วันอังคารที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2561

ไทลื้อ อัตลักษณ์บ้านถิ่น เมืองแพร่





      ชุมชนบ้านถิ่น ตั้งอยู่ห่างจากอำเภอเมืองแพร่ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 7 กิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบ ทางด้านตะวันออกเป็นภูเขาสูง ประชากรที่อาศัยอยู่ส่วนใหญ่มีเชื้อสายไตลื้อ สันนิษฐานว่าในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ ประมาณปี พ.ศ.2330 เจ้ามังไชย เจ้าเมืองแพร่ ได้ร่วมรบกับเจ้าเมืองน่านที่เชียงรุ่ง สิบสองปันนา ได้มีการกวาดต้อนชาวไทลื้อมาไว้ที่เมืองแพร่ และคนยองบ้านถิ่นก็หนีภัยสงครามโดยอพยพมาจากเมืองลำพูน ป่าซาง(ลื้อเมืองยอง) ในสมัยที่เกิดมีข้าศึกรุกรานเมืองเชียงใหม่และลำพูนเป็นเมืองอยู่ในอาณาเขต เดียวกับเมืองเชียงใหม่ จึงถูกรุกรานไปด้วยชนเผ่าลื้อยองเป็นชนที่รักความสงบ ไม่ชอบมีเรื่องราวยุ่งกับใคร จึงเกิดมีคนในเผ่าบางส่วนประมาณ 30-50 คน ได้รวมกันอพยพหนีการรุกรานมาทางเมืองโกศัย (แพร่) มาพบสถานที่ ที่อุดมสมบูรณ์บริเวณบ้านถิ่นปัจจุบัน จึงตั้งรกรากประกอบอาชีพ ทำมาหากิน อยู่อย่างสงบจนมีประชากรเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ เมื่อมีคนหมู่มากเกิดขึ้น จึงเกิดมีปัญหาตามมามากมายหลายอย่าง ต้องมีหัวหน้าเป็นผู้ตัดสินชี้ขาดเพื่อให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

     ชาวบ้านได้ขยายอาณาเขตการทำมาหากินและที่อยู่อาศัยกว้างขวางมากขึ้น จึงแยกการปกครองออกเป็นแคว่น ๆเช่น แคว่นบ้านเหล่าเหนือ แคว่นบ้านเหล่าใต้ แคว่นบ้านเหล่ากลาง แคว่นบ้านใน แต่ละแคว่นมีหัวหน้าคอยดูแลแคว่นของตนเองเรียกว่า “หลักบ้าน”(ผู้ใหญ่)และถ้าแคว่นใด มีประชากรหนาแน่นก็ตั้งให้หัวหน้าแคว่นใหญ่ ซึ่งเลือกจากคนสูงอายุ และเป็นที่เคารพนับถือของทุกแคว่น เป็น “ปู่แคว่น” (กำนัน) สมัยก่อน การเลือกกำนันผู้ใหญ่บ้านเป็นประชาธิปไตย ชาวบ้านคัดเลือกกันเองไม่มีคนอาสา ไม่มีการสมัครกันล่วงหน้า ไม่มีใครอยากเป็นหลัก เป็นแคว่น เพราะเมื่อเป็นแล้ว “มีคนรักเท่าผืนหนัง มีคนชังเท่าผืนเสื่อ” แรกเริ่มเดิมทีนั้น บ้านถิ่นมีเพียงหมู่บ้านเดียวคือทั้งหมดคือหมู่ที่ ๑ ต่อมามีประชากรมากขึ้น ก็เพิ่มขึ้นเป็นหลายหมู่บ้านเป็นหมู่2 หมู่ 3 หมู่ 4 หมู่ 5 หมู่ 6 หมู่ 7 และหมู่ 8 ตามลำดับ (หมู่ 4- 6 -10) เรียกว่าบ้านโป่งศรีเป็นไทล้านนา

ที่มาข้อมูลอ้างอิง http://www.banthin.go.th/social.php ,ททท.สำนักงานแพร่


เรียบเรียงโดย นายคมสัน  หน่อคำ
083-7373307

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น