอบอาหารทานให้ได้ โดยเฉพาะฤดูฝนที่หน่อไม้มีหน่ออ่อนโผล่ดินอย่างมากมาย
     สำหรับเมนูจากหน่อไม้นั้นมีอยู่มากมาย แต่ที่เห็นนิยมทานกันมากที่สุดก็คือ การนำมาต้มแล้วเกาะเปลือกจิ้มกินกับสาระพันน้ำพริกก็อร่อยอิ่มสบายพุงกัน เพราะบ้านเรามีน้ำพริกหลากหายชนิด เรียกว่า ทำทานกันภายใน 1 เดือน ไม่มีช้ำกันสักวัน ไม่ว่าจะเป็นน้ำพริกกะปิ น้ำพริกอีเก๋ น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ๋อง น้ำพริกน้ำปู เมนูนี้หลายท่านคงจะชอบกันพิเศษ กับช่วงนี้ที่ชาวบ้านเก็บปูเคี่ยวทำน้ำปูกันใหม่ๆ เป็นสาเหตุให้หมดเปลื้องหน่อไม้ต้มและข้าวเหนียวไปเป็นจำนวนมาก แต่หนิอไม้ใช่ว่าจะเป็นผักแหนมแกล้มน้ำพริกอร่อยอย่างเดียว ยังสามารถ นำมทำต้มหน่อไม้ใส่กระดูกหมู ก็เป็นอีกหนึ่งเมนูที่คนไทยนิยมทำทานกันเป็นประจำโดยเพราะหน่อหวาน(หน่อไม้พันธ์หนึ่ง)ที่มีสีเหลืองอ่อนเนื้อแน่นกรอบและมีรสชาติหวานมาก หรือจะนำหน่อไม้ต้มไปผัดใส่หมูใส่ไข่ปรุงรสด้วยซอสถั่วเหลือง น้ำมันหอย ซีอิ้วขาว น้ำตาล น้ำปลา ตามใจชอบก็เป็นอีกหนึ่งเมนูยอดฮิตประจำครัวและร้านอาหารไปเลย ซึ่งอาจจะใส่วุ้นเส้นใส่พริกเพิ่มรสชาติก็เป็นวิธีเพิ่มรสชาติให้กับเมนูผัดหน่อไม้อีกด้วย และหน่อไม้สดสามารถมาทำอาหารได้อีกหลากหลายเมนูด้วย เช่น แกงหน่อหน่อไม้ใส่หมู ,แกงหน่อไม้ใส่ใบแม่ย่านาง,แกงคั่วหน่อไม้สด,แกงเขียวหวานใส่หน่อไม้,แกงส้มใส่หน่อไม้,ผัดหน่อไม้กุ้งสด,ซุปหน่อไม้,แกงห่อไม้ใส่เห็ดเผาะ ฯลฯ

     แม้หน่อไม้สดจะมีให้ทานมากมายในฤดูฝน แต่ในความติดใจในรสชาติของหน่อไม้ ประกอบกับภูมิปัญญาพื้นบ้าน ทำให้เมื่อชาวบ้านนำหน่อไม้สดมาผ่านกรรมวิธีถนอมอาหารเก็บไว้ใช้ประกอบอาหาร เช่น หน่อไม้ดอง โดยนำหน่อไม่มาปอกเปลือก ล้างให้สะอาด แล้วนำมาสับหรือหั่นเป็นแผ่นบางๆ แช่น้ำไว้หนึ่งคืน นำมาตากสะเด็จน้ำ แล้วนำเกลือเม็ดต้มละลายน้ำพักไว้ให้เย็น นำหน่อไม้ที่สะเด็จน้ำไว้มาเคล้ากับแป้งให้ทั่ว ใส่ในภาชนะที่เตรียมไว้ เช่น บีบ โอ่ง ขวดพลาสติก เทน้ำเกลือใส่ลงไปให้ท่วมหน่อไม้ เคล็ดลับ ให้ใส่น้ำส้มสายชูเข้าไปผสมด้วยเล็กน้อย เพื่อให้หน่อไม้สวยน่ากิน เสร้จแล้วปิดให้มิดชิด หมักไว้สองอาทิตย์ ก็จะได้หน่อไม้ดองหรือหน่อไม้ส้มทานกันแล้ว โดยของนะนำเมนูยำหน่อไม้ส้มใส่ใส่น้ำปู เป็นเมนูแรก จะรสสัมผัสที่ได้กินแล้ว แม้เอาพิซซ่ามาแลกก็ไม่ยอม หน่อไม้นอกจากดอกแล้ว ปัจจุบันยังมีการนำมาอบแห้ง เพื่อถนอมอาหารให้เก็บไว้กินนานๆยิ่งขึ้น ก็ร่ายกันมาสะยาว ฉบับนี้ต้องขอจบไว้เพียงเท่านี้ และขอตัวไปตลาดหาซื้อหน่อไม้มาทำกับข้าวเย็นซะสองสามเมนูซะหน่อย......ติดตามบทความอื่นๆได้ที่ https://phrae365.blogspot.com/ และ เพจFacebook/แพร่365


 




วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2561

มาแอ่วแม่จั๊วะกัน

 

