วันศุกร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ส.ค.ส.(ส่งความสุข)



      “ส.ค.ส. ส่งความสุข” ข้อความนี้ คนไทยนิยมส่งและพูดถึงในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าตอนรับปีใหม่ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุเลยหลักสามขึ้นไป ที่เมื่อถึงเวลานี้จะต้องหายไปรษณียบัตร โปสการ์ดที่มีรูปภาพสวยๆ มาเขียนคำอวยพรแล้วนำไปหย่อนตู้แดง(ตู้ไปรษณีย์)ให้บุรุษไปรษณีย์เป็นผู้นำ “ส.ค.ส.”ส่งความสุขแก่ผู้รับที่เรารักและเคารพนับถึง ลูกส่งให้พ่อแม่,เพื่อนส่งให้เพื่อน,หนุ่มส่งให้สาวหรือส่งไปยังญาติผู้ใหญ่ที่อยู่ห่างไกลกัน แต่ปัจจุบันการสื่อสารได้เปลี่ยนไปด้วยเทคโนโลยีดาวเทียมทำให้เราสามารถใช้สมาร์ทโฟนส่ง SMS, Messenger,Lineหรือ video call สื่อสารกันได้อย่างง่ายดาย ทำให้โปรการ์ดหรือ ส.ค.ส.เริ่มหมดความสำคัญไปกลาบเป็นเพียงของฝากหรือภาพที่ระลึกตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆไป แต่จริงแล้ว ส.ค.ส.อยู่คู่กับเทศกาลปีใหม่มาอย่างยาวนาน โดยประเทศไทยรับวัฒนธรรมมาจากต่างประเทศ ที่นิยมส่งบัตรอวยพรกันมาเป็นเวลากว่า 200 ปีแล้ว

            ส.ค.ส.แผ่นแรกของไทยเริ่มใน พ.ศ. 2409 หรือ ค.ศ. 1866 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์โปรดให้ทำขึ้นเพื่อพระราชทานคณะทูตานุทูต ข้าราชบริพาร และมิตรสหายชาวต่างประเทศ เนื่องในวาระวันขึ้นปีใหม่สากล เมื่อวันจันทร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2409 ตามที่ปรากฏอยู่ในหนังสือพิมพ์ เดอะ บางกอก รีคอร์ดเดอร์ ของหมอบรัดเลย์ ฉบับวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2409 ในระยะแรก ลักษณะ ส.ค.ส. ขนาดเล็กเท่านามบัตรปรากฏเฉพาะชื่อ ผู้ส่ง ตำแหน่ง และปีพ.ศ. เท่านั้น ตัวอักษร มีทั้งตัวพิมพ์ เขียนด้วยลายมือ ยุคต่อมามีขนาดใหญ่ขึ้นเท่าโปสต์การ์ด หรืออาจใหญ่กว่า เป็นภาพวาดสีน้ำ มีสีสัน ลวดลายงดงาม ส่วนใหญ่เป็นภาพดอกไม้ ผลไม้ และสัตว์ ส่วนคำอวยพร มีทั้งเป็นร้อยแก้ว ร้อยกรอง ใช้คำที่แปลกออกไปจากปัจจุบันบ้าง เช่นคำว่า "ศุข" แทนคำว่า "สุข" คำว่า "รฤก" แทนคำว่า "ระลึก" และใช้คำว่า "ถ.ค.ส." เพื่อ "ถวายความสุข" แด่พระมหากษัตริย์ เป็นต้น นอกจากส.ค.ส. อวยพรวันปีใหม่ไทย ยังปรากฏบัตรอวยพรเนื่องในวันตรุษฝรั่ง วันที่ 25 ธันวาคม หรือ วันคริสต์มาส และวันขึ้นปีใหม่สากล 1 มกราคม

              นับแต่ปี พ.ศ. 2530 พสกนิกรจะเฝ้ารอการพระราชทานพรปีใหม่จาก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 ผ่าน ส.ค.ส พระราชทาน ซึ่ง ส.ค.ส พระราชทานนี้ พระองค์จะทรงประดิษฐ์ขึ้นเอง เพื่อพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ โดย ปีแรกที่พระองค์พระราชทาน ส.ค.ส คือ ปี ส.ค.ส พระราชทานสำหรับปี พ.ศ.2530 โดยทรงพิมพ์ออกจากคอมพิวเตอร์ และแฟกซ์พระราชทานให้แก่หน่วยงาน และเจ้าหน้าที่ผู้ทำงานรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท โดยทรงใช้รหัสแทนพระองค์ว่า กส. 9 เช่นเดียวกับที่ทรงใช้ติดต่อทางวิทยุสื่อสาร

              เนื่องในวารดิถีขึ้นปีใหม่ ปี พ.ศ.2560 ได้หมดไป เริ่มพุทศักราช 2561 ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย จงดลบันดาลให้ท่านและครอบครัว พบแต่ความสุข ความเจริญ ปราศจากทุกข์โศก โรคภัยทั้งหลายทั้งปวง ตลอดไปเทอญ…นายคมสัน หน่อคำ ผู้เขียนคอลัมภ์ แพร่ 365...