     หากเอ่ยถึงบ้านแม่จั๊วะแล้ว หลายท่านทราบหรือไม่ว่าตำบลแม่จั๊วะ ตั้งขึ้นมาพร้อมอำเภอเด่นชัย ในปี พ.ศ. 2506 มีพื้นที่ทั้งหมด 39,250ไร่ และมีพื้นที่ราบเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ ประมาณ 80 ไร่ ห่างจากอำเภอเด่นชัย 3.5 กิโลเมตร ห่างจากตัวอำเภอเมืองแพร่ ประมาณ 20กิโลเมตร(ข้อมูลจากองค์การบริหารส่วนตำบลแม่จั๊วะ) และหากมาจากตัวอำเภอเมืองแพร่แล้ว เมื่อเข้าเขตตำบลแม่จั๊วะจะเห็นร้านจำหน่ายสิ่งของเครื่องใช้ที่ทำจากไม้สักหลากหลายชนิด ตั้งแต่พวงกุญแจ ของฝาก ชั้นว่าของ หรือฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ตั้งเรียงรายหน้าร้านให้เลือกซื้อเลือกช็อปกันแบบขนกลับกันไม่หวาดไม่ไหวกันเลย สงนราคาก็ตั้งแต่หลักสิบ หลักร้อย ไปจนถึงหลักหมื่นหลักแสนก็มี และสำหรับนักช็อปที่เมื่อซื้อแล้วไม่สามารถขนกลับหรือบรรทุกใส่รถกลับบ้านไม่ได้ อย่าได้วิตกกันไปเลย ทางร้านแต่ละร้านก็มีบริการแนะขนส่งที่สามารถบริการนำส่งของให้ถึงบันไดหน้าบ้านท่านเลย และเมื่อจับจ่ายกันเป็นที่หอมปากหอมคอแล้ว
      อยากจะนั่งพักชมธรรมชาติรับลมเย็นๆก็ต้องที่อ่างเก็บน้ำแม่จั๊วะ เพียงเลี้ยวรถเข้ามาที่องค์การบริหารส่วนตำบลแม่จั๊วะ แวะถามเส้นทางและข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ ก็ทำให้ทราบประวัติความเป็นของอ่างเก็บน้ำแม่จั๊วะว่า ในพื้นที่ตำบลแม่จั๊วะ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและกสิกรรมโดยอาศัยน้ำจากลำน้ำห้วยแม่จั๊วะ ปีไหนน้ำมากก็ได้ผลผลิตดีและปีไหนแล้งน้ำน้อยก็ได้ผลผลิตน้อย และคลองชลประทานที่ส่งน้ำมาในพื้นที่แม่จั๊วะก็ยังน้อยไม่พอที่จะทำการเกษตรได้ ด้วยเหตุนี้ ชาวนาคนหนึ่งได้ทำหนังสือยื่นขอให้ทางการช่วยสร้างอ่างเก็บน้ำอ่างแม่จั๊วะ โดยผ่านคุณณรงค์ วงค์วรรณ (สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวังแพร่) ในขณะที่ท่านดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จนได้รับอนุมัติเงิน จากรัฐบาลในการสร้างอ่างเก็บน้ำแม่จั๊วะ ในปีพ.ศ. 2526 ทำให้พื้นที่ตำบลแม่จั๊วะมีแหล่งกักเก็บน้ำ สำหรับทำการเกษตรอย่างเพียงพอ




อ่างเก็บน้ำแม่จั๊วะยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติอีกแห่งหนึ่งในตำบลแม่จั๊วะ โดยทุกวันจะมีผู้คนมาเที่ยวชมอ่างเก็บน้ำและวัดอ่างเก็บน้ำแม่จั๊วะ ที่ร่มรื่น เหมาะสำหรับการปลีกวิเวกหาความสุขทางธรรมท่ามกลางธรรมชาติ ที่ตัววัดตั้งอยู่บนภูเขาสันอ่างเก็บน้ำอีกด้วย พักเหนื่อยแล้วออกมาจากอ่างเก็บน้ำแม่จั๊วะออกมายังถนนสายแพร่-เด่นชัย

สังเกตเห็นว่าสองข้างทางจะมีต้นสักทองยืนต้นสูงตะหง่าน ยืนเรียงรายอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยใบสักสีเขียวใหญ่ แผ่ขยายครอบคลุมพื้นที่กว่า 33 ไร่เศษ มองเห็นป้ายเขียนว่า สวนป่าสักปลูก โตที่สุดในโลก ปลูกเมื่อปี พ.ศ.2460  ดูแลโดยองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) โดยสวนสักเป็นสักปลูกที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทย และมีความพิเศษ คือ มีต้นสักที่ลำต้นตรงสวย เส้นรอบวงกว้าง มีลักษณะเด่น จนได้รับรางวัลในการประกวดไม้มีค่า 2 ต้น ในปี พ.ศ. 2560 ซึ่งเป็นปีที่สวนสักปลูกแห่งนี้มีอายุครบ 100 ปี (ปัจจุบัน พ.ศ. 2561) และหากจะสังเกตให้ดีจะเห็นว่าต้นสักในสวนแห่งนี้จะมีจีวรล้อมอยู่บริเวณโคนต้น นั้นก็คือการบวชต้นไม้ เพื่อการต่ออายุให้ต้นไม้เจริญยั่งยืนและเป็นการอนุรักษ์ป่าไม้สืบต่อไป  ตามความเชื่อของชาวบ้าน
            ตำบลแม่จั๊วะตั้งอยู่ระหว่างอำเภอเมืองแพร่กับอำเภอเด่นชัย หลายคนรู้จักและเพียงผ่านมาและผ่านไป แต่หากคุณมารู้จักแหล่งท่องเที่ยวในตำบลแม่จั๊วะแล้วคุณจะต้องพูดว่า “มาแอ่วแม่จั๊วะกัน” .....