ที่มาข้อมูล/ภาพ วิกิพีเดีย,guru snook


เรียบเรียงโดย นายคมสัน   หน่อคำ
083-7373307

วันพฤหัสบดีที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ศาลเจ้าพ่อแสนชัย

        






      “เจ้าพ่อแสนชัย” เป็นนายทหารในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ส่วนกลางส่งมารบป้องกันเมืองแพร่ใน พ.ศ.2445 โดยได้นำการรบอย่างกล้าหาญกระทั่งเสียชีวิต ณ บริเวณที่ตั้งศาลฯ ในปัจจุบัน จากเหตุการณ์ดังกล่าวประชาชาวจังหวัดแพร่จึงได้ร่วมกันสร้างศาลเจ้าพ่อแสนชัยขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความกล้าหาญในการต่อสู้ป้องกันเมืองแพร่ ต่อมาใน พ.ศ.2513 ศาลเจ้าฯ ได้ชำรุดทรุดโทรมลง กลุ่มพ่อค้าและเทศบาลเมืองแพร่จึงได้ร่วมกันบูรณะซ่อมแซมเป็นครั้งแรก กระทั่ง พ.ศ.2538 ที่เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ สร้างความเสียหายอย่างมากแก่ศาลเจ้าฯ กลุ่มพ่อค้าและประชาชน จึงได้ร่วมกับเทศบาลเมืองแพร่ทำการบูรณะและก่อสร้างศาลเจ้าฯ ขึ้นใหม่ ใน พ.ศ.2541 และเพื่อเป็นการระลึกถึงพระคุณของ “เจ้าพ่อแสนชัย” ที่สละชีพเพื่อป้องกันเมืองแพร่ไว้ จึงได้กำหนดจัดงานประเพณีกินเพื่อความเป็นสิริมงคล ศาลเจ้าพ่อแสนชัย ในเดือนธันวาคมของทุกปี

      ประตูชัย ซึ่งถือว่าเป็นย่านการค้าแผงลอยที่คึกคักที่สุดในอำเภอเมืองแพร่ โดยจะมีพ่อค้าแม่ค้าสับเปลี่ยนหมุนเวียนนำสินค้ามาขายตั้งแต่เช้ายันเย็น จรดค่ำคืน ซึ่งจะมีทั้งร้านค้าแผงลอย รถเข็น ร้านตึกแถว รอคอยบริการตลอดสองฝั่งข้างทางซ้ายและขวาเป็นระยะทางจากหลังสถานีตำรวจภูธรเมืองแพร่ตรงยาวจนถึงตลาดสดเทศบาลเมืองแพร่ และบนประตูชัยมี “ศาลเจ้าพ่อแสนชัย”ตั้งบนกำแพงเมืองอยู่ท่ามกลางประตูชัย อันเป็นที่เคารพศรัทธาของคนแพร่ โดยเฉพาะผู้อยู่อาศัยและผู้ประกอบกิจการค้าขายบนประตูชัย จนเกิดมีประเพณี “กินเพื่อสิริมงคล”ที่วันที่ 10 ธันวาคมของทุกปีจะมีการนำอาหารหลากหลายชนิดมาแจกให้ประชาชนได้รับประทานกันแบบฟรีๆ ไม่ว่าจะเป็นก๋วยเตี่ยว ขนมจีน หมี่ผัด ขนมหวาน น้ำดื่ม ต่างๆจากผู้ค้าย่านประตูชัยและผู้นับถือเจ้าพ่อแสนชัยมาคอยให้บริการกันในวันนั้น โดยพิธีกินเพื่อสิริมงคลนั้นจะเริ่มมีการแสดงต่างๆในเวลา 16.00 น. และจะเริ่มแจกอาหารเมื่อเวลา 18.00 น. ซึ่งผู้เตรียมอาหารมาก็จะแจกอาหารหรือขนมจนกว่าของที่เตรียมมาจะหมด ทำให้มีประชาชนชาวแพร่และนักท่องเที่ยวเข้าร่วมงานกันเป็นจำนวนมาก โดยแต่และคนต่างถืออาหาร ขนมและน้ำดื่มอย่างเต็มไม้เต็มมือเดินสวนกันไปมาพูดคุยกันอย่างสนุกสนาน ทำให้อิ่มบุญทั้งผู้ให้และผู้รับ


เรียบเรียงโดย คมสัน  หน่อคำ 083-7373307

โครงการก่อสร้างฝาย เทิด ทำ จิตอาสาประชารัฐ ต.แม่จั๊ว อ.เด่นชัย จ.แพร่






      นายกอนุวัธ วงค์วรรณนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ส่งเครื่องช่วยในการสร้างฝายเทิดด้วยทำจริตอาสาประชารัฐซึ่งได้รับงบสนับสนุนงบประซื้อวัสดุจากมูลนิธิอุทกพัฒใช้แรงงานก่อสร้างจากเครื่อข่ายจัดการน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริตำบลแม่จัวะืกลุ่มผู้ใช้น้ำ จริตอาสา ทหารจากกองพันทหารม้าที่12 หน่วยป้องกันป่าไม้ที่12แพร่ กำนันผู้ใหญ่บ้าน อบตแม่จั๊วะ เทศบาลแม่จั๊วะ การสร้างฝายนี้สร้างเพื่อดักตะกอนก่อนไหลลงอ่างเก็บน้ำแม่จั๊วะซึ่งเคยประสพปัญหาอ่างตื้นเขินไม่สามารถเก็บน้ำได้ในปี2547และมีการวางแผนฟื้นฟูอ่างร่วมกับมูลนิธิอุทกพัฒ สถาสบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำเพื่อการเกตร องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ ปัจจุปันมีความจุ1800000 ลูกบาทเมตรใช้ประปาหมู่บ้านและการเกษตร
                                                                                                         
ภาพ/ข่าว ทีมศูนย์บริหารจัดการน้ำจังหวัดแพร่

วันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2560

โรงเรียนเทศบาลวัดสวรรคนิเวศจัด การแข่งขันกีฬาสีภายในสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๐



     โรงเรียนเทศบาลวัดสวรรคนิเวศ จัดการแข่งขันกีฬาสีภายในสถานศึกษา ประจำปี ๒๕๖๐ ในวันศุกร์ที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๐ ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๕.๓๐ น. ณ. สนามกีฬาโรงเรียนเทศบาลวัดสวรรคนิเวศ เพื่อให้นักเรียนได้แสดงออกถึงความสามารถทางด้านกีฬา ทั้งยังส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง

     งานประชาสัมพันธ์เทศบาลเมืองแพร่ รายงานว่า โรงเรียนเทศบาลวัดสวรรคนิเวศ จัดการแข่งขันกีฬาสีภายในสถานศึกษาประจำปี ๒๕๖๐ ในวันศุกร์ที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๖๐ ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ - ๑๕.๓๐ น. ณ สนามกีฬาโรงเรียนเทศบาลวัดสวรรคนิเวศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนได้แสดงออกถึงความสามารถทางด้านกีฬา ส่งเสริมการออกกำลังกาย มุ่งหวังให้นักเรียนทุกคนรักสุขภาพ รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี สร้างความรักความสามัคคีภายในหมู่คณะ มีการแข่งขันกีฬากรีฑา ฟุตบอล และกีฬาพื้นบ้าน กำหนดการดังนี้ เริ่มตั้งแต่เวลา ๐๗.๓๐ น. ขบวนพาเหรดของทุกสีพร้อมกันที่บริเวณประตูชัย เวลา ๐๘.๐๐ น. นักกีฬา กองเชียร์ ตั้งริ้วขบวนพาเหรด ณ ตลาดข้างโรงเรียนเทศบาลวัดสวรรคนิเวศ เวลา ๐๘.๑๕ น. ริ้วขบวนพาเหรดเดิน เข้าสู่สนามกีฬาโรงเรียนเทศบาลวัดสวรรคนิเวศ เวลา ๐๘.๓๐ น. พิธีเปิดการแข่งขันกีฬาสีภายในโรงเรียนเทศบาลวัดสวรรคนิเวศ

เทศบาลเมืองแพร่ จัดอบรมพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองแพร่ เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้รับความรู้และได้รับการดูแลสุขภาพของตนเองอย่างถูกต้องเหมาะสม













เทศบาลเมืองแพร่ จัดอบรมพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุเทศบาลเมืองแพ  ในวันที่ 15 ธันวาคม 2560 เวลา 09.00 น. ณ.ห้องประชุมอาคารศูนย์ดูแลผู้สูงอายุเทศบาลเมืองแพร่ เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้รับความรู้และได้รับการดูแลสุขภาพของตนเองอย่างถูกต้องเหมาะสม จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 80 คน

งานประชาสัมพันธ์เทศบาลเมืองแพร่ รายงานว่า ปัจจุบันจังหวัดแพร่ มีดัชนีสูงวัยเท่ากับ 16.44 และถือได้ว่ามีประชากรผู้สูงอายุมากเป็นอันดับที่ 3 ของประเทศ และในเขตเทศบาลเมืองแพร่ซึ่งเป็นพื้นที่ลักษณะเป็นสังคมเมือง มีสภาพการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมตลอดจนการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของครอบครัว ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญทำให้บทบาทของครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุลดลง ดังนั้นเทศบาลเมืองแพร่ จึงจัดอบรมการพัฒนาศักยภาพผู้สูงในเขตอายุเทศบาลเมืองแพร่  ขึ้นในวันที่ 15 ธันวาคม 2560 เวลา 09.00 น.  ณ.ห้องประชุมอาคารศูนย์ดูแลผู้สูงอายุเทศบาลเมืองแพร่ เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้รับความรู้และได้รับการดูแลสุขภาพของตนเองอย่างถูกต้องเหมาะสม ส่งเสริม สนับสนุนกิจกรรมต่างๆของกลุ่มหรือชมรม อีกทั้งยังให้ผู้สูงอายุได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน และแลกเปลี่ยนกับเครือข่ายผู้สูงอายุอื่น ผู้เข้าร่วมรับการอบรมประกอบด้วยผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองแพร่ ทั้ง 18 ชุมชน จำนวน 80 คน

วันเสาร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ตำนานสุรากลั่น

      
     เวลาแดดร่มลมตก ณ ห้างแห่งหนึ่ง(กลางต้ง) สามหนุ่มสามวัยนั่ง ลุงหนานโว้,ฮ้าวขี้เล่า,ไอ้ปี้ขำนั่งพักหลังจากเสร็จงานในไร่ข้าวโพดหลังจากทำงานกันมาทั้งวัน
ฮ้าวขี้เล่า       : ไอ้ขำมะตอน ฮันไอ้น้องเก็บมะกอกมา ฮ้าวขอสักสองสามแก่น
ไอ้ปี้ขำ          : เอากี่แก่น?ฮ้าว เก็บมาเต็มเป้นี่! เอาเกลือต๋วยก่อ เด๋วน้องฝานหื้อ
ลุงหนานโว้    :  คิงจะกิ๋นกับอะหยัง....ห๊า!!!
ฮ้าวขี้เล่า      : ปี้หนานก็... ล่วงออกมาดีๆส้มปาก ตั้งแต่ฮันไอ้ขำมันบอกว่าจะเก็บมะกอกไปตำน้ำพริกแล้ว
ลุงหนานโว้   :  แนะ!ฮู้ดี แฮ้มนะมึง+_+
ฮ้าวขี้เล่า      : โธ่...ผมอันปี้หนาน@@@ หยะก้อนแป้งตากแห้ง ก่อนข้าวโพดจะสุขแล้ว
ลุงหนานโว้   :  หูตาโว้ว...นะสู  ฮู้แล้วดักไว้นะ ปี้หมักไว้เลี้ยงหมู่สู กิ๋นตอนเลิกงานนั้นล่ะ กับเอาไว้แฮ๋วลอยกระทงต๋วย...ฮาๆๆ
ไอ้ปี้ขำ         : ฮู้อะหยังกันลุงหนานโว้...ผ๋มบ่เข้าใจ๋ ก้อนแป้ง คือ อะหยัง
ฮ้าวขี้เล่า      : ไอ้น้อยขำ คิงเค้ยกิ๋นเหล้าก่ หรือสุตโทบ่
ไอ้ปี้ขำ         : อายุปันอี้แล้ว ฮ้าว....*–* ตอนไปบ้านป๋อยปี้หนานหนาวไง หวานๆออกส้มๆ รำดี
ลุงหนานโว้   : ถ้าสีขาวขุ่นมันคือสุตโท ถ้าสีใสๆคือเหล้ากลั่น ที่นำก้อนแป้งมาหมักกับข้าว
ฮ้าวขี้เล่า      :แล้วปี้หนานฮู้จักตำนานเหล้ากลั่นแต้ๆก่อ
ลุงหนานโว้   :บ๊ะไอ้ขี้เล่า เรื่องแต่แรก คือว่าตั้งแต่สมัยโบราณ ตอนนั้นเรายังไม่มีในเรื่องน้ำเมาหรือว่าเหล้า มีนายพรานป่าคนหนึ่ง ซึ่งมีอาชีพในการหาของป่าออกมาขาย อยู่มาวันหนึ่งขณะที่นายพรานออกไปหาของป่าเป็นประจำดังเช่นทุกวัน สายตาเหลือบไปเห็น พวกนกฝูงใหญ่พากันมารุมกินอะไรสักอย่างหนึ่ง บางตัวเมื่อลงไปกินแล้วจะมีอาการ ดีอกดีใจ บางตัวก็เกิดอาการกระโดดโลดเต้นถึงตกต้นไม้เลยก็มี เป็นที่น่าสงสัย นายพรานจึงปีนขึ้นไปดูง่ามข้างบนต้นมะค่าใหญ่ว่ามีอะไร แต่เมื่อนายพรานเห็นดังนั้น ก็นึกว่าเมื่อดื่มกินไม่ตาย ก็ลองชิมดู รู้สึกมีกลิ่นหอม นายพรานจึงเทน้ำในคอกที่ตนนำมาทิ้งออกหมดแล้ว เอาคอกเปล่าตักน้ำในโพรงจนเต็มก็ลงจากต้นมะค่าแล้วเดินทางกลับบ้าน ระหว่างเดินทางกลับบ้านรู้สึกหิวน้ำ นายพรานจึงเอาคอกน้ำที่ตักจากต้นมะค่ามาดื่ม พอดื่มได้ก็รู้สึกมึนเมามีใจคึกคะนอง อยากจะร้องรำทำเพลง จึงได้นำเรื่องดังกล่าวไปบอกให้ชาวบ้านทราบ จึงได้พากันไปดูและดื่มน้ำนั้นแล้วพากันเมาไปตามๆกัน เป็นที่น่าสงสัยของนายพรานยิ่งนักว่าเป็นไปได้อย่างไร จึงชวนกันออกเดินสอดส่องดูบริเวณใกล้ๆแถวนั้นก็เจอกอเปา ต้นพริก และใกล้ๆนั้นยังมีไร่ข้าวของชาวบ้าน พอเสร็จแล้วก็ขึ้นไปดูที่โพรงอีกครั้งในน้ำมีเมล็ดพริก เมล็ดข่า เมล็ดข้าว  พอเห็นเช่นนั้นนายพรานก็เลยนำเอาหัวข่า พริก มาตำและบดให้ละเอียด แล้วนำมาทำเป็นก้อนแช่กับข้าวเก็บไว้นานๆ เมื่อชิมดูน้ำนั้นมีรสชาติเหมือนกับน้ำในโพรงมะค่า ตั้งแต่บัดนั้นมา ชาวบ้านชาวเมืองก็เลยมีน้ำเมากินกัน จนแพร่หลายและเมื่อประมาณ 100 กว่าปี ในหมู่บ้านดอนชัยสักทองได้มีการทำหัวเชื้อ(ลูกแป้ง)โดยนำเอาพริกน้อย,ดีปรี,ข่า,หอมขาว,พริกแห้ง,มาตากแห้ง หั่นเป็นชิ้นเล็กๆโขลกให้ละเอียด ผสมข้าวเหนียวปั้นเป็นลูกกลอน ตากให้แห้งสนิท แล้วถึงนำไปหมักกับข้าวเหนียวได้ประมาณ 15 วัน เรียกน้ำที่ได้ว่า “สุตโท” ถ้าจะนำมาดื่มก็ได้ ทุกครัวเรือนทำกันเองและในโอกาสเทศกาลต่างๆไม่ได้จำหน่ายแต่อย่างใด
 ไอ้ปี้ขำ         : แต้กะลุงหนาน ถ้าเป็นฮ้าวขี้เล่าบอกหมดบ่มีใครเชื่อ 5555
ฮ้าวขี้เล่า      : นั้นว่าไปไอ้น้อย.....ลุงหนานโว้ของคิงก็ฟังพร้อมฮ้าว
ลุงหนานโว้   : เสียหมด  ฮาเล่าเป็นเมิ้น คิงดักกำ ปะแลงแล้วปิกบ้านได้แล้ว....
ฮ้าวขี้เล่า      : โธ๋ปี้ สักแป๊กก่อน.....อิอิ


โดย คมสัน หน่อคำ
083-7373307
ที่มาhttps://www.gotoknow.org/posts/558